การฝึก พุทธคุณ ในสายปัญญาวิมุตติ ( สายที่ 1 )

เริ่มโดย kai, ก.ย 10, 2024, 09:45 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

การฝึก พุทธคุณ ในสายปัญญาวิมุตติ ( สายที่ 1 )
==========================
=

การฝึก พุทธานุสสติ ของสายที่ 1 จะแตกต่างจาการฝึก แบบ อุปัตตา และ มัชฌิมา ค่อนข้างจะมาก แต่อย่างไรคนที่มีลักษณะปัญญาวิมุตติ เมื่อฝึก พุทธานุสสติ จะมีจิตไม่ทำตาม อุปัตตา และ มัชฌิมา โดยธรรมชาติของภาวะวิสัย แม้จะฝืนฝึก อุปัตตา และ มัชฌิมา ก็จะไม่ปรากฏผลของการฝึกให้เห็นอะไร สุดท้ายจิตก็จะไปหยุดการฝึกอุปัตตา และ มัชฌิมา โดยธรรมชาติของภาวะวิสัย หากครูอาจารย์ สอนและสอบต่อเนื่องอย่างนี้ 2 อาทิตย์ไม่สามารถไปในเส้นทางของอุปัตตา หรือ มัชฌิมา ได้ ก็จะสอนวิธีการฝึก แบบปัญญาวิมุตติ ให้แทนเพราะภาวะวิสัยสอบไม่ผ่านทางด้านเจโตวิมุตติ
ก่อนจะพูดถึงวิธีการฝึก ขอพูดถึงสภาวะแนวโน้ม ผู้เป็นปัญญาวิมุตติ

1. ชอบการสวดมากกว่า การเข้าสมาธิ บางท่านสวดคาถาเป็นหลาย ๆ คาบต่อวัน แต่สมาธิไม่เอาเลย ไม่ไป ไม่กระดิกเลยทางด้านสมาธิ

2. เมื่อเข้าการสวดจะมองเห็นแสงสว่างด้านหน้าหรือรอบตัว มากกว่าแสดงว่าจิตเชื่อมโยงโอภาสสมาธิได้ ท่านกล่าว่าได้อุปจาระสมาธิแล้วแต่ไม่สามารถขึ้นเป็นสภาวะปฐมฌานไปได้ เพราะบารมีทางด้านเจโตนั้นไม่มี

3. ภาวะหยุดกบริกรรม จิตมักจะเข้าไปหยุดในสภาวะ อัพยากตา คือไม่มีบริกรรม เมื่อทำสมาธิภาวนาพุทโธไปสักพักก็จะหยุดบริกรรม แล้วทำสภาวะนิ่ง ๆ อยู่อย่างนั้นซึ่งเป็นสภาวะของผู้ที่เป็นปัญญาวิมุตติ ในสภาวะนั้นมีความสบาย มีความสุขคล้ายสมาธิ แต่ไม่ใช่สมาธิเป็นเพียง จิตที่มันสงบนิ่ง

4. ภาวะวิสัยปัจจุบันไม่ใคร่มีความทุกข์ หรือไม่มีความทุกข์ใดๆ เลยยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นภาวะประจำชีวิตมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์กล่าวได้ว่าชีวิตไม่ข่นแค้น ไม่ลำบาก ไม่มีความทุกข์รบกวนจิตใจ แต่ถ้ามีเมื่อไหร่ ก็จะเป็นทุกข์มาก กล่าวได้ว่า ถ้าสุขก็สุขตลอดสุขมาก ถ้าทุกข์ก็ทุกข์มาก

5. เป็นคนลักษณะเจ้าความคิด เจ้าเล่ห์ ชอบวางแผน มีการคิดไปก่อนเป็นกำลัง

6. มีลักษณะเป็นคนราคะมาก เจ้าระเบียบ เจ้าชู้ และยังมักมากในกามคุณมีการเสพกามอย่างต่อเนื่องมิได้หยุดสภาวะเสพกาม หมายถึง เสพ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ขาด

7. เป็นคนยึดติดในสภาวะธรรมชาติ ลักษณะชอบธรรมชาติ เช่นทะเล ภูเขา สถานที่สวย ๆ งาม ๆ

7 ประการนี้เป็นข้อเด่นของพวกลักษณะปัญญาวิมุตติ ที่ไม่สามารถไปในเส้นทางของเจโต ได้ ดังนั้นท่านกล่าวว่า แม้จะฝึกอุปัตตา ก็ต้องควบคุมเข้มข้น ยังพอมีวิสัยไปได้ทางเจโต แต่ต้องควบคุมเข้มข้น แต่ถ้าฝึกมัชฌิมา แล้วต้องฝึกอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอนเลยสักวัน ก็ยังมีฐานะไปได้ทางเจโต แต่ถ้าฝึกบ้างไม่ฝึกบ้าง โอกาสจะสำเร็จในมัชฌิมา นั้นจะไม่มีเลย


วิธีการฝึก พุทธานุสสติ ในแนวทางปัญญาวิมุตติ

1. สวด ต้องสวดคาถาที่บูชาพระพุทธเจ้า อย่างต่อเนื่องจนจิตเป็นสมาธิ
เช่น บท นโม อิติปิโส พุทธคุณ 108 คาถามหาพุทธรัตนะ

2. เมื่อจิตเป็นสมาธิจะปรากฏแสงสว่างด้านหน้าหรือรอบตัว จะรู้สึกกระทบกับแสงสว่างที่ปรากฏนั้นด้วยสภาวะจิต

3.เมือแสงสว่างปรากฏท่านให้น้อมจิตไปใน อนุวิปัสสนา โดยใช้แสงสว่างเป็นอารมณ์ ( แสงสว่างที่ปรากฏอาจจะพบว่ามีอยู่หลายสี แต่ไม่เกิน 5 สี ) ขึ้นอยู่กับจริต ท่านกล่าวว่า ให้ภาวนาว่า แสงสว่างนี้ไม่เที่ยง กายนี้ก็ไม่เที่ยง ให้ภาวนาไปอย่างนั้นจิตที่ปัญญาวิมุตติ ก็จะมุ่งไปในการพิจารณา 2 เรื่องเท่านั้น โดยการเปลี่ยน สังขาร ให้เป็น ปัญญา เมื่อปัญญา( การพิจารณามีมากขึ้น ) ท่านกล่าวว่าวิธีนี้ ชื่อว่า จิตตานุปัสสนา แต่จิตที่พิจารณาไปในแสงสว่าง เป็น เวทนานุปัสสนา จิตที่พิจารณาไปในกาย เป็น กายานุปัสสนา เมื่อจิตได้ สติสัมปชัญญะสูงมากขึ้น การพ้นจากกิเลสเพราะปัญญา ท่านกล่าว่า เป็น ธัมมานุปัสสนา แต่คุณธรรมของพุทธานุสสติให้ผลเพียงแค่ โสดาบัน เท่านั้น ต้องต่อยอดไป ปริวัฏฏะอื่น ๆ ต่อไป จึงจะสำเร็จคุณธรรมสูงขึ้น
นี่ก็เป็นวิธีการ ทำ กตญาณ ให้เป็น กิจจญาณ ในการรู้ ทุกขอริยสัจ เท่านั้นยังไม่ใช่ที่สุดในการภาวนา แต่ก็เพียงพอทำให้ชีวิตมีความสุขในสังสารวัฏฏ์ นี้ได้

เจริญธรรม / เจริญพร
27 ตุลาคม 2564