ทำไมคำขึ้นกรรมฐาน แต่ละที่ไม่เหมือนกัน

เริ่มโดย kai, ก.ย 07, 2024, 10:25 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม ทำไมคำขึ้นกรรมฐาน แต่ละที่ไม่เหมือนกันครับ

ตอบ ทำไมวัด อุโบสถ จึงไม่เหมือนกัน
ทำไม ฤดู จึงไม่เหมือนกัน
ทำไม ฝึก กรรมฐานไม่เหมือนกัน
ทำไม สวดมนต์ ไม่เหมือนกัน
ทำไม พระห่มผ้า สีไม่เหมือนกัน
ทำไม เกิดมา รวยจนไม่เท่ากัน


    😉 พระอาจารย์ ลองพิมพ์คำว่า ทำไม ?
ก็คือ ความสงสัย โดยที่ผู้ถาม ใชัี้บรรทัดฐานเดียวกัน
เพื่อเห็นความแตกต่างขึ้นมา แต่หากพิจารณา
ด้วยสติปัญญาแล้ว สิ่งที่แตกต่างนั้น
ก็มีเนื้อหาเดียวกัน


อ้างถึง
สมมุติว่า ถ้าผม กล่าวคำสมาทานกรรมฐาน
แบบด้านบนแล้วปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ได้หรือไม่หรือ ผมต้องกล่าว คำสมาทานกรรมฐาน
ตามแบบของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ดัวยครับ

ก็ตอบว่า ได้ เพราะคำขึ้นกรรมฐาน ก็คือ
การอธิษฐานจิต หรือ คำสั่งจิตให้ทำงานตามที่ความปรารถนาแห่งจิต
โดยรวมในสถานการณ์นั้น พิธีรีตรอง ต่าง ๆ ทั้งมวลนั้น มีไว้เพื่อกระชับ และเป็นแบบแผนให้เราไม่หลงทิศทาง
เหมือนคนเข้ากรุงเทพ แล้วมีแผนที่ กับคนเข้ามาแล้วไม่มีแผนที่ ความมั่นใจย่อมต่างกัน
 
ถ้าหากอาศัย การถามแล้ว ก็จะได้คำตอบว่า

   1. ไม่รู้ ตอบว่า ไม่รู้
   2. ไม่รู้ แต่ตอบ มั่ว
   3. รู้ แต่ ไม่ตอบ หรือ ตอบว่า ไม่รู้
   4. รู้ และ ตอบว่า รู้

   การอธิษฐานจิต จึงเป็นแบบแผนให้กับศิษย์กรรมฐาน ได้ปฏิบัติ ตามแบบฉบับ ของคนรู้ ตอบ
ดังนั้นถ้าอธิษฐานกรรมฐาน แบบสำนักอื่น ที่สอน ก็ควรปฏิบัติตามที่สำนักนั้นสอน เพื่อจะได้ส่งอารมณ์
หรือ ถามกรรมฐาน ที่ฝึกนั้นกับคนที่ฝึกสอนนั้นได้สอยู่ ได้
   ดังนั้น ถ้าเราปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็กล่าวคำอธิษฐาน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
แล้วก็ส่งอารมณ์ สอบอารมณ์ กับพระอาจารย์ที่ขึ้นกรรมฐาน นั้น จึงเป็นการถูกต้อง

   แต่หากเรามองข้ามส่วนนี้ เพราะเห็นว่าเป็นพิธี รีตรอง ของแต่ละสำนัก นั้นก็คือการที่เราไม่เข้าใจ สุดท้าย
ปัญญาส่วนนั้นก็จะเห็นว่า พิธีเหล่านี้ไม่มีความสำคัญ การกราบ การไหว้ การแสดงสักการะ ก็จะเป็นกุศลต่อไป
ถ้าหากปล่อยไปเช่นนี้ วัฒนธรรมของพระอริยะ ก็จะหมดสิ้น เพราะมีแต่ความว่าง กลายเ้ป็น ฌาน 8 ไป
มีหลายคนที่ เอาสภาวะ เนวสัญญายตนะ มาอธิบายเป็น สุญญตา จนเข้าใจสภาวะ ว่าง นั้นคือ นิพพาน
  ดังนั้นสรุป ว่า ไม่ควรจะนำปนเปกัน ถ้าไปฝึกในส่วนรวมของสำนัก ใด ก็ปฏิบัติตามสำนักนั้นสอน เพื่อได้
ปรับกรรมฐานด้วย

เจริญพร
19 ตุลาคม 2564