นิมิตหลังออกจากสมาธิ

เริ่มโดย kai, ก.ย 07, 2024, 09:56 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ช่วงนี้ พอจ ก็ทรงสมาธิ มากกว่า ทำตามอัตภาพอำนวย สุขภาพโดยรวมดี
ในช่วง 10.45 ได้ปรากฏนิมิต เป็นภาพศิษย์สองท่าน เข้ามานับว่าเป็นภาพที่ดี ที่สามารถปรากฏในสมาธิได้ ซึ่งไม่เคยทำได้มาก่อน ก็อนุโมทนา ในความก้าวหน้า


เมื่อออกจากสมาธิ ได้พักหลับไป 10 นาที ในขณะนั้นได้ฝันว่า มีคนรู้จักสองท่าน มานิมนต์ให้ฉันภัตร เขาได้นำ จรเข้ ใต้ถุนบ้าน ตัวหนึ่งมาฆ่า แล้วผ่าหัว ผ่าตัวนำเนื้อจรเข้ ไปทำอาหารมาถวาย พอจ ได้รับไว้แต่ไม่ได้ฉัน แม้มองดูในภาชนะก็เหมือนอาหารทั่วไป ได้แต่เขี่ยผัก และ น้ำพริกฉันจนอิ่ม ก็อนุโมทนาหลังฉันเสร็จก็ตื่น (10 นาที ) เมื่อนึกถึงฝันที่ปรากฏ อย่างนี้จึงนึกถึง พระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้สูตรหนึ่ง

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่จระเข้เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาสครอบงำเเล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้วทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏได้ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตร ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่า สิ่งนี้ท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านควรฉัน สิ่งนี้ท่านไม่ควรฉันสิ่งนี้ท่านควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านควรดื่ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรดื่มสิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรฉัน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรฉัน สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรลิ้ม สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรดื่ม สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรดื่ม ท่านควรเคี้ยวกินในกาล ท่านไม่ควรเคี้ยวกินในวิกาล ท่านควรฉันในกาล ท่านไม่ควรฉันในวิกาล ท่านควรลิ้มในกาล ท่านไม่ควรลิ้มในวิกาล ท่านควรดื่มในกาล ท่านไม่ควรดื่มในวิกาล ดังนี้ กุลบุตรนั้นย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด ก็เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด ก็ไม่เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้
สรุปในเนื้อหา พระสูตร ง่าย ๆ ก็คือ
เมื่อก่อนชีวิตเป็น คฤหัสถ์ ฆรวาส ครองเรือน ชาวบ้าน นั้น สามารถใช้ชีวิตได้ตามใจชอบ จะกิน จะเที่ยว ก็ตามใจชอบ แต่พอได้บวชเป็น บรรพชิต แล้วก็ต้องพักจากความชอบใจ เหล่านั้น มาสงบด้วยวินัย จะกิน ( ฉัน ) จะนั่ง นอน ยืน เดิน ต้องปรากฏด้วยความสำรวม (ระวัง) มีชีวิตที่ต่างจาก ชาวบ้าน ทำตามใจไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องการฉัน ก็ต้องฉันด้วยการพิจารณาตามความจำเป็น ตามภัตรที่ได้รับ

สำหรับเนื้อหาพระสูตรนี้ พระพุุทธเจ้า ตรัสเรียกว่า ภัยคือ จรเข้ คือกลัวความลำบาก เพราะเรื่อง กิน เรื่องเที่ยว ดังนั้น การมีชีวิตของผู้ภาวนา นั้นต้องปรากฏชัดด้วยความสำรวม ด้วยการพิจารณา ปัจจัย 4 ให้มีแต่พอสนับสนุนในการภาวนา ไม่ได้มัวแต่เพลิดเพลิน ในปัจจัย 4 ดังนั้น ถ้า ภิกษุ ระมัดระวังสำรวมก็จะไม่ถึงความยินดี ในปัจจัย 4 ไม่ทำจิตให้ หลง ในลาภสักการะ เหล่านั้น จิตก็จะไม่ข้องเกี่ยวกับ กามคุณ ได้
นับว่า เป็นนิมิต ที่ครูท่านให้เป็นคำสอนที่น่าชื่นชมยินดี เล่าไว้พอให้เพลิดเพลินในธรรม

เจริญธรรม / เจริญพร
17 ตุลาคม 2564