อัปปมัญญากรรมฐาน ( ออกบัวบานพรมหวิหาร ๔ )

เริ่มโดย kai, ก.ย 03, 2024, 06:00 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

อัปปมัญญากรรมฐาน ( ออกบัวบานพรมหวิหาร ๔ )
ท่านที่ไม่ได้เลือกสายนี้ ไม่ควรอ่าน ข้อความ
หัวใจของอัปปมัญญา(ออกบัวบานพรหมวิหาร ๔ )
คือ อุเบกขาอัปปมัญญา


ผู้ฝึก สีมสัมเภท เมตตาอัปปมัญญา ย่อมถึงซึ่งความทุกข์อันรุมเร้าจิตใจ ไม่ใช่ถึงความสุข เพราะอำนาจความสุขที่ตนมีนั้นไม่เพียงพอต่อ เมตตาอัปปมัญญาทั่วสากลจักรวาล เมือเจริญ เมตตาอัปปมัญญาทิศาผรณามากขึ้น จิตก็จะมีความทุกข์มากขึ้น ( เข้าทางอริยสัจ ๔ ) เพราะจะได้รับผลกระทบคือเห็นความทุกข์ของสรรพสัตว์มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น ในขณที่ตนเองนั้นก็จะเข้าสู่สภาวะจนทางเมตตา เพราะเมื่อเห็นสัตว์ มีความทุกข์มากขึ้น แต่สภาวะเมตตาที่มีนั้น มันหมดตัว หมดใจเพราะว่ายิ่งเห็นก็ยิ่งสงสาร ที่ส่งสารเพราะว่าไม่สามารถช่วยสัตว์ใด ๆ ได้เลย ความเป็นจริงก็จะปรากฏให้เห็นถึงศักยภาพของคนว่ามีขีดจำกัด แม้จะมีจิตเมตตาปรารถนาให้สรรพสัตว์มีความสุขแต่ความจริงแล้ว เมตตาที่ไม่มีประมาณนั้นก็ไม่เพียงพอที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุข จิตที่ไม่สามารถช่วยได้ก็จักก้าวหยั่งเข้าปสู่ ความทุกข์ ทีเห็นสัตว์ทั้งหลาย ลำบากตรากตรำ ด้วยทุกข์ของเขา และในที่สุดจิตที่เมตตาก็จะลงมือทำในสิ่งที่เรียกว่า ช่วยเหลือ และ ช่วยเหลือ การที่จิตใต่ระดับความช่วยเหลือนั้น ก็คือ กรุณาอัปปมัญญา ดวงจิตที่เป็น กรุณาอัปปมัญญา นั้น ก็จะพยายามช่วยเหลือ สิ่งที่ได้กลับมาก็คือความทุกข์ คูณทวีมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะทำวิธีไหนก็ตามก็ไม่สามารถทำให้สัตว์ทั้งหลายมีความสุขขึ้นมาได้ จิตก็จะแบกความทุกข์ อันนั้นเอาไว้มากขึ้น จนกระทั่งจิตจะมองเห็นว่า ทุกข์ คู่กันสุข สุข คู่กับความทุกข์ เมื่อนึกถึงสัตว์ที่เดือนร้อนจิตก็จะมีความทุกข์ เมื่อนึกถึงสัตว์ที่รอดพ้นจากทุกข์ ได้รับสุข จิตก็จะมีความสุข เมื่อจิตพิจารณาเห็นความจริงว่า สัตว์ทั้งหลายมีความสุขด้วย กรรมของตน ไม่ใช่เกิดจาก การแผ่เมตตาที่เราแผ่ไปจนหมดสิ้น จิตก็จะเข้าสู่ มุทิตาอัปปมัญญา คือ พลอยยินดีที่สัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ถึงซึ่งความสุข ได้ด้วยกรรมของตน เมื่อสร้างกุศลก็ได้ความสุข เมื่อทำอกุศลก็ได้ความทุกข์ เป็นผลตอบแทน จิตของพระโยคาวจรที่ตั้งอยู่ใน มุทิตาอัปปมัญญา จะได้สุขนิโรธธรรมองค์แท้ จริงของอัปปมัญญา เรียกว่า ออกบัวบาน รู้ความจริงสัจจะแท้ของความสุข เมื่อตั้งจิตตามทัศนะอย่างนี้ คุณธรรมการบรรลุด้วย อำนาจเจโตสมาธิประกอบด้วยเมตตาเป็นเบื้องต้น จึงบรรลุธรรมเป็นพระอริยะบุคคลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนาซึ่งไม่ได้ผ่านตามลำดับ เป็นคุณธรรมพิเศษที่มีเฉพาะ ในกรรมฐานนี้ เรียกว่า จิตหลุดพ้นเพราะ เมตตา หรือ เมตตาเจโตวิมุตติ จิตของพระอรหันต์ ก็จะเข้าสู่ อุเบกขาอัปปมัญญา วางทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ลงไม่ข้องแวะข้องเกี่ยวกับ คำว่า สุข และ ทุกข์ ของสรรพสัตว์อย่างสิ้นเชิง เป็นการดับกิเลสขั้นสูงสุด จึงดำรง อัปปมัญญาธรรมนี้ชื่อ ออกบัวบานพรหมวิหาร ๔ อย่างสมบูรณ์

เจริญธรรม / เจริญพร

ยกตัวอย่าง สรรพสัตว์ที่มีความทุกข์ แล้ว ผู้เมตตาช่วยอะไรเขาได้
คำถาม.. ยิ่งแผ่เมตตาให้เขามีความสุข ... แต่ความสุขก็ไม่ถึงเขา นั่นแหละคือผลของการแผ่เมตตา ... เมือจิตกรุณา ก็ช่วยเหลือเขา .. แต่ที่สุดความช่วยเหลือก็ต้องหมดไป เพราะฐานะที่จะช่วย และ คนที่ช่วยไม่ได้มีแค่คนสองคน ทั้งโลกนี้ไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ผลสุดท้ายก็รู้ตัว ไม่สามารถช่วยได้ แต่จิตที่มีเมตตา และ กรุณา สองอย่างจะรับความทุกข์นี้ไว้ ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน มีกรรมเป็น มรดกตกทอดที่ ลำบากก็เพราะกรรมที่ได้สร้างไว้ ที่มีความสุขจักมีไหม จิตก็จะนึกถึง ผู้ที่มีความสุข ก็จะพลอยยินดี เข้าสู่ สถานะ ของ มุทิตาอัปปมัญญา และในที่สุด ธรรมสองส่วนก็จะปรากฏเป็นความจริงให้เห็นว่า สุข เกิดเพราะกรรม กรรมเกิดเพราะกิเลส ทุกข์เกิดเพราะกรรม กรรมเกิดเพราะกิเลส สุข และ ทุกข์ เกิดจากกรรม กรรมเกิดเพราะกิเลส เมืออวิชชา คือ ความไม่รู้ดับไป วิชชาคือแสงสว่าง ก็เกิดขึ้นแก่จิตในธรรม ๕ ประการว่า เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บเป็นธรรม มีความตายเป็นธรรม มีความเศร้าโศรก อุปายาส ปริเวทนา อุปาทานชันธ์ทั้ง ๕ เป็นธรรมดา มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ พวกพ้องที่พึ่งอาศัย จะดีชั่ว อยู่สบาย เพราะกรรมนั้น นั่นเอง วิชชาก็จะเกิดขึ้น แสงสว่างก็จะเกิดขึ้น ณ มหาสูญ จิตก็จะเข้าสู่ สภาวะปล่อยวางเป็น อุเบกขาอัปปมัญญา และปหากิเลสครั้งเดียว ในกรรมฐานนั้น สำเร้จเป็นพระอริยะบุคคลที่เหนือสุดในด้านกรรมฐาน พร้อมคุณธรรมที่เรียกว่า ปฏิสัมภิทา ๔
อันนี้เป็นการอธิบาย ความต่อเนื่องที่เกิดขึ้นใน อัปปมัญญากรรมฐาน ซึ่งต้องเกิดตามลำดับอย่างนี้ ในอัปปมัญญานั้นจัดเป็นวิปัสสนาตรงไม่ใช่ สมถกรรมฐาน ดังนั้นจึงมีคุณสมบัติเข้าถึง พระนิพพาน ขั้นสูงดได้ ถ้าสำเร็จในพุทธศาสนานี้ เรียกว่า พระอรหันต์ ถ้าสำเร็จธรรมในระหว่าง ว่างจากพุทธศาสนา เรียกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า เนื่องด้วยคุณธรรมส่วนนี้ หลังจากสำเร็จ ก็ไม่สามารถอธิบายขยาความได้นอกจากคำว่า ปรารถนาให้ทุกคนมีความสุข ดังนั้นมุมมองทั่วไปจึงมองออกว่าเป็นแนวทางของพระโพธิสัตว์ นั่นเอง

ธัมมะวังโส ภิกษุ
12 ตุลาคม 2565