การภาวนา กับ กิจของศาสนา บางครั้งมันไม่ได้สอดคล้องกัน

เริ่มโดย kai, ก.ย 02, 2024, 09:03 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

การภาวนา กับ กิจของศาสนา บางครั้งมันไม่ได้สอดคล้องกัน

ไปอยู่วัดชาวบ้าน ต้องการให้พัฒนาวัด
เมื่อพัฒนาวัดก็ต้องคอยก่อสร้าง การก่อสร้าง
ก็ต้องยุ่งกับชาวโลก ต้องคอยควบคุมการก่อสร้าง
ต้องจัดการเรื่องเงินทอง

ไปอยู่วัด ท่านต้องการให้สอนหนังสือ ก็ต้องเตรียมตัวสอน ต้องไปเรียนหลักสูตรที่เขาระบุให้สอน ต้องทำข้อสอบให้คนเรียนได้สอบ เมื่อก่อนพระอาจารย์ สอนธรรมศึกษา ต้องนั่งทำข้อสอบติวเด็ก เป็นวันเป็นคืน เพราะเด็กมาเรียนได้แค่วันเดียว มีเวลาสอนเพียง 12 วันเท่านั้น เด็กก็สอบ แต่คนทั่วไปมองว่า มีเวลา 3 เดือน แต่เด็กมาแค่ ครึ่งวัน ในวันอาทิตย์วันเดียว เท่านั้น สั่งให้อ่านอะไรมาก่อน 99 เปอร์เซ็นต์เด็กไม่อ่านอะไรมาก่อนทั้งสิ้นหนังสือที่หาให้ไป เขาไม่อ่านกันเลย ถามอะไรก็จะตอบไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องเลือกทำข้อสอบ เก็งข้อสอบให้เด็กไปสอบ แล้วคุณธรรมของเด็กจะมีได้อย่างไร ความรักในพุทธศาสนา จะมีได้อย่างไร ถ้าหลักสูตรมันเป็นอย่างนี้ ปัจจุบันคิดว่าเสียเวลา เอาเวลานั้นมาภาวนาเราดีกว่า
ไปอยู่วัดถ้าไม่ใช่เจ้าอาวาส ก็ต้องเป็นกรรมกร จะผสมปูน ช่างไม้ ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า แม้ บุคคลกรรมกรเก็บกวาดขยะ พระลูกวัด ต้องเป็นทั้งหมด เคยไปอยู่หลายสำนักก็เป็นอย่างนี้ ที่จะเปิดให้ภาวนา นั้นยาก
แต่ก็มีบางที่ เขาก็ปล่อยให้ภาวนาไป อยากภาวนาไป ก็ภาวนาไปแต่ไม่ได้สนับสนุนปัจจัย 4 ให้ มันก็ลำบากอยู่ดี อาหารไม่มีฉัน ไม่มีปันกัน ไม่มีการดูแลยามเจ็บไข้ได้ป่วย หลาย ๆ ที่ก็เป็นอย่างนี้
ดังนั้นถ้าเลือกจะภาวนา ก็ไปตามเส้นทางการภาวนา ภาวนาส่วนตัวอยู่ที่ส่วนตัว นั้นจะดีที่สุด เวลาจะมีมากดังนั้นสมัยเก่า พระธุดงค์ ท่านเดินทางจาริก ก็เพื่อแสวงหาสถานที่ ๆ เหมาะสมในการภาวนา เช่นป่า เช่นถ้ำ ต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สนับสนุนพระอริยะ มามากแล้ว

แต่ในสายกรรมฐาน มูลกัจจายนะ ครูอาจารย์เลือกจะภาวนาในเมือง ไม่ใช่ในป่า แต่ที่ภาวนาในเมืองเพราะต้องการทำหน้าที่สงเคราะห์ศิษย์ไปด้วยในตัว นั่นเอง พระอริยะในเมือง หาได้ยาก แต่ก็ยังมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี

เจริญธรรม / เจริญพร
9 ตุลาคม 2564