ถาม ธรรมเนียมการขึ้นกรรมฐาน มีในพระไตรปิฏก ไหม ?

เริ่มโดย kai, ส.ค 29, 2024, 03:55 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม ธรรมเนียมการขึ้นกรรมฐาน มีในพระไตรปิฏก ไหม ?

ตอบ มีในพระไตรปิฏก ว่า ด้วยพิธีรับบวช
พิธีรับบวช รับตั้งแต่ เด็ก 7 ขวบขึ้นไปเรียกว่า สามเณร สมาทานศีล 10 เสขียวัตร 75 เป็นตลอดการ บวช
การขึ้นกรรมฐาน หมายถึงความต้องการ รู้วิธีการปฏิบัติ รู้ข้อความธรรม ซึ่งต้องอาศัย ภิกษุ ผู้มีพรรษามากกว่า 10 พรรษา ผู้รู้ข้อความธรรม และเป็นผู้ภาวนา ตามข้อความธรรม หรือ เป็นธรรมกถึก หรือ เป็น ธรรมธร
การขอนิสสัย มีในการบวช ของ พระภิกษุ

อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ทุติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
ตะติยัมปิ อะหัง ภันเต, นิสสะยัง ยาจามิ.
( อุปัชฌาโย เม ภันเต โหหิ ) กล่าว ๓ จบ


ข้าพจ้า ขอนิสสัย ขอรับ แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม (การยืนยัน)
คำว่า "นิสสัย" คือ วิธีการทำ พูด คิด
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็น อุปัชฌาย์ แก่ข้าพเจ้า
คำว่า อุปัชฌาย์ ในสังฆกรรม หมายถึงบุคคลที่เป็นผู้บวชให้ และรับภาระ เป็นผู้ให้ นิสสัย
อุปัชฌาย์ จะกล่าวรับ สามอย่าง
ปฏิรูปัง เราจักดูแล ( มอบธรรมและวินัย ) โดยสมควร
โอปายิกัง เราจักดูแล ( มอบธรรมและวินัย ) โดยชอบแก่อุบาย
ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ เธอจงการปฏิบัตตาม ( ธรรมและวินัย ) ให้ถึงความเลื่อมใสทั้งแก่ตนเอง และ ผู้อื่นเถิด
ผู้ขอนิสสัย รับคำว่า สาธุ ภันเต กระผมจะทำเช่นั้น หรือ ขอรับกระผม
การสอนกรรมฐาน มีก่อนการสมาทานศีล เมื่อผู้บวช ต้องการบวช นำผ้าสามผืน มามอบแสดงแก่ พระอุปัชชาย์ เพื่อขอบวช
ผ้าสองผืน คือ อุตตราสงค์ ( จีวร) อันตราวาสก ( สบง) กายพันธนัง ( ผ้ารัดอก ) เมื่อมอบแก่อุปัชฌาย์ กล่าวคำขอบวช อุปัชฌาย์รับผ้าไหว จักสอนกรรมฐาน ก่อน คือ การใช้ ตจปัญจกกรรมฐาน มีว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ  และก็ว่า ทวนกลับ รูปแบบการภาวนา จะไม่ใช่แบบนี้ แต่ การยก ธาตุดิน มาให้ว่า เพื่อคลายความกำหนัด ยินดี ในรูปที่เป็นปฏิปักษ์ ต่อการภาวนาเท่านั้น ไม่ใช่เนื้อหาทั้งหมด ถ้ามีเนื้อหาแค่นี้ก็ไม่ต้องบวช

ดังนั้น เมื่อมีการขอนิสสัย แล้ว ผู้ขอนิสสัย จะถูกเรียกว่า
 1.อันเตวาสิก ซึ่ง มีอยู่ 4 แบบ
  ปัพพชันเตวาสิก อันเตวาสิกในบรรพชา
  อุปสัมปทาเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบถ
  นิสยันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย
  ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม

ส่วนผู้ขอบวช ก็จะถูกเรียกว่า สัทธิวิหาริก ของอุปัชฌาย์ นั้น ๆ
คำว่า สัทธิวิหาริก หมายถึงเป็นผู้บวชจากอุปัชฌายนั้น หรือพูดง่าย อุปัชฌาย์ องค์ใดบวชให้ อุปัชฌาย์ ก็เป็น ผู้ปกครอง สำหรับผู้ที่ถูกบวช ชื่อว่า สัทธิวิหาริก ของ อุปัชฌาย์นั้น ๆ

โดยมากแล้ว อุปัชฌาย์ ก็จะเป็นผู้ บรรพชา อุปสมบถ ให้นิสสัย และสอนธรรม แต่ในปัจจุบัน บวชอีกวัดหนึ่งไปอยู่อีกวัดหนึ่ง ดังนั้น ผู้บวชก็ต้องไป ขอนิสสัย เพื่อจะได้เป็น อันเตวาสิก ต่อจากอีก ครูอาจารย์ อีกแห่งหนึ่ง
ธรรมเนียมพุทธ ผสม ธรรมเนียมไทย

ธรรมเนียมไทย นิยมการไหว้ครู ธรรมเนียมพุทธนิยมมอบตัวแก่ครู ทั้งสองอย่างไปด้วยกันได้ ผสมผสาน พิธีเข้าไปด้วยกัน ทำให้เกิดธรรมเนียม

ถ้าทำแบบพุทธ ก็มากล่าวคำขอมอบตัว
สักการะ ธูปเทียนดอกไม้ เป็นเรื่องอามิสบูชา ที่ปกติคนที่สร้างกุศล บูชารัตนตรัยก็มีทั้งเครื่องหอม ดอกไม้ มาลา เหล่านี้มีมาก่อนพุทธกาล แม้พุทธกาลก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง เช่นกัน


19 กันยายน 2564