ทำไมครูอาจารย์ ไม่สอนธรรม ขั้นสูงกับคนที่ไม่ใช่ศิษย์ตรง

เริ่มโดย kai, ส.ค 26, 2024, 08:53 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ทำไมครูอาจารย์ ไม่สอนธรรม ขั้นสูงกับคนที่ไม่ใช่ศิษย์ตรง

ธรรมที่กล่าวแล้วครูอาจารย์มีความเสี่ยงต้องอาบัติ
อย่างไรก็อาบัติไม่พ้นจากอาบัติ


อาบัติ แปลว่าการละเมิดวินัยบัญญัติ
ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ เมื่อละเมิดแล้วก็ต้องปรับอาบัติ
ไปตามความหนักเบาของวินัย มีตั้งแต่ หนัก กลาง เบา

หนัก  ก็คือ ขาดจาความเป็นพระ
กลาง ต้องไปอยู่ปริวาสกรรม ชำระมลทิน
เบา กล่าวคำสัจจะว่าจะไม่อีก เรียกว่า ปลงอาบัติ


  อุตตริมนุสสธรรม นั้น
  สามารปรับอาบัติได้ 2 อย่างคือ

  หนัก ขาดจากความเป็นพระ
  เบา ก็ต้องปลงอาบัติ

ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม
ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ
มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ความยินดี
ในเรือนว่าง

คำว่า ฌาน ได้แก่
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

คำว่า วิโมกข์ ได้แก่
สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์

คำว่า สมาธิ ได้แก่
สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ

คำว่า สมาบัติ
ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ

คำว่า ญาณทัสสนะ
ได้แก่ วิชชา ๓

คำว่า มรรคภาวนา
ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

คำว่า การทำผลให้แจ้ง
ได้แก่ การทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง การทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง การทำอนาคามิผลให้แจ้ง การทำอรหัตตผลให้แจ้ง

คำว่า การละกิเลส
ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ

คำว่า ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ได้แก่
ภาวะที่จิตปลอดจากราคะ ภาวะ
ที่จิตปลอดจากโทสะ ภาวะที่จิตปลอดจากโมหะ

คำว่า ความยินดีในเรือนว่าง ได้แก่
ความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน
ความยินดีในเรือนว่างด้วยทุติยฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยตติยฌาน ความ
ยินดีในเรือนว่างด้วยจตุตถฌาน

ยกตัวอย่างการปรับ อาบัติ เบา
[๗๑] คำว่า " บอก " คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า "ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว" ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ให้สังเกตว่า บอกในที่นี้ หมายความทั้งพูดเล่น หรือ พูดจริง ก็ให้ปรับอาบัติทันที ไม่ว่าจะทำได้จริง หรือ ไม่ได้จริง อนุปปสัมบัน หมายถึงบุคคลที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์อุปสมบถ ในที่นี้หมายถึง สามเณร
ดังนั้นถ้า มีการประกาศ หรือ บอก อุตตริมนุสสธรรม แก่บุคคลผู้ไม่ได้เป็นศิษย์ตรง มีโทษ ทั้งเบา และ หนัก ตามแต่เหตุที่กล่าว นับว่ามีความเสี่ยงมากเวลาสอนกรรมฐาน ประเภท ปณีตา และ ผลสมาบัติ เพราะอย่างไรก็ต้องกล่าวคุณสมบัติ ในอารมณ์กรรมฐาน เป็นตัวอย่างเรียกว่า ประกาศทางอ้อม แม้ประกาศทางอ้อม รู้เป็นนัยไม่ประกาศตรง ๆ ก็ปรับอาบัติเข่นกัน หากผู้รับสารไม่ใช่ศิษย์สายตรง

ดังนั้น ทำไมจึงเน้นว่า ต้องเป็นศิษย์สายตรง ก็เพราะเหตุนั้นเพื่อทำให้ครูอาจารย์ ไม่ต้องอาบัติ เพราะว่าอาบัติส่วนนี้ปรับทั้งพระอริยะ และ ที่ไม่เป็นอริยะ เช่นกันใน สมาคมสงฆ์

เจริญธรรม / เจริญพร
ธัมมะวังโส ภิกษุ
16 กันยายน 2564·


คนไม่เชื่อวิโมกข์ แม้ทัศนะเห็นแล้ว
คลุกคลีด้วยแล้ว ก็ยังไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส
เพราะคิดว่า คนๆ นี้ไม่สมควรเป็นผู้วิโมกข์
นี้คือความคิดของพระและคนรอบตัวฉันในปัจจุบัน
ที่ไปที่ไหน ๆ ก็จะพบการปรามาสเสมอ ๆ
ทั้งที่ฉันไม่ได้พูดอะไรเลย
เพียงแค่รักษามรรยาทสงฆ์เท่านั้น
คนเหล่านี้ไม่มีทางได้รับฟังธรรมจากฉันเลย
เป็นแค่คนสวนทางผ่านกันเท่านั้น
และมันสำคัญอะไรหรือ ที่ฉันกำลังบอกว่า
อันที่จริงฉันไม่ได้เป็นพระที่พบยาก
มีคนเป็นหมื่น เป็นพันได้พบฉัน
แต่ไม่เคยได้ฟังธรรมจากฉัน
เพราะฉันเลือกการนั่งนิ่ง ๆ ในปัจจุบัน /
ในปัจจุบัน ฉันไม่นิยมสอนใครเลย
เริ่มเป็น 3 ปีแล้ว ไปที่ไหนฉันก็ไปนั่งนิ่ง
ฟังเขาพูด เขาสอน สำรวจและพิจารณา
วิธีการภาวนาของแต่ละสถานที่กัน
ไม่เคยวิจารณ์ที่ไหน ว่าไม่ดี
มีแต่อนุโมทนา สาธุ กับทุกที่ ๆ ได้ไป

สมัยครั้งพระพุทธเจ้าตรัสรูใหม่
พระองค์ได้สวนทางกับ อุปกอาชีวก
ซึ่ง
อุปะ นั้นเห็นฉันพรรณรังษีของพระพุทธเจ้า
งดงามมากเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า พึงตรัสรูใหม่ ๆ
และได้ การตรวจสอบพระองค์เป็นเวลา 49 วัน
แล้วพระองค์กำลังเดินทางไปโปรด ปัญจวัคคีย์
อุปกะ แม้เห็นอย่างนั้นก็ถาม พระองค์ด้วยความ
อัศจรรย์ที่ได้เห็น ฉันพรรณรังษี ว่า
ใครเป็นศาสดาของท่าน พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า
เราเป็น สยัมภู เป็นพระพุทธเจ้า
ผู้ตรัสรูชอบได้โดยพระองค์เอง

อุปกะอาชีวก ได้ฟังดังนั้นมิได้เลื่อมใส
มิได้เชื่อ แต่กับ ส่ายศรีษะ แลบลิ้น ปลิ้นตา
ก่อนเดินสวนจากไป
นี่ขนาดพระพุทธเจ้า นะ

ดังนั้นเราเชื่อว่า พระพุทธเจ้า ตรัสรู้เองหรือยัง
กระทำความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง
หรือยังมีความคิดว่า พระพุทธเจ้า ใคร ๆ ก็เป็นได้
มีเกลือนกล่นกันอยู่ เหมือนที่หลายคนแสดงความคิดเห็น
จนพระพุทธเจ้า พระนามว่า สิทธัตถุะ
ไม่ต่างอะไรจากปุถุชน แถมยังบอกอีกว่า พระพุทธเจ้า เจ้าเล่ห์
ใช้เล่ห์กลในการแสดงธรรม ไม่ได้มี ปาฏิหาริย์ อะไรทั้งสิ้น
ทั้ง ๆ ที่บุคคลพิเศษ มีความสามารถพิเศษ
ในปัจจุบันก็มีอยู่มากมาย แต่คนที่มาอาศัยผ้าเหลืองอยู่
กับพูดจนพระพุทธเจ้า หาได้มีความวิเศษแตกต่างจากคนทั่วไป

คนกลุ่มนี้มักเอาพระสูตร บทนี้มาใช้บ่อย
เพื่อทำให้คำพูดของตน ดูมีราคา ค่ามาก
คือ พระสูตรที่ชื่อว่า กาลามสูตร
และอธิบายยังกับว่ามีความสำคัญกับ
ชาวพุทธจริง ๆ ทั้ง ๆ ที่พระสูตรบทนี้
พระพุทธเจ้ากล่าวแสดงแก่บุคคลที่ไม่นับถือ เท่านั้น
คือชาว กาลาม

ดังนั้นคนที่อ่านพระสูตรก็มักจะคล้อยตาม
คัดค้าน งัดง้าง พระไตรปิฏก เสมอ ๆ
ทั้ง ๆ ที่พระสูตรนี้ก็อยู่ในพระไตรปิฏก
คือเต็มใจที่จะเชื่อ แบบที่ตนเองคิดว่าเป็นปัญญาชน
เรื่องใดพิสูจน์ไม่ได้ ก็ไม่เชื่อ อันที่จริงพระไตรปิฏก
ไม่ใช่พระธรรมที่เหมาะแก่ทุกคนทุกระดับ
บางเรื่องก็เจาะจงเฉพาะบุคคล เท่านั้น
ไม่เจาะจงผู้อื่น อย่างนี้

ดังนั้นจึงป่วยการที่จะไปกล่าวถึง
การสอนธรรมคนที่ไม่เชื่อ หัวรั้น ทำไม
เพราะมันเสียเวลา เพราะประโยชน์
( ความไม่เดือดร้อน)เรานั้นต้องสำคัญกว่า
ประโยชน์เขา คงต้องยึดภาษิตไทย
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
ตรงนี้ ความหมายภาพ การสร้างกรรม
ก็เหมือนการซัดบูมเมอแรงออกไป
เมื่อซัดออกไป มันก็ย้อนกลับมาหาเรา
ถ้าเราทำถูกต้องตามเทคนิค เช่นใด
กายกรรมดี วจีกรรมดี มโนกรรมดี
ถ้าทำถูกต้องผลก็ต้องกลับมาถูกต้อง อย่างนั้น
กรรมฐาน อริยะ สำหรับผู้เป็น พระอริยะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=22895.0

สมัยนี้ฉันไปไหน ก็ไม่เคยเจอใน 10 ปี นี้
ที่จะหาพระภิกษุตั้งใจปฏิบัติภาวนา
เพื่อความเป็นพระอริยะ ในชาติปัจจุบัน
ส่วนใหญ่ที่เจอก็แค่ขอบำเพ็ญบารมี
เพื่อความเป็นอริยะในภพต่อไป เท่านั้น

วันนี้ฉันไม่รู้หรอกว่า ชีวิตพระของฉันข้างหน้า
จะเป็นอย่างไร รู้แต่ว่า ทำดีที่สุด
ในการภาวนารักษา ธรรมบท ตามแบบแผนไว้เท่านั้น
ที่เหลือแล้วแต่บุญกรรมนำแต่ง
เพราะชีวิตฉันนั้นอยู่ได้อีกไม่นาน
ใครจะว่า จะอะไรก็ช่างหัวมันเถอะ
ใครจะบ้าบอคอแตก หลงโลกธรรมกันไป
ก็ตามใจเถอะ ไม่มีเวลาเล่นด้วย

( อาจจะพูดไม่ถูกใจใคร ๆ แต่ความเป็นจริง
มันเป็นอย่างนี้ นี่จึงทำให้ฉันหาคนเรียนด้วยได้ยาก
เพราะฉันจริงจังนะในการสอน มาเหลาะแหละไม่ได้
จะไปฏิบัติภาวนาแบบเช้า เย็นชาม
เป็นศิษย์ครูอาจารย์กันไม่ได้ )





kai

บุพพกิจ การภาวนา พุทธานุสติกรรมฐาน

๑.ให้กระทำทุกวัน อย่าได้ขาด

แม้เจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องกระทำ
นั่งไม่ได้ ก็นอนภาวนา
เดินไม่ได้ ก็ยืนแทน ไม่ใช่เจ็บไข้ได้ป่วย
ติดธุระนั่นนี่แล้วก็หยุดกระทำ ภาวนา
ขั้นต่ำวันหนึ่ง ๆ ต้องอย่างน้อย ๓๐ นาที
ภาวนาอะไรไม่ได้ก็สวดคาถาพญาไก่เถื่อน
ไปร้อยรอบ พันรอบในวันหนึ่ง ชดเชยกันไป
แต่ทำเยี่ยงนี้อย่าคาดหวัง ว่าจะได้กรรมฐานขั้นสูง
เพราะกรรมฐานขั้นสูงนั้น ใช้เวลามากกว่า ๖ ชม.
อาจจะต้องละการนอน หรือนอนภาวนาทั้งคืน

๒.ทำการขอขมาทุกครั้ง ก่อนภาวนากรรมฐาน


๓.อธิษฐานกรรมฐานทุกครั้ง
เมื่อจะเข้ากรรมฐานใด ๆ กรรมฐานหนึ่ง
การอธิษฐานกรรมฐานนั้นมีความสำคัญเพราะเป็น วสีด้วย

คนส่วนใหญ่ ๒ ข้อนี้มักจะขาด เพราะนึกจะ
นั่ง ยืน เดิน นอน ภาวนาก็ทำเลย ไม่ทำการอธิษฐาน
เวลาสอบกรรมฐาน กับฉันจะรู้ทันที
เพราะจะให้ว่าปากเปล่า ให้ฟัง
หลายท่านว่าไม่ได้ อันนี้จะรู้ทันทีว่า ไม่ได้ทำสองข้อนี้
ดังนั้นถ้าท่านอธิษฐาน ทำทุกครั้ง คำพวกนี้จะจำได้แม่นยำ


๔. เมื่ออยู่ในกรรมฐาน ต้องไม่ทิ้งลำดับขั้นตอน
เพราะในนั้นไม่มีครูเข้าไปช่วย มีแต่ครู คือ ลำดับกรรมฐาน
การมีสมาธิ ไม่ใช่ปล่อยนิ่ง ว่าง
แต่ต้องมีการงานให้จิตทำอยู่อย่างหนึ่ง
เพราะงานนั้น จะเป็น เอกัคตา
( อารมณ์เดียว ใน จตุตถฌาน )
ดังนั้นต้องไม่ทิ้งลำดับกรรมฐาน


๕.ก่อนออกกรรมฐาน ควรจะเจริญวิปัสสนา
( สำหรับ ระดับ มัชฌิมา อุปัตตา ไม่ต้องทำ )

๖.เมื่อออกจากวิปัสสนา ก็ให้กลับมาที่องค์กรรมฐาน
สักครู่หนึ่ง แล้วจึงอธิษฐานออก


๗.ปฏิบัติตามลำดับการออกกรรมฐาน
ทำการผ่อนส่งลมหายใจเข้าออก
และหยุดนิ่งสามครั้ง แล้วจึงอธิษฐาน
ขอความสำเร็จในพระกรรมฐาน จงมีแก่ข้าพเจ้า


๘.ทำการอุทิศบุญภาวนา ให้แก่ สรรพสัตว์



๙. สวดคาถาพญาไก่เถื่อน ๙ จบ

๑๐. แจ้งกรรมฐานเมื่อครบกำหนด ๑๕ วัน
( ไม่ควรถามหรือส่งอารมณ์ ทุกวันกับครูอาจารย์ )


ธัมมะวังโส ภิกษุ
16 กันยายน 2564