"ภาวนากรรมฐานอย่างไร ประสบความสำเร็จ"

เริ่มโดย kai, ส.ค 05, 2024, 01:59 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

สาระธรรมะวันนี้ "ภาวนากรรมฐานอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ"

อันที่จริงก้ไม่น่าจะต้องตอบเรื่องนี้ ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจ แก่นขอบตนเองคือ ต้องการอะไรจากการภาวนากรรมฐาน อันนั้นคือคำตอบในการปฏิบัติภาวนาโดยตรง ที่ท่่านจะตอบตัวของท่านเองได้ แต่อย่างไรจดหมายที่สอบถามทำนองนี้ก็ยังมีอยู่ไม่ขาดสาย ก็เพราะว่าอาจะจะได้อ่านกระทู้และ หรือมิได้อ่านเพียงต้องการถาม ก็จะขอตอบไว้ในที่นี้สำหรับ จดหมายทำนองนี้ นะจ๊ะ


    ภาวนากรรมฐาน ให้ประสบความสำเร็จ ?

        จะขอตอบอย่าง ในแนวทางที่ตนเองปฏิบัติภาวนาอยู่ เลยก็แล้วกันนะจ๊ะ

    1.ต้องหาเป้าหมาย ในการภาวนาก่อน เช่น คุณต้องการภาวนาเพื่ออะไร ?

        เช่นภาวนาเพื่อ ให้จิตท่านสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน บ้างเป็นบางครั้ง
            ภาวนาเพื่อ สะสมบารมี เพื่อให้จิตมีความพอใจในธรรม
            ภาวนาเพื่อ ลดละกิเลส ให้เบาบางลง
            ภาวนาเพื่อ ให้เกิดความโชคดี ปราศจากโรค
            ภาวนาเพื่อ บรรเทากรรม
            ภาวนาเพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
     
        ทุกท่านต้องตอบคำถาม ตรงส่วนนี้ก่อน , เพื่ออะไร ? เพื่อจะได้มีการวัดผล ว่าท่านปฏิบัติสำเร็จ ตามที่ท่านต้องการหรือไม่ ? หากท่านไม่กำหนดเป้าหมายขึ้นมา ก็ไม่มีทางที่ใครจะตอบปัญหาของท่านได้ ซึ่งแม้ตัวท่านเองก็ตอบปัญหาตัวเองไม่ได้ เช่นกัน

      2.เมื่อกำหนดเป้าหมาย ได้แล้ว ต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในพื้นฐาน ของกรรมฐาน ไม่ว่าท่านจะมีเป้าหมายในกรรมฐานอย่างไร องค์พระกรรมฐาน ก็ต้องมีคุณสมบัติ ของผู้ภาวนาด้วย
          เช่น เป็นคนมีศีล รักษ์ศีล สมาทานศีล
                เป็นคนบำเพ็ญทาน ชอบการบริจาค ชอบสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยทาน
                เป็นผู้ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ไม่ทำกรรม สร้างกรรมที่หนัก
                เป็นต้น
              คุณสมบัติอันนี้ ใครจะเป็นคนให้คำตอบ ก็คือตัวท่านเองที่รู้เท่านั้น ไม่มีใครจะรู้ดีกว่าตัวท่านเอง

      3.เข้าหากัลยาณมิตร เพื่อศึกษาภาวนาวิชากรรมฐาน เนื่องด้วยเราไม่ใช่พระพุทธเจ้าที่จะมาตรัสรู้เองโดยชอบ ดังนั้นต้องเข้าหากัลยาณมิตรเพื่อเข้าศึกษาธรรมเพื่อการรู้ตาม ดังนั้นการเข้าหากัลยาณมิตรจัดได้เลยว่ามีความสำคัญมาก เพราะถ้าเลือกกัลยาณมิตรผิด ก็จะทำให้เสียเวลามาก ดังนั้น ก็ต้องเลือกกัลายณมิตร วิธีเลือกัลยาณมิตร นั้นก็ต้องมีวิธีการดังนี้
          ฟังธรรม จากกัลยาณมิตรที่ต้องการเรียนธรรมด้วย ถึงแม้กัลยาณมิตรนั้นไม่บรรลุธรรมก็สามารถให้เราบรรลุธรรมได้ หากกัลยาณมิตรนั้นยังทรงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ตามพระไตรปิฏก
          สนทนาธรรม การสนทนาธรรมจะทำให้เรารู้พื้นฐานของกัลยาณมิตร เพื่อที่เราจะเรียนธรรมด้วย
          พิจารณาใคร่ครวญในธรรม ที่กัลยาณมิตรได้แสดงไว้

      4.เข้าภาวนา อาศัย อิทธิบาท 4 เป็นคุณเครื่องสนับสนุน
          ฉันทะ คือ ความพอใจ ในการภาวนา มีได้เมื่อทำกรรมฐาน เพราะผู้ที่ภาวนากรรมฐานได้จริงจะเกิด ฉันทะ และ ปราโมทย์ ในกรรมฐาน
          วิริยะ เมื่อ ฉันทะัและปราโมทย์เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องพากเพียรด้วยความสม่ำเสมอ รักษาจิตที่ปราณีตอันเกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ต่อไป มีคำกล่าวว่า กว่า จะได้ สิ่งที่ชอบมาก็เป็นการยาก แต่มาได้สิ่งนั้นมาแล้ว การรักษาสิ่งนั้นให้อยู่กับเราต่อไป กลับยากเสียยิ่งกว่า ฉันใดก็ดี ฉันทะและปราโมทย์ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องภาวนารักษา กุศลของฉันทะและปราโมทย์ ให้คงอยู่ด้วยการทำอย่างสม่ำเสมอ
          จิตตะ คือความมุ่งมั่น ในการภาวนาปณิธานในการภาวนาก็เกี่ยวข้องกัน หากท่านใดไม่มีปณิธานมาแต่เิริ่มก็๋จะเข้าทางตัน อันที่จริงการให้ความหมายว่า มุ่งมั่นยังไม่ชัดเจน แต่ คำว่า จิตตะ นี้แท้ที่จริงในการภาวนาก็คือ คุณเครื่องเข้าใจ สภาวะการภาวนา นั้นอยู่ที่สภาวะจิต ของผู้ภาวนา การที่จะบรรลุธรรมได้นั้น มีการเข้าถึงสภาวะ ประมาณนี้นะจ๊ะ

          คือ สามารถแยก รูป และ นาม เข้าใจอะไรว่า คือ รูป เข้าใจว่าอะไร ก็นาม
              สามารถเข้าผสานกันระว่าง รูป และ นาม นาม มิแยกจากรูป รูป มิได้แยกจากนาม การเข้าถึงสัมปยุตธาตุ อยู่ตรงนี้ ดังนั้นผู้ฝึกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงต้องฝึก จิต พร้อมกับกำหนดธาตุ ตั้งแต่พระธรรมปีติเป็นต้น โดยเริ่มจากการกำหนดพื้นฐาน คือ ธาตุดิน เป็นต้น ตรงนี้จัดเป็นจัดญาณอย่างอ่อนเรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ถ้าภาวนากรรมฐานในพระพุทธศาสนาถูกทาง ก็จะมีเกิดขึ้นเองตามเป้าหมายการภาวนา
              สามารถเข้าถึงสภาวะธรรม เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ เสื่อมไป เรียกว่าเห็นตามความเป็นจริง คนที่จะฝึกมาถึงเห็นสภาวะนี้ได้ก้ต้องประสานรวมตัวระหว่าง นาม กับ รูป แม้จะแยก รูป นาม ได้ แต่รูปนามจะมีสาระได้ รูปกับนามก็ต้องรวมอยู่ด้วยกัน ถ้ามีแต่รูปก็ไม่มีชีิวิต ถ้ามีแต่นามก็ไม่มีชีิวิต ดังนั้นการรวมรูปกับนาม จึงมีหลังจากแยก นามและรูปได้ ตรงนี้จัดเป็นวิปัสสนาด้วย เรียกว่า ปัจจยปริคหญาณ
              สามารถเข้าถึงสภาวะธรรม ที่ปล่อยวาง เรียกว่า นิพพิทาญาณ เป็นต้น มาถึงตรงนี้เรียกว่า สัมปยุตธรรมเป็นเพราะญาณนี้มองเห็นตามความเป็นจริง ได้อย่่างคล่องแคล่ว จึงคลายความสงสัย เรื่อง เรามี หรือ มีเรา เราเป็นเจ้าของ หรือใครเป็นเจ้า เรื่องอัตตา ว่าเรา ๆ มันจะแล่นเข้าสู่ใจอย่างแท้จริง ดวงตาเห็นธรรมเกิดขึ้นแล้ว นี่แหละถ้าท่านเข้าถึง สภาวะธรรมที่เริียกว่า จิตตะ คือฝักใฝ่ มุ่งมั่น....... ( นามธรรมล้วน ๆ )
              จากตรงนี้ไปยังมีอีก แต่ยังไม่ขอกล่าวกับผู้ที่เริ่มต้นและกำลังภาวนาอยู่ในระดับกลาง นะจ๊ะ แต่ทั้งหมดนี้คือความของคำว่า จิตตะ

        จิตตะ จึงหมายถึงอิทธิบาท ที่จิตฝักใฝ่แน่วแน่ ในปณิธานในการภาวนา ไม่ล้มเลิก ไม่หนีหาย ไม่ละทิ้ง เพราะ จิตตะ นี่แหละเป็นธรรมสนับสนุน วิริยะ และจิตตะ ก็คือ นามธรรมที่ควรเข้าถึง เรียกว่า จิตล้วน ๆ หน้าที่ของเราที่มีต่อการภาวนาก็คือ เข้าถึงสภาวะธรรมของจิตล้วนๆ  จิต แยกกายชัดเจน และ มีแต่จิตเท่านั้นที่จะพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดนี้ไปได้
       
        วิมังสา การตรึกตรองในองค์ภาวนาให้มากขึ้น การทบทวน องค์ภาวนาให้มากขึ้น เมื่อได้เข้าถึงก็ทบทวนการเข้าถึง เมื่อรู้แจ้งก็ยิ่งต้องทบทวนการรู้แจ้ง ยิ่งมองเห็นอริยสัจจะทั้ง 4 แล้วด้วยก็ต้องทบทวน ดังนั้น วิมังสา ไม่ใช่แค่ตริตรอง แต่หมายถึงการทบทวนการภาวนา ที่ำทำได้ และ ทำไม่ได้ เพราะอะไรเป็น เหตุ ทำไม จึงมี ผล อย่างนี้ ก็ต้องทบทวน เมื่อทบทวนได้แล้ว ก็จะทราบความจริงที่เป็นแก่นแท้ ของการภาวนาได้ ดังนั้น วิมังสา ใช่การใช้ความคิด ปรุงแต่ง แต่หมายถึง ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไต่ตรองในความจริง ที่เกิดขึ้นจากการภาวนา

        ดังนั้น อิทธิบาท ไม่ใช่คุณเครื่องของปุถุชนทั่วไป แต่ อิทธิบาท นั้นหมายถึง คุณฤทฺธิ์ ของผู้ภาวนาอิทธิบาท จะมีได้ต้องภาวนา เมื่อท่าน ฉันทะและปราโมทย์ นัั่นแหละจึงจะเข้าสู่ วิถี ของ อิทธิบาททีั้ง 4
เนื่องด้วยปัจจุบัน บุคคลเข้าใจ อิทธิบาทแบบปุถุชน ผู้ที่มิได้การภาวนาอธิบายคุณฤทธิ์ ส่วนนี้ไม่ถูกต้อง ดังนั้น อิทธิบาท ยังมีอิทธิคุณ ที่แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงสำแดง ไว้ในพระสูตรว่า ผู้มีอิทธิบาทปรารถนาอายุ ย่อมได้อายุ เป็นต้น ดังนั้นท่านทั้งหลาย โปรดทบทวน อิทธิบาท ทั้ง 4 ในการภาวนาด้วยอย่างที่อธิบายนี้ เถิด

      5.ส่งเสริม คุณธรรมพื้นฐาน เพื่อการภาวนา
          ผู้ภาวนามิใช่ว่า จะภาวนาในองค์กรรมฐาน อย่างเดียว การส่งเสิรมคุณธรรมพื้นฐาน ก็มีความสำคัญเพราะอุปนิสัย ที่ใฝ่ธรรมจะมีได้ก็ต้องส่งเสริมคุึณธรรมพื้นฐาน เช่น การแสดงความเคารพ ต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ การบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นต้น เหล่านี้เรียกว่าการส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐาน

      แสดงไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนเพราะเป็นที่ลำบากในการพิมพ์ เอาเพียงพอประมาณนะจ๊ะ

      เจริญธรรม
      24 กุมภาพันธ์ 2555