สมาธิสูตร อีกสูตร หนึ่ง ที่ชี้ให้เราวิธีการเห็นตามความเป็นจริง

เริ่มโดย kai, ก.ค 29, 2024, 09:36 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค 
[๑.ขันธสังยุต]
   
มูลปัณณาสก์  ๑.นกุลปิตุวรรค  ๕.สมาธิสูตร

๕. สมาธิสูตร
   ว่าด้วยสมาธิ
   [๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
           
      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน   
      อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
      เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น
      พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
 
      "ภิกษุทั้งหลาย"   
      ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว   
      พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

      "ภิกษุทั้งหลาย   
      เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด   
      ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
      รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง

      คือ ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป     
      ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
      ความเกิดและความดับแห่งสัญญา   
      ความเกิดและความดับแห่งสังขาร   
      ความเกิดและ ความดับแห่งวิญญาณ

      อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป   
      อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา   
      อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา   
      อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร   
      อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ

      คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพลิดเพลิน เชยชม ยึดติด
         ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดอะไรเล่า
 
      คือ ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป   
         เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดรูป   
         ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น   
         ความเพลิดเพลินในรูปเป็นอุปาทาน   
         เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี   
         เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี   
         เพราะชาติเป็นปัจจัย
         ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์  โทมนัส   
         และอุปายาสจึงมี   
         ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
         มีได้ด้วยประการอย่างนี้

            ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดเวทนา ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสัญญา ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดสังขาร ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดวิญญาณ

        เมื่อเธอเพลิดเพลิน เชยชม  ยึดติดวิญญาณ   
        ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น   
        ความเพลิดเพลินในวิญญาณเป็นอุปาทาน
        เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ภพจึงมี   
        เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี  ฯลฯ
        ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
        มีได้ด้วยประการอย่างนี้

        ภิกษุทั้งหลาย
        นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป   
        นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา   
        นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญา   
        นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขาร   
        นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ

        อะไรเป็นความดับแห่งรูป  ... 
        แห่งเวทนา ฯลฯ   
        แห่งสัญญา ฯลฯ
        แห่งสังขาร   

        อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ
        คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพลิดเพลิน   
        ไม่เชยชม  ไม่ยึดติด

        ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดอะไรเล่า
        คือ  ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดรูป   
        เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชมไม่ยึดติดรูป   
        ความเพลิดเพลินในรูปจึงดับ   
        เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับอุปาทานจึงดับ   
        เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ  ฯลฯ   
        ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

        ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม  ไม่ยึดติดเวทนา   
        เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม  ไม่ยึดติดเวทนา   
        ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงดับ   
        เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ   
        เพราะอุปาทานดับ  ภพจึงดับ  ฯลฯ   
        ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

        ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสัญญา ฯลฯ
        ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดสังขาร   
        เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชมไม่ยึดติดสังขาร   
        ความเพลิดเพลินในสังขารจึงดับ   
        เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ   
        เพราะอุปาทานดับ  ภพจึงดับ ฯลฯ   
        ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

        ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ   
        เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน  ไม่เชยชม ไม่ยึดติดวิญญาณ   
        ความเพลิดเพลินในวิญญาณจึงดับ   
        เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ   
        ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้

       ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความดับแห่งรูป   
       นี้เป็นความดับแห่งเวทนา   
       นี้เป็นความดับแห่งสัญญา   
       นี้เป็นความดับแห่งสังขาร   
       นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ"

                  สมาธิสูตรที่ ๕ จบ


   อำนาจ สมาธิ กับการมองเห็นตามความเป็นจริง
อีกสูตรหนึ่ง เมื่ออำนาจสมาธิปรากฏ อริยมรรคมีองค์ 8
ก็สมบูรณ์ จิตจึงมองเห็นตามความเป็นจริงได้
เห็นได้มาก ก็เข้าใจได้มาก  เข้าใจได้มาก
ก็ละอุปาทานได้มาก ละอุปาทานได้มาก
ก็คลายตัณหาได้มาก คลายตัณหาได้มาก
ก็หลุดพ้นได้มาก หลุดพ้นได้มาก ก็บรรลุธรรมได้ไว

 เจริญธรรม
27 มกราคม 2555