ปฏิบัติกรรมฐาน ไม่กำหนด พุทโธ ปล่อยให้จิต นิ่ง ๆ อยู่อย่างนั้นได้หรือไม่

เริ่มโดย kai, ก.ค 17, 2024, 08:33 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ปุจฉา

"ผมปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่กำหนด พุทโธ
เพียงแต่ปล่อยให้จิต นิ่ง ๆ ด้วยการเพ่งดูอยู่อย่างนั้น
จัดเป็นการฝึกสมาธิ หรือไม่ครับ
หรือควรปรับปรุงอย่างไร โปรดชี้แนะด้วยครับ"


วิสัชชนา

      การปฏิบัติสมาธิ
ถามว่า ไม่กำหนด พุทโธ ได้หรือไม่ ?
ก็ตอบว่าได้นะจ๊ะ เพราะการฝึกจิตให้เป็นสมาธินั้น
มีตั้งหลายแบบ แต่ถ้าจะให้ตอบว่าแล้ว
แต่ละแบบนั้น จะรู้ได้อย่างไร
ว่าฝึกแล้วเป็นองค์แห่งสมาธิ

      รู้ได้ดังนี้ เมื่อเราฝึกสมาธิ
ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ ค่ายไหน ศาสนาไหน
ถ้าฝึกแล้วมีองค์ 5 ประการครบถ้วน
ก็ชื่อว่า  ฝึกสมาธิ องค์ 5 มีอย่างไร ?

    องค์ 5 ของสมาธิ มีดังนี้

      1.  องค์แห่ง วิตก หมายถึง
การที่เรายกอารมณ์ให้จิต มีที่กำหนด
เช่น การกำหนด บริกรรมที่ตั้งฐานจิต ต่าง ๆ นั้นเรียกว่า วิตก
ในกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มี 3 ประการ
คือ ปัคคาหะนิมิต 1
บริกรรมนิมิต 1
อุเบกขานิมิต 1
ทั้ง 3 ประการนี้เรียกว่า วิตก


      2. องค์แห่ง วิจาร หมายถึง
ความชำนาญในนิมิตทั้ง 3 วิธีการสัมปยุต
ใน วิตก จัดเป็น ผลสมาธิ เบื้องต้น
ในที่นี้ หมายถึง นิมิตทั้ง 3
สำหรับบุคคลที่เริ่มฝึก อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต

      3. องค์แห่ง ปีติ หมายถึง
ความพอใจ อิ่มใจ ร่าเริงใจ บันเทิงใจ
ในองค์แห่งนิมิต เป็นผลแห่งสมาธิ ระดับกลาง

      4.องค์แห่ง สุข หมายถึง
สุขทิพย์ อันเนื่องด้วยสมาธิ
เป็นสุขที่ปราศจากกิเลสเบื้องต้น
คือระงับจากนิวรณ์ ทั้ง 5 ประการ
มี กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจะกุกุกจะ วิจิกิจฉา

เข้าสู่สมาธิระดับกลางขั้นประณีต
เป็นอุปปจาระสมาธิ เต็มขั้น
มีอุคคหนิมิตเป็นอารมณ์ ขั้นต่ำ

      5.องค์แห่ง เอกัคคตา หมายถึง
จิตพัฒนาเป็นสมาธิขั้นสูง เป็นอัปปนาสมาธิ
มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์

    ผู้ที่ฝึกสมาธิ ย่อมเข้าองค์แห่งสมาธิตามลำดับที่กล่าวมา เมื่อเข้าสู่วิถึแห่งองค์สมาธิตามนั้น ก็ชื่อว่าฝึกสมาธิ

    ส่วนวิธีการ ปล่อยจิตให้นิ่ง
สำหรับอาตมามีความเห็นว่า
ยังอยู่ในขั้นปล่อยวางจิต อยู่ยังไม่เรียกว่าสมาธิ นะจ๊ะ

    เจริญธรรม
27 ธันวาคม 2554