กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 14 ( ธัมมะวังโส )

เริ่มโดย kai, ก.ค 15, 2024, 10:19 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai



กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 14

4.มัคคามัคคะญาณ
ญาณที่เป็นเหตุให้เป็น พระอริยบุคคล ลำดับต่าง ๆ ในที่นี้ก็คือ วิธีการละสังโยชน์ นั่นเอง

อริยมรรค หนทางสู่การเป็นพระอริยะ
( ผู้ สิ้นทุกข์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ) มีองค์ 8
•  1.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง หมายเห็นรู้และเข้าใจ อริยสัจจะ 4
•  2.สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง หมายถึง สังวร 4
•  3.สัมมากัมมันตะ ความทำการงานถูกต้อง  หมายถึง เป็นผู้มีกายกรรม 3
•  4.สัมมาวาจา ความพูดจาถูกต้อง หมายถึง เป็นผู้มีวจีกรรม 4
•  5.สัมมาอาชีวะ ความประกอบการเลี้ยงชีพอย่างสุจริต  หมายถึง อาชีวปาริสุทธิศีล
•  6.สัมมาวายามะ ความพากเพียรถูกต้อง หมายถึง อิทธิบาท 4
•  7.สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง หมายถึง การระลึกรู้รูป นาม หรือ สติปัฏฐาน 4
•  8.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง หมายถึง ปฐมฌาน เป็นต้นไป

ดังนั้น การกำหนด สติ รู้ นั้น เป็น วิปัสสนา ที่สำคัญ จัดเข้าไว้ใน สติปัฏฐาน ทั้ง 4 ซึ่งผู้ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติย่อมถึง ซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับรองไว้ว่า ขั้นต่ำ ก็เป็นพระอนาคามี ขั้นสูง ก็จักได้เป็นพระอรหันต์ ซึ่งย่อมถึงได้ เร็วสุด ภายใน 7 วัน อย่างช้าก็ 7 ปี ซึ่งการเจริญสติปัฏฐาน ทั้ง 4 นั้นไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ แบบอภิญญา ก็ต้องเจริญ แบบนี้ แต่อารมณ์ที่ใช้จะเป็นอารมณ์ ที่ละเอียดกว่า พระอรหันต์ แบบสุกขะวิปัสสก  ต่างกันเพียง ผลสมาบัติ จะมีได้ในพระอรหันต์ สุกขะวิปัสสก ส่วน นิโรธสมาบัติ นั้นจะมีได้ในพระอรหันต์ แบบอภิญญา ที่จริงแล้ว การเข้าถึงนิพพาน เป็นเรื่องสำคัญมากกว่า การที่เราจะมัวมาสนใจเรื่อง ฤทธิ์ เพราะ ฤทธิ์ มีไว้ใช้ได้ เพียงช่วงที่มีชีวิตอยู่ในโลก มนุษย์ เท่านั้น
อานิสงค์ ของการเจริญ วิปัสสนา ตั้งแต่เบื้องต้น ถึง เบื้องปลาย มีพระอริยะเถระท่านพรรณนาไว้ดังนี้

1.กันโง่ เพราะมีสติ  สติ เป็นคู่ปรับ ของโมหะ
2.เป็นมหากุศล คือเป็นบุญ ทุก  ๆ ขณะ ที่ลงมือปฏิบัติ เพราะมีทั้ง ศีล สมาธิ และ ปัญญา
3.เป็นคนไม่ประมาท เพราะมีการระลึกได้ อยู่ กับรูป และ นาม
4.มีสติ ตั้งมั่น ดี ทั้งในยามปกติ และ เวลา ใกล้จะตาย
5.ได้บำเพ็ญ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ไป พร้อมกัน
6.ได้เดินทางสายกลาง คือ อริยมรรค 8
7.ได้ปฏิบัติ ตามพระพุทธโอวาท  เป็นพระสาวกภูมิ
8.ได้เดินทาง สายเอก คือ หนึ่งไม่มี สอง เอกายะนะมรรค
9.ทำตนให้ฉลาด ให้รู้หลักความจริง ให้รู้จักใช้ชีวิตประจำวัน
10.ทำตนให้รู้จักปรมัตถะธรรม ไม่หลงติดอยู่ ในบัญญัติธรรม อันเป็นเพียงโลกสมบัติ
11.ทำให้คนมีศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม
12.ทำคนให้รักใคร่กัน สนิทสนมกลมกลืนกัน เข้ากันได้
13.ทำคนให้มีเมตตากรุณาต่อกัน เอ็นดูกัน สงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
14.ทำคนให้เป็นคน ทำคนให้ดีกว่าคน ทำคนให้เป็นเลิศ
15.ทำคนให้ไม่เบียดเบียนกัน ทำคนไม่ให้เอารัดเอาเปรียบ ซึ่งกันและกัน
16.ทำคนให้หมด สังโยชน์ 10 ได้