กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 10 ( ธัมมะวังโส )

เริ่มโดย kai, ก.ค 15, 2024, 10:09 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai



กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 10

10 - 7.ปะฏิสังขานุปัสสะนาญาณ
ญาณอันรู้แจ้ง เข้าไปกำหนดเฉพาะสังขาร คือ ขันธ์ 5 มากำหนดพิจารณา ตามหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

สัญญา 10 เพราะท่านบอกว่ากันสัญญาวิปลาสได้ ช่วงนี้ก็เลยไม่เข้าใจ อยู่บ้าง เพราะการดับสัญญาน่าจะเป็นเรื่องถูก แต่ท่านมาสอนให้เรามีสัญญา10 ให้ผมอีก แต่ด้วยความเคารพในท่านผมก็จึงตั้งใจฟังอย่างดี ท่านก็ให้ผมฟังและท่อง บอกว่าถ้าจำไม่ได้ให้ไปดูในหนังสือหมวดธรรม สัญญา 10 มีดังนี้ครับ

  1.อนิจจะสัญญา
  2.อนัตตะสัญญา
  3.อสุภะสัญญา
  4.อาทีนวะสัญญา
  5.ปหานสัญญา
  6.วิราคะสัญญา
  7.นิโรธะสัญญา
  8.สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา
  9.สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐะสัญญา
  10.อานาปานัสสติ

โดยท่านได้อธิบาย ดังนี้
1.อนิจจะสัญญา 
เป็นสัญญา ที่ยก ขันธ์ 5 ขึ้นมาพิจารณา ว่าไม่เที่ยงเพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่นว่า ขันธ์เป็นของเที่ยง ในที่นี้ท่านกล่าวว่า จุดประสงค์ ให้ทำลาย ขันธ์ 5 เบื้องต้น

2.อะนัตตะสัญญา
เป็นสัญญา ที่ยกอายตนะภายใน 6 และ อายตนะภายนอก 6  โดยยกอารมณ์ดูที่ผัสสะ ที่เกิด ให้มองเห็น อนัตตา ในที่นี้ท่านกล่าวว่า ไว้ทำลาย นามขันธ์  เป็นเบื้องต้น

3.อสุภะสัญญา
เป็นสัญญาที่ ท่านยก คืออาการ 32 อันมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ฯล ฯ เป็นต้น ขึ้นมาพิจารณา ความเป็นของไม่งาม ไม่สวย จุดประสงค์เพื่อทำลายสังโยชน์ 5 ข้อ

4.อาทีนะวะสัญญา
เป็นสัญญา ที่ท่านกล่าวถึง โรค และ เหตุ เกิดโรค โดยพิจารณาให้เห็นโทษแห่งร่างกาย เพื่อทำลายความยึดมั่น ถือมั่น และ เบื่อหน่าย ต่อสังขาร และ เห็นสังขารเป็นตามจริง จุดประสงค์เวลาป่วยหรือใช้ชีวิตจะไม่เป็นทุกข์ทางกาย

5.ปหานะสัญญา
เป็นสัญญา ที่ท่านกล่าวถึง กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก และ อกุศลกรรมทั้งปวง โดยทำความสำเหนียก ว่า ไม่ยินดี ด้วยอารมณ์ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้น ย่อมทำให้ถึงซึ่งความไม่มี ไปจากใจ ของผู้เจริญสัญญานี้

6.วิราคะสัญญา
เป็นสัญญา ที่ท่านกล่าวถึง ธรรมที่เป็นเหตุให้อุปธิทั้งปวง และธรรมที่ทำให้ตัณหา สิ้นไป โดยการเจริญปัญญาอย่างมุ่งมั่น ที่จะทำลายกิเลสให้สิ้นไป

7.นิโรธะสัญญา
เป็นสัญญา ที่ท่านกล่าวถึง ความสงัดจากกิเลสเครื่องร้อยรัด เป็นธรรมชาติอันประณีต เป็นธรรมชาติที่ถึงซึ่งความดับไม่เหลือ เป็นอารมณ์ที่ให้ใช้ภาวนาไปจนสิ้นชีพ

8.สัพพะ โลเก อะนะภิระตะ สัญญา
เป็นสัญญา ท่านกล่าวยก อุปายะ และ อุปาทาน เป็นองค์ภาวนา โดยอาการเจริญ สติ และ ปัญญา ด้วยอาการ งดเว้น และ ไม่ถือมั่น

9.สัพพะสังขาเรสุ อะนิฏฐะสัญญา
เป็นสัญญา ที่ท่านให้ยก สังขาร ทั้งปวง โดยการเจริญภาวนา เห็นสังขารทั้งปวงเป็นความอึดอัด  น่าระอา และเกลียดชัง

10.อานาปานัสสติ ของผู้เจริญวิปัสสนา ย่อมเกิดเป็นลำดับ ตาม 16 ขั้นตอนนี้ เป็นอารมณ์ ที่ควรบ่มบำเพ็ญ ซึ่งต่างจาก อานาปานสติ ที่ผมเรียนครั้งแรกในสาย สมถกัมมัฏฐาน ในครั้งแรกอย่างมากเพราะผมพิจารณา ดูแล้วก็คล้ายจะเป็น สติ ปัฏฐาน 4 (โดยความเข้าใจเป็นส่วนตัว )

•  เป็นผู้มีสติ หายใจ เข้า และ หายใจ ออก
•  หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็มีสติ รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว และ หายใจออกยาว
•  หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็มีสติ รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น และ หายใจออกสั้น
•  ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนด รู้กายทั้งปวง จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตสังขาร จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักระงับ จิตตสังขาร จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง จักหายใจเข้า และหายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด จักหายใจเข้า และหายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณเห็น โดยความดับสนิท จักหายใจเข้า และ หายใจออก
•  ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน จักหายใจเข้า และ หายใจออก จนสิ้นชีพ