กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 8 ( ธัมมะวังโส )

เริ่มโดย kai, ก.ค 15, 2024, 10:04 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai



กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 8

8 - 5.นิพพิทานุปัสสะนาญาณ
ญาณอันรู้แจ้ง ถึงความเหนื่อยหน่าย
ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป ซึ่งมีผล ให้เกิดความไม่เพลิดเพลิน หรือ ยินดี ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป

เมื่อเรามีจิตที่เบื่อหน่าย ต่อสังสารวัฏแล้ว
ให้ยกอารมณ์ขึ้นสู่ธรรม
ก็จะเข้าสู่ธรรมได้เร็ว
การยกอารมณ์เข้าสู่ธรรมนั้นขั้นตอนมีดังนี้

        1.สติสัมโพชฌงค์ กำหนดสติ ให้รู้จัก กาย และ ใจ  มีสติกำหนดรู้ตัวทั่วพร้อม ในขันธ์ 5 จนกระทั่งเข้าสู่ความที่รู้จัก จิต และจิตมีอารมณ์ต้องการเปลื้องออกด้วยเหตุใดให้รักษาอารมณ์นั้นเป็นสติ และ นำผลที่เป็นเหตุให้ใจกวัดแกว่ง มีอาการต่าง  ๆ ดำเนินพิจารณาตาม องค์ที่ 2 ด้วยการหาเหตุ และดับเหตุ ( สำหรับผมใช้อารมณ์ คือ ปีติ อันมีแต่ใน ฌาน ขึ้นพิจารณา ว่าปีติ มีเพราะเหตุใด ความหลงใหลเกิดขึ้นเพราะเหตุใด และจะดับความหลงใหลนั้นด้วยเหตุใด )
      2.ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ กำหนดจิตที่ต้องการเปลื้องด้วยการหาสาเหตุ ตามอริยสัจจะ ทั้ง 4 จิตที่เป็นทุกข์ มาจากอะไร เมื่อจิตที่เป็นทุกข์สามารถเข้าใจเหตุแห่งทุกข์ได้ ย่อมเป็นจิตที่ฉลาด เป็นจิตที่พร้อมจะรู้แจ้ง ในที่นี้ ท่านกล่าวหลักของปฏิจจสมุปบาท ทั้ง 12 อันเป็นฝ่ายกิเลส คือ เริ่มต้นจากทุกข์ ย้อนกลับมาที่ สมุทัย ( สำหรับคนที่คิดไม่ออกว่าจะเริ่มอย่างไร เพราะทำลัดขั้นตอน คือ มาใช้ ธรรม ใน ธรรม เป็นองค์สุดท้ายในการปฏิบัติ ) และ เริ่มจาก นิโรธ กลับมา ที่ มรรค อย่างไร ให้จดจำไว้ และทำไว้ในใจอย่างแยบคาย และ  เตือนใจตนเองอย่างสม่ำเสมอ ( สำหรับผมนั้นเมื่อพิจารณาหาเหตุใน ปีติ อันมีสุข ที่ได้สัมผัส และ มีความนิ่ง ที่ได้รู้จัก ย้อนกลับเห็นว่าแม้จิตจะนิ่งเพียงใด เมื่อเราไม่ได้อยู่ในสภาวะ แห่ง ฌาน จิตไม่ฉลาด ก็มีความทุกข์เกิดขึ้นได้ มีอารมณ์ขึ้นได้ แม้อยู่ในฌาน ก็ยิ่งมีอารมณ์ ห่วงจิตคือความสุข ย่อมทำจิตให้บันเทิง และ หลงใหล ต่อสภาพจิต ที่นิ่งอันมีปีติ เป็นที่เริ่มแห่งความสุข ซึ่งตามพิจารณา ก็เห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นสิ่งไม่มีตัวและตน )

        3.วิริยะสัมโพชฌงค์ เมื่อได้องค์ธรรม ที่เกิดขึ้น และเข้าใจสาเหตุ และ ผล แล้ว ให้กระทำความเพียรโดยการหมั่น เตือน หมั่นภาวนา หมั่นเจริญ ธรรม องค์นั้นให้ทำลายกิเลส ให้เบาบาง ให้เหือดหาย ให้แจ่มแจ้ง ด้วยความฉลาด จนกระทั่ง ทำลายสัญญา ที่มีทั้งหมด  ดังนั้นเมื่อมาถึงการทำวิริยะ สัมโพชฌงค์ จะให้ใช้ เพียงใจคิดไม่ได้ ต้องทำให้เกิดความสมบูรณ์ ทั้งทางกาย และ วาจา และใจ ท่านสรุปลงไปว่า ทำให้สมบูรณ์ ด้วย ศีล ด้วยสมาธิ  ด้วยปัญญา โดยทำที่เราเท่านั้น ไม่ได้ให้ไปทำที่บุคคลอื่น ๆ เมื่อเราเจริญกระทำอยู่อย่างนี้ แล้วท่านกล่าวว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสว่า ผู้กระทำความเพียรด้วยเหตุ แห่ง สติ อันมี ธัมมวิจยะ เป็นผู้นำ ย่อมสำเร็จเป็นผู้บรรลุธรรมอันสูงสุด ภายใน  7 วัน 7 เดือน และ 7 ปี อย่างน้อยความเป็นพระอริยบุคคล จะถึงขั้นต่ำคือเป็นพระอนาคามี ก็อย่างนี้  ท่านกล่าวว่าหัวข้อธรรมที่เหลือคือ ( สำหรับผมผู้ปฏิบัติ เมื่ออยู่ในฌาน ย่อมเพียรพิจารณา เหตุ และ ผล อันมีปีติ เป็นที่ตั้ง พิจารณาถึงความเกิดดับ ด้วยเวทนาจิต  และ สัญญา อย่างนั้นจนถึง ขั้น เห็น จิต ตั้งขึ้น และ จิตนั้นดับลง ไปและ........อธิบายไม่ได้ ต้องลองทำเอง )

      4.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความที่จิตเริ่มยินดีเข้าไปสงบระงับจากกิเลส ( สำหรับผมเมื่อจิตที่อยู่ใน ฌาน ไม่เห็นแม้ ฌาน ที่อยู่นั้น ก็มีภาวะ ที่ไม่น่ายึดถือ ควรละทิ้งด้วยอาการแห่งจิต แต่ไม่ได้ออกจากการทำ ฌาน ลักษณะเหมือนเราต้องทานอาหาร แต่มีการปัจจเวกคือพิจารณา ว่าเป็นธาตุ เป็นปัจจัยให้อัตตภาพยังอยู่ได้ ฉันใดก็ดี การทิ้งฌาน มิใช่การไม่ปฏิบัติในฌาน เพียงแต่ทรงอารมณ์อยู่ด้วยอารมณ์แห่งจิตว่า อยู่ในฌานเพื่ออะไร เป็นอย่างใด เพียงแต่จิต... อธิบายไม่ได้ ต้องลองทำเอง )
      5.ปีติสัมโพชฌงค์ คือความอิ่มเอิบด้วยความที่ใจเข้าระงับจากกิเลส ( สำหรับผมเรียกว่า ปีติ ใน ปีติ ย่อมเกิดจากปีติ ที่ตั้งเป็นอารมณ์ปัจจเวก และ เกิดปีติ อันเป็นผลจากการปัจจเวก  ซึ่งอาการนี้พระพุทธองค์ ทรงตรัสเรียกว่า เห็น ธรรมในจิต ใน จิต คือความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไปในจิต )

      6.สมาธิสัมโพชฌงค์  คือความที่จิตเป็นสมาธิ  ตั้งมั่นด้วยอำนาจแห่งการสงัดจากกิเลสทั้งปวง  ( สำหรับผมนั้น  สมาธิ ที่แท้จริงอยู่ตรงนี้ เป็นสมาธิ ที่ไม่มีกระบวนท่า และเป็นสมาธิ ที่พร้อมตลอดเวลา เป็นสมาธิที่ลืมตาก็ได้ และ หลับตาก็ได้  เป็นสมาธิที่ปัจจุบันชอบทรงไว้ ยิ่งกว่าการทรงฌาน เพราะทำให้สงัดจากกิเลส )

      7.อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือความปล่อย วางจิต คืออะไรไม่รู้ อยากรู้ให้ดำเนินตามองค์ธรรม 3 ข้อแรกคือ 1.สติ 2.ธรรมะวิจยะ 3.วิริยะ ให้อย่างฉลาด คำว่าฉลาดคือให้ดำเนิน กาย วาจา และ ใจ ไปตามทางสายกลาง เมื่อเราดำเนินจิต มาจนถึง จิต ใน จิต แล้ว ให้เราพึงตั้งองค์ ภาวนาต่อไปดังนี้