กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 6 ( ธัมมะวังโส )

เริ่มโดย kai, ก.ค 15, 2024, 09:59 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai



กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 6

6 - 3.ภะยะตูปัฏฐานะญาณ
ญาณอันรู้แจ้งถึงความน่ากลัว ของความแตกสลายไป แล้ว
ย่อมเวียนว่ายตายเกิด และมองเห็นภัยในวัฏฏะเป็นสิ่งน่ากลัว

กาย ใน กาย มีหัวข้อสำคัญ คือ  อิริยาปถบรรพะ สัมปชัญญะบรรพะ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ธาตุมนสิการบรรพ นวสีวถิกาบรรพ โดยยกขันธ์ 5 ขึ้นมาเป็นอารมณ์ โดยเฉพาะ รูปขันธ์ ที่ต้องให้เรามองให้เห็นตามความเป็นจริง ภายใต้ กฎแห่งธรรมชาติ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในหัวข้อนี้มุ่งหมายให้รู้จัก กายรูป และ ทำลายความมั่นหมายสำคัญว่าเรามีใน กายรูป  โดยเฉพาะความสำคัญของลมหายใจเข้าและออก สิ่งที่ผมมองเห็นจากการพิจารณาตรงนี้ ทำให้รู้ความสำคัญทางอารมณ์ดังนี้ 1.รู้ความสำคัญของ ลมหายใจ เข้า ออก และเป็นที่พึ่งปฏิบัติไปจนถึงขั้นสุดท้าย 2.รู้จักและเห็น ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของ การเคลื่อนไหวต่าง ๆ  3.รู้ถึงความจำเป็น และ ไม่จำเป็น หน้าที่ ของอวัยวะต่าง ๆ 4.มองเห็นว่าร่างกาย ที่เรียกว่า เรา เป็นที่ประกอบ ที่รวมของธาตุ ต่าง ๆ 4.มองเห็นความเกิดทางร่างกาย อิริยาบถ ธาตุ  และ ความเสื่อมขึ้นไปของร่างกาย 5.มองเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของไม่งาม เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล น่าเกลียด เป็นที่น่าสังเวชแม้แต่เราเอง ไม่ว่าจะเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำเลือด น้ำหนอง  6.ในฐานะผู้เป็นเจ้าบ้านแห่งกายอันยับเยินอยู่ด้วย ไตรลักษณ์ อันมีโรคต่าง ๆ คอยรุมเร้า ให้ไม่สบายกายนั้น ก็ยังต้องใช้ลมหายใจ เป็นเครื่องเชิดชู ให้มีชีวิต และเป็นที่อาศัย ของจิต ในการปฏิบัติธรรมต่อไป หรืออีกนัยหนึ่ง ไม่ว่ากายฉันที่สกปรก แสนเลว น่าเกลียดนี้เพียงใด ในใจก็ต้องตั้งสติไว้ว่า  จิตนี้เป็นเพียงแต่ผู้อาศัยกาย อันมีความตายเป็นที่สุด สกปรกเพื่อดำรงชีวิต จนกว่าจะหมดสิ้นลมหายใจ 8.อารมณ์ใจที่เคย หลง รัก คนนี้ คนนั้น พาลหมดไปด้วย เพราะเห็นร่างกายผู้อื่น ก็เป็นเช่นเดียวกับเรา แถมยังมีอารมณ์ลึกต่อไปว่า จะโกรธ จะเคืองกันทำไม ในเมื่ออัตภาพของเราก็ ทุกข์ ลำบาก ลำบนอยู่เช่นนี้ คนอื่นก็มีอัตภาพ และทุกข์ไม่ต่างไปจากเรา 9.เกิดการงดเว้น พระท่านเรียกว่า วิรัติ ขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น กับมากินอาหารเพียงมื้อเดียว งดการเสพเมถุน งดการประดับประดาตกแต่งร่างกาย แหวน สร้อยคอ สิ่งมีค่าอันเป็นความฟุ้งเฟ้อถูกถอดออกไปเลย แถมยกให้ภรรยาหมดเลย ไม่คิดว่าจะนำกลับมาใช้อีกต่อไป 10.อารมณ์ที่เคยสนใจชาวโลกเขาจะทำอะไรกัน ก็เลย วางเฉย 11.อารมณ์ทั้งหมดนั้นไม่ต้องนึก เป็นเหมือนธรรมชาติที่เกิดขึ้น เหมือนคนขับรถจะ
เข้าเกียร์อะไร ก็จะเข้าเกียร์นั้นไปตามนั้นตามสภาวะ และไม่รู้สึกฝืนกายแต่อย่างใด

เวทนา ใน เวทนา  มีหัวข้อสำคัญคือ นามขันธ์ อันมี เวทนาขันธ์  สัญญาขันธ์  สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็น อารมณ์ โดยท่านให้ดักที่ ผัสสะ คือ อายตนะภายในหก  และ อายตนะภายนอกหก พิจารณาถึงความยินดี ในเวทนาที่เป็นสุข พิจารณาถึงความยินร้าย ในเวทนาที่เป็นทุกข์ พิจารณาถึงอารมณ์ที่เรียบ ๆ ถึงตอนที่ไม่มีเวทนาทั้ง 2 ว่าเกิด ดับ อย่างไร ตอนนี้ ท่านเพียงกล่าวถึง การพิจารณานาม และ รูป ในความเกิดดับ ซึ่งเราทำผ่านมาตั้งแต่ข้อนั้นก็ย่อมทราบและแจ้ง ในตอนนี้ หัวข้อที่ท่านกล่าวในครั้งนี้ ก็คือ วังวน 3  คือ 1.กิเลส 2.กรรม 3.วิบาก ที่ให้ผลเป็นความทุกข์ ความสุข และ ความไม่ทุกข์ และ ไม่สุข โดยท่านให้พิจารณา ความวน ทั้งวนไปด้านหน้า และวนกลับมาด้านหลัง ที่เรียกว่า อนุโลม และ ปฏิโลม ความมุ่งหมายของหัวข้อนี้ต้องการให้เรารู้เวทนาเกี่ยวกับรูป ว่ารูปอาศัยเวทนาอย่างไร เวทนามีผลกับกายอย่างไร เวทนามีผลกับจิตใจอย่างไร

จิต ใน จิต มีหัวสำคัญ อยู่ ที่เมื่อ เรามองเห็นโทษ และ คุณ ทั้ง ทางกาย และ ใจ ท่านให้เน้น
ลงไปที่ผัสสะสุดท้าย คือ มนายตนะวิญญาณ มนายตนะธาตุ  อันเป็นศูนย์ รวมแห่งจิตใจ อันมีความผูกพัน ด้วยสัญญาต่าง ๆ ทั้งที่เป็นที่ยินดี ทั้งที่เป็นไม่ยินดี ทั้งที่เฉย ๆ ต่ออารมณ์ ตอนนี้ ท่านบอกว่าให้พยายามสร้างจิตให้ปราโมทย์ ด้วยการมองที่จิต เป็นเรื่องสำคัญ รู้ว่าปัญหาทั้งหลาย ล้วนมีจิตเป็นผู้ก่อ ผู้กระทำ และเป็นผู้เสวยผล ช่วงนี้จะสั้น อยู่ เพราะผมมัวแต่สนใจเรื่อง "ฌาน" แต่ท่านก็อนุเคราะห์ให้สอดคล้องกับ อานาปานสติ ดังนี้ ท่านได้สอนว่า ถ้าเราเข้าใจเรื่องนาม และ รูป มาพอสมควร แล้ว ให้ยกอารมณ์ ว่าเป็นอารมณ์ที่เราเข้าใจสภาพจิต ด้วยการกำหนดจิต ดังนี้

  •  เมื่อจิตมีราคะ
ก็รู้ว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ

  •  เมื่อจิตมีโทสะ
ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ

  •  เมื่อจิตมีโมหะ
ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ

  •  จิตหดหู่
ก็รู้ว่าจิต หดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน

  •  เมื่อจิต บันเทิง
ก็รู้ว่าจิตบันเทิง เมื่อจิตไม่บันเทิง ก็รู้ว่าจิตไม่บันเทิง

  •  เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า
ก็รู้ว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า

  •  เมื่อจิตเป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ

  •  เมื่อจิตหลุดพ้น
ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

โดยความเข้าใจตอนนี้  พระพุทธเจ้า พระองค์ท่านต้องการให้เราเห็น จิต กับ สังขาร เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร
ธรรม ใน ธรรม ตอนนี้ เป็นเรื่องยาว มาก ๆ เลย เพราะ ศัทพ์ทางธรรม ค่อนข้างจะวุ่น วาย อยู่มาก ๆ เพราะบางคำผมก็เข้าใจ ตอนที่ท่านสอน ท่านก็หยิบ อริยสัจ 4 มาสอนก่อน คือ

  •  1.ทุกข์ เป็นผลจากการเสวยวิบากจากกิเลส
  •  2.สมุทัย เป็นต้นตอคือ กิเลส และ กรรม
  •  3.นิโรธ เป็น ผลจากสงบระงับจากทุกข์
  •  4.มรรค เป็นเหตุให้ถึงความระงับดับทุกข์ เป็นข้อปฏิบัติให้ไปถึงความดับทุกข์

มาถึงตอนนี้ ท่านย้ำว่า ทุกสิ่ง มีผล ต้องมีเหตุ ปัจจุบันธรรมดูกันที่ผลไม่ได้ดูกันที่เหตุ ดูกันว่าตอนนี้ใครนั่งทุกข์อยู่ ใครยืนทุกข์อยู่ ใครนอนทุกข์อยู่ ใครเดินทุกข์อยู่ ปัจจุบันอารมณ์เราเป็นอย่างไร ตัวเราเท่านั้นที่จะรู้จักตัวเราเอง ตัวเราเท่านั้นที่จะรู้จักอารมณ์เรา ไม่ได้ให้ไปดูที่อารมณ์ผู้อื่น การปฏิบัติธรรมในขั้นสุดท้าย นี้ ท่านบอกเป็นการเตือนตัวเรา และให้เข้าถึงความเป็น "เอกายนมรรค" คือหนทางแห่งผู้รู้ ผู้ไป ผู้สิ้นสุด เพียงผู้เดียว เพราะเมื่อเราทำ หรือ ปฏิบัติ หรือ ถึง ก็ไม่ได้ทำให้คนอื่นถึง ณ จุดนั้นได้เลย เราเป็นผู้ถึงนิพพาน ก็หาที่จะไปลากเขาเข้าสู่นิพพานก็ไม่ได้ ทำได้แต่เพียงว่าเป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น เหมือน ฉัน ที่มานั่งบอกอยู่ตรงนี้ ก็ไม่ได้ทำให้เราเข้านิพพานได้เลย ยังต้องพากเพียรด้วยกำลังแห่งตนต่อไป  กฏแห่ง อนิจจัง ทุกขัง  และ อนัตตา เป็นสิ่งที่ลืมไม่ได้ แม้ รูป ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา แม้นาม ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา การปฏิบัติ ใน มหาสติปัฏฐาน 4 นั้น ไม่ว่าเริ่มจากตรงไหน คือจะยกอารมณ์  พิจารณาเรียนรู้ กาย ใน กาย เวทนา ใน เวทนา  จิต ใน จิต สุดท้าย ก็มาจบที่ ธรรม ใน ธรรม ซึ่ง เป็นอารมณ์สูงสุดในการปฏิบัติ คือการทำลาย ความยึดมั่น ถือมั่น ใน กาย เวทนา ในจิต  และ ในธรรม