กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 5 ( ธัมมะวังโส )

เริ่มโดย kai, ก.ค 15, 2024, 09:56 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai



กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 5

5 -  2.ภังคานุปัสสะนาญาณ
ญาณอันรู้แจ้งเห็นความสลายแห่งสังขาร
และเข้าใจถึงความจบสิ้นไปแห่งสังขาร
ที่วนเวียนอยู่ด้วย ความเกิดและความดับปนเปอยู่ใน
อุปัตติ ทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ

ขั้นที่ 3 รู้ด้วยการปฏิบัติจริง ๆจน ญาณที่ 4 เกิดขึ้นคือ
อุทยัพพะยะญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนาม เกิดดับ ชัดเจน ยิ่งขึ้น เรียกว่า "สันตะติขาด"

สันตะติ แปลว่า ความสืบต่อของรูปนาม
เมื่อสันตะติ ขาด จึงจะเห็นพระไตรลักษณ์ขั้นที่ 3 นี้ ได้
ผู้ที่จะเห็นพระไตรลักษณ์ ขั้นนี้ได้ ต้องเพิกถอน สันตะติ เสียก่อน  เพราะ สันตะติ บังมิให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเพิกสันตะติได้แล้ว อนิจจะลักษณะ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง

วิธีเพิกสันตะตินั้นมีหลายวิธีการ
ในที่นี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ครูบาอาจารย์ ได้ถ่ายทอดไว้

ขั้นแรก ให้เดินจงกรม ก่อน ประมาณ 30 นาที
โดยขึ้นคำภาวนาว่า
"ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ"
แรกเริ่มฝึกก็ควร ฝึกอย่างช้า ๆ จนกระทั่งเดินได้เป็นธรรมชาติ คือเดินด้วยคำ ภาวนาเป็น ปกติ เพราะผู้ฝึกสามารถฝึก สติ กำกับได้ ไว กับ อิริยาบถ ดังนั้น ผู้ฝึกอย่างชำนาญแล้ว จึงเดินได้เป็นธรรมชาติ ดังนั้นเราผู้กำลังจะฝึกก็ไม่ควรไปหัวเราะผู้อื่นที่กำลัง เริ่มต้นฝึกสติ ดังนั้น ผู้ฝึก สติ แบบ วิปัสสก นั้นต้องเริ่มจากช้าไปเร็ว ส่วนผู้ฝึกสมถะ มาแล้วนั้นย่อมมี วสี ในความชำนาญเข้าฌาน ออกฌาน อยู่จึงมีสมาธิ ในอิริยาบถ ผู้ฝึกย่อมภาวนา ธาตุ ระหว่างฝึก เรียกว่า ธรรมธาตุอิริยาบถ ซึ่งเป็นสมาธิ ไม่ใช่ เป็น สติ นอกจากผู้ฝึก กำหนดสติ รู้ชัดว่า ปีติ สุขมีผล เป็นความนิ่ง แล้วจับอารมณ์ นั้นมาเจริญให้ เห็น รูปนาม ก็ชื่อว่า ฝึก สติ เช่นเดียวกัน

ขั้นที่สอง
นั่งขัดสมาธิ กำหนดรูปนาม 
เช่น ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" เป็นต้น
ประมาณ 40 นาที ให้ทำ สลับกันเยี่ยงนี้ จนผู้ปฏิบัติ สามารถมองเห็น ได้ด้วยตนเอง ผู้ฝึก สมถะ นั้นให้ถอยจากองค์ ฌาน 4 กึ่งหนึ่ง แล้ว เข้าจับ อารมณ์ อันเป็น สุขสมาธิ พิจารณาพระไตรลักษณ์ จนเห็นได้ด้วยตนเอง

หลวงพ่อท่านได้ยกตัวอย่าง เสริมตรงช่วงนี้ว่า
มีตัวอย่างจาก ภิกษุณี ปฏาจารา อรหันตะสาวิกา วันหนึ่งท่านได้ตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด ครั้งที่ 2 น้ำที่ท่านเทออกไปไหลไปไกลกว่านั้น ครั้งที่ 3 น้ำที่ท่านเทลงไป ไหลไปไกลกว่านั้นอีก  ท่านถือเอาน้ำนั้นเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง 3  ( อัทธานะ สัมมะสะนะนัย ) แล้วพิจารณาว่า สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัย ก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งแรก ตายเสียใน มัชฌิมวัย ก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งที่ 2 ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งที่ 3 เมื่อท่านมีสติดังนี้ องค์พระโสภาคย์ทศพล ทรงแผ่พระรัศมีไปเบื้องหน้าท่าน เป็นราวกับประทับยืนอยู่เบื้องหน้า ตรัสว่า

"เอวะเมตัง ปะฏาจาเร ปัญจัญนัง หิ ขันธานัง อุทะยัพพะยัง อะปัสสันตัสสะ วัสสะสะตัง ชีวิตะโต เตสัง อุทะยัพพะยัง ปัสสันตัสสะ เอกาหังปิ เอกัจจะขะณังปิ ชีวิตัง เสยโย"

แปลความว่า
"ดูก่อน ปฏาจารา ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ ทั้ง 5  ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ตั้ง 100 ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ความเสื่อมไปแห่ง ขันธ์ทั้ง 5"

การรู้พระไตรลักษณ์ในขั้นนี้ จัดเป็น
ภาวนามยปัญญา คือปัญญาเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติ เป็นวิปัสสนาญาณที่แท้จริง เป็นอย่างนี้ตั้งแต่ ญาณที่ 4 ขึ้นไป ซึ่งถือว่าทำได้ระดับกลางของการทำ วิปัสสนา