กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 4 ( ธัมมะวังโส )

เริ่มโดย kai, ก.ค 15, 2024, 09:51 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai



กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 4


4  - 1.อุทยัพพะยานุปัสสะนาญาณ 
ญาณอันรู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ 5 นามรูป

ขั้นที่ 2 รู้ตามความคิดตรึกนึกเอาเอง
คือการพิจารณาพระไตรลักษณ์
ด้วยการตรึกนึกเอาเอง ซึ่งมีอยู่ 4 นัยยะ คือ

  1.กะลาปะ สัมมะสะนะนัย
พิจารณารวมกันทั้ง 5 ขันธ์ ว่า รูปนามที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปนาม ภายในภายนอก รูปนามที่หยาบ ละเอียด รูปนามที่ เลว ประณีต รูปนามที่ไกล ใกล้ ล้วนแต่ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น

  2.อัทธานะ สัมมะสะนะนัย
พิจารณารูปนาม ตั้งแต่เป็นเด็ก ๆ จนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน นี้ ว่า รูปนามที่เป็นอดีต ไม่เป็นรูปนามปัจจุบัน รูปนามปัจจุบัน ไม่เป็นรูปนามของอนาคต  รูปนามภายในไม่เป็นรูปนามภายนอก รูปนามอดีตก็ดับไปในอดีต รูปนามในอนาคตก็ดับไปในอนาคต รูปนามในปัจจุบันก็ดับไปในปัจจุบัน  รูปนามในปัจจุบันไม่เกิดในชาติหน้า แต่มีเหตุปัจจัย สืบต่อกันอยู่ เมื่อปัจจุบันดี อนาคตก็ดี  เมื่อปัจจุบันชั่ว อนาคตก็ย่อมชั่ว

  3.สันตะติ สัมมะสะนะนัย
พิจารณาความสืบต่อของรูปนาม เช่น รูปเย็นหายไป รูปร้อนเกิดขึ้น รูปร้อนหายไป รูปเย็นเกิดขึ้น รูปนั่งหายไป รูปยืนเกิดขึ้น รูปยืนหายไป รูปนอนเกิดขึ้น อย่างนี้เป็นต้น ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปรสืบต่อกันอยู่อย่างนี้ ตลอดไปดังนั้น รูปนามจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

  4.ขะณะ สัมมะสะนะนัย
พิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามชั่ว ขณะ หนึ่ง ๆ คือพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนาม ซึ่งนิยมเรียกว่า  อุปปาทะ(เกิดขึ้น) ฐีติ(ตั้งอยู่) ภังคะ(แตกดับไป) จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีรูปนาม เกิดดับ ติดต่อกันอยู่อย่างนี้ตลอดไป ทั้ง กลางวัน และ กลางคืน ดังนั้น รูปนาม จึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

  การพิจารณารูปนาม โดยอุบาย แบบนี้ เรียกว่า รู้พระไตรลักษณ์ เหมือนกัน จัดเข้า ในญาณที่ 3 คือ สัมมะสะนะญาณ  อย่างเข้มข้น ก็ถึง อุทยัพพะยะญาณ  ถ้าจัดใน วิสุทธิ  7  ก็ เป็น มัคคามัคคะญาณทัสสะนะวิสุทธิ คือ มีความรู้ความเห็นอันบริสุทธิ์  คือ รู้ว่า นี้เป็นทางที่ถูก นี้เป็นทางถึง ผล ผู้ปฏิบัติ จะสามารถเกิดปีติ  เห็นแสงสว่างได้ ก็ได้จากญาณนี้ ถ้าเกิดภาวนา รู้เห็น จนเห็นพระพุทธรูป ก็ให้กำหนดว่า "เห็นหนอ เห็นหนอ" อย่างนี้ ไปจนหายไป การเห็นพระไตรลักษณ์ ในขั้นที่ 2 นี้ อยู่ในเขต สมถะ เป็นจินตามยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จ จากการนึกคิด ถือว่าเป็นการปฎิบัติได้แล้ว เกือบครึ่งหนึ่งของการปฏิบัติ สติ