กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 2 ( ธัมมะวังโส )

เริ่มโดย kai, ก.ค 15, 2024, 03:11 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai



"สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 2

2.ปัจจยะปะริคคะหะญาณ สามารถกำหนด รู้แยก รูป และ นาม
อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย
( บางครั้งมาถึงตรงนี้ แล้ว จะเห็นว่า มีศัพท์ ทางธรรมเยอะมาก ซึ่งผู้ทำวิปัสสนาก็จำเป็นต้องรู้ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งเข้าใจง่าย ยิ่งรู้น้อยก็ยิ่งติดในอรรถะมาก จึงทำให้ผู้ทำวิปัสสนา เบื่อเอาซะดื้อ ๆ แต่ถึงเบื่ออย่างไร สาวกภูมิก็ไม่ท้อถอย กับการจดจำ และ เรียน ตรงนี้ หรอก )

เมื่อรู้รูป นาม เกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นตามมา  สิ่งที่เกิด ขึ้นตามมาเรียกว่า กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ยกตัวอย่าง

เวลา เห็น รูป สวยดี เกิด ความชอบใจ โลภะ ก็เกิด , ถ้าไม่ชอบใจ โทสะ ก็เกิด , เห็นรูปเกิด แบบกลางๆ ถ้าไม่มีสติกำกับ แล้ว โมหะ ก็เกิด โมหะเป็นความหลง

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะมี เหตุปัจจัย คือ  อิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ชอบใจ )อนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ) และมัชฌัตตารมณ์ (อารมณ์ที่เป็นอยู่กลางอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ คือพร้อมจะเป็นอารมณ์ทั้ง 2 ) เป็นวงจรให้เกิดกิเลส คือราคะ โทสะ และ โมหะ

โดยย่อ ก็มีการลำดับ ดังนี้ คือ
ราคานุสัย ทำให้เกิด
โลภะ =>โลภะ ทำให้เกิด
ตัณหา => ตัณหา ทำให้เกิด
อะภิชฌา =>อะภิชฌา ทำให้เกิด
อุปาทาน => อุปาทาน ทำให้เกิด
การเวียนว่ายตายเกิด

โดยพิสดารก็มองเห็น
ปฎิจจสมุปบาท 

คือความที่สิ่งนี้
สิ่งนี้ จึงมีจึงเกิดขึ้น 
เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ดังนี้

        อวิชชา=>สังขาร=>วิญญาณ=>นามรูป=>สฬายตะนะ=>ผัสสะ=>เวทนา=>ตัณหา=>อุปาทาน=>ภพ=>ชาติ=>ชรามรณะ=>ทุกข์=>อวิชชา

  ( โปรดศึกษา เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เพิ่มเติม จะเข้าใจ องค์วิปัสสนา เพิ่มขึ้น )

    จะปฏิบัติอย่างไร จึงจะกันให้กิเลส ไม่ให้เกิดขึ้น ทางทวารทั้ง 6 ได้
  ต้องเจริญวิปัสสนา คือมีสติ กำหนดรู้ตามทวารทั้ง 6 นั้น ๆ

ตา ได้ เห็น  รูป
ก็ภาวนาว่า "เห็นหนอ ๆ" เป็นต้น

หู  ได้ ยิน  เสียง
ก็ภาวนาว่า "ได้ยินหนอ" เป็นต้น

ลิ้น ได้ ลิ้ม รส
ก็ภาวนาว่า "ได้รู้รสหนอ" เป็นต้น

จมูก  ได้กลิ่น 
ก็ภาวนาว่า "ได้กลิ่นหนอ" เป็นต้น

กาย ได้รับ  สัมผัส
ก็ภาวนาว่า "เย็นหนอ ร้อนหนอ อ่อนหนอ แข็งหนอ" เป็นต้น

ใจ ได้รับ ธรรมารมณ์
ก็ภาวนาว่า "มิสติ รู้หนอ" เป็นต้น

  เมื่อผู้ภาวนา จนเกิด ญาณ ก็ย่อมหลุด และ ออก จากวงจร สังสารวัฎ ได้

ทุกข์ ชาติ ชรา มรณะ =>บุญกุศล=> ปราโมทย์=> ปีติ =>ปัสสัทธิ=>  สุข=> สมาธิ => ยถาภูตะญาณทัศนะ =>นิพพิทา=>วิราคะ=> วิมุตติ=> วิมุตติญาณะทัศนะ=> มรรค=>ผล=>นิพพาน

  รู้รูปนามตามอิริยาบถต่าง ๆ หมายความว่า
  อิริยาบถ หมายถึง อิริยาบถใหญ่ กับ อิริยาบถย่อย
  อิริยาบถใหญ่ ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน
  อิริยาบถย่อย ได้แก่ การก้าวไป ถอยกลับ เหยียด นุ่ง ห่ม ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น
  รู้รูปนามตามอิริยาบถใหญ่นั้น หมายถึง ดังนี้

  1.  รู้ว่า  ยืน เป็น รูป  รู้ว่า ยืน เป็น นาม
  2.  รู้ว่า  เดิน เป็น รูป  รู้ว่า เดิน เป็น นาม
  3.  รู้ว่า  นั่ง เป็น รูป  รู้ว่า นั่ง เป็น นาม
  4.  รู้ว่า  นอน เป็น รูป  รู้ว่า นอน เป็น นาม

เวลาปฏิบัติจริง จะภาวนาว่า ยืน เป็น รูป รู้ว่ายืน เป็น นาม ทำได้ยาก เพราะไม่ทันปัจจุบัน และไม่ถูกสภาวะ เป็นการ รู้ตามปริยัติ แบบเรียนมากเกินไป ให้ผู้ปฏิบัติภาวนาว่า "ยืนหนอ ๆ" เป็นต้น จึงจะทันปัจจุบัน ทันรูป และ ทันนาม รู้อย่างนี้เป็นการรู้และปฏิบัติ ตาม อริยะมรรค ทั้ง 8

เช่น ขณะที่ยืน อยู่ ภาวนาว่า "ยืนหนอ ๆ" กายกรรม 3 วจีกรรม 4 บริสุทธิ์ ตอนนี้จัดเป็น ศีล หรือ เป็น สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ และ สัมมาวาจา ขณะที่ภาวนา อยู่นั้นใจพร้อมด้วยองค์ 3  มี ใจไม่เผลอจากรูปนาม คือไม่เผลอ จากอิริยาบถ ที่ยืนอยู่ ในขณะที่ภาวนาอยู่ ขณะนี้ก็จัดเป็น สมาธิ เป็น สัมมาสมาธิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ ส่วนอารมณ์ที่เห็นญาณ คือความรู้กำหนดให้เกิด สติ ก่อนทำ และ หลังทำ นั้น เป็นปัญญา เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เมื่อภาวนาอยู่อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า อยู่ในทางสายกลาง หรือ หนทางแห่งพระอริยะ ย่อมมีปลายทาง คือ โลกุตตระธรรม 9 อัน มี มรรค 4  ผล 4  นิพพาน 1 เป็นเป้าหมาย