เรื่อง “การปฏิโลม-อนุโลม”

เริ่มโดย kai, ต.ค 15, 2024, 11:47 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม ไม่ทราบผมเข้าใจถูกหรือเปล่า?
ในเรื่อง "การปฏิโลม-อนุโลม" เมื่อเจอ "ลักษณะ"
จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเข้าไปเสวยผลในแต่ละฐาน ภายหลังที่เจอ "ลักษณะ"
เมื่อเห็น "ลักษณะ" ในแต่ละฐาน ตามสูตร จากนั้นก็เลื่อนจิตขึ้นไปสู่ฐานอื่นๆ นับจากฐานที่1,2,3,4,5(เรียกว่าปฏิโลม)
และเลื่อนจิตลงมาจากฐานที่5,4,3,2,1(เรียกว่าอนุโลม)
ทำอย่างนี้ให้ชำนาญ เรียกว่า "วสี"


ตอบ ในกระบวนการ มัชฌิมา มีการโคจร อยู่ 3 อย่าง

1. อนุโลม ทำจากลำดับแรก ไปหาลำดับสุดท้าย
2. ปฏิโลม ทำจากลำดับสุดท้าย กลับมาลำดับแรก
3. อนุเคราะห์ หรือ สัมปยุต ทำอยู่ฐานเดียว
1 - ไป - 5 เรียกว่า อนุโลม
5 - กลับมา - 1 เรียกว่า ปฏิโลม
1 - ไป - 5 และ 5 กลับมา 1 เรียกว่า อนุโลม ปฏิโลม
อยู่ฐานเดียวไม่โคจร ชื่อว่า สัมปยุต
( ข้อความในคำถาม น่าจะพิมพ์ผิด )
คำว่า วสี แปลว่า ความชำนาญ หรือ ทำบ่อย ๆ
วสี มี 5 อย่าง
จะอนุโลม  จะปฏิโลม ได้เมื่อไหร่
จะอนุโลม ได้เมื่อทำพระลักษณะ ครบทุกฐานแล้ว
จะปฏิโลม ได้เมื่อทำอนุโลมแล้ว
การทำปฏิโลม ต้องทำหลัง อนุโลม จะไปทำ ปฏิโลม อย่างเดียวไม่ได้
ดังนั้น อนุโลม ทำอย่างเดียวได้
แต่ ปฏิโลม ทำอย่างเดียวไม่ได้เพราะ การตั้งสัมปยุต ท่านเริ่มตั้งที่ศูนย์นาภีเสมอ แต่การตั้ง หทัยวัตถุ เป็นการตั้งเข้า ยุคลธรรม หรือ ปฐมฌาน เท่านั้น

ได้พระลักษณะ หรือ พระรัศมี หรือไม่ ไม่สำคัญเลย
เพราะการอนุโลม การทำปฏิโลม เป็นการฝึกโคจร ซึ่งการฝึกโคจรไม่จำเป็นต้องได้อำนาจสมาธิ หรือ ได้ ปีติ หรือ ได้ยุคลธรรม
ผู้ฝึกฝน สามารถสลับฐาน แล้ว บริกรรม ต่อเนื่องสามารถกระทำได้

ดังนั้นสรุปว่า อนุโลม และ ปฏิโลม สามารถกระทำได้โดยไม่ต้อง มีลักษณะ และ รัศมีเกิดขึ้นก่อน
แต่การเข้าสะกด ต้องมีลักษณะ และ รัศมีเกิดขึ้นก่อนจึงจะกระทำได้

เจริญธรรม / เจริญพร
14 มีนาคม 2022