ลำดับ วิชามูลกรรมฐาน กัจจายนะ

เริ่มโดย kai, ส.ค 20, 2024, 06:47 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ลำดับ วิชามูลกรรมฐาน กัจจายนะ

ครั้งที่ 1 หลังพระราหุลอุปสมบถเป็นภิกษุ
ได้รับการแต่งตั้งดูแลบันทึกวิชา
มรรคกรรมฐาน ( วิธีการปฏิบัติตามมรรค )
แต่ต่อมาท่านใช้คำเหมาะสม ใช้คำว่า
  มูล    (รากเหง้า)
  มัคคะ  (กัมมัฏฐาน)

ในสายกรรมฐานเรียกตามคำนิยมว่ามูลกรรมฐาน
(คำแปลแล้วว่า รากเหง้าวิธีการปฏิบัติตามมรรค)


พระราหุลดูแล เรียกว่า
มูลกรรมฐาน พระราหุล


ครั้งที่ 2 พระราหุลเข้านิพพาน
เนื่องด้วยอายุน้อยมากหลังจากท่าน
สำเร็จเป็นพระอรหันต์อายุ 29 พรรษาที่ 9
แล้วอีกประมาณ 20 ปี ท่านก็เข้านิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้ง พระสารีบุตร
( อุปัชฌาย์พระราหุล) ให้ดูแลต่อ

พระสารีบุตรดูแล เรียกว่า

มูลกรรมฐาน สารีบุตร

ครั้งที่ 3 พระสารีบุตรเข้านิพพานก่อน
พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ทำให้พระพุทธเจ้าต้องมอบหมาย
งานดูแลนี้ให้แก่ พระที่มีปัญญา
รองจากพระสารีบุตร คือ
พระกัจจายนะ

พระกัจจายนะดูแล เรียกว่า
มูลกรรมฐาน กัจจายนะ


และก็เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันเพราะ
พระพุทธเจ้ามิได้แต่งตั้งใครเข้ามาดูแลต่ออีก

หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระมหากัสสปะ
ได้ดำริว่าจะรวบรวมข้อบันทึกอันพระพุทธเจ้า
มอบหมายให้พระสาวกดูแล มีอยู่ 16 สาย
อันพระกัจจายนะดูแล ตั้งแต่
วินัยธร ธรรมธร พยากรณ์ มูลกรรมฐาน เป็นต้น
และได้จำนวนพระอรหันต์ที่ทำงานบันทึก
เรื่องพวกนี้จำนวน 499 รูป
เข้าประชุมเป็นสังคายนา ครั้งที่ 1
ได้สิ่งที่รวบรวมออกมาเป็น ปิฏก 3 ปิฏก คือ
พระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และ
พระอภิธรรมปิฏก เรียกชื่อรวมกันว่า

พระไตรปิฏก

ต่อมาพระมหากัสสปะ และ พระอานนท์
ได้จัดตั้งนิกายใหม่ ชื่อว่า
มหายาน
และได้ทำการสอนและปฏิบัติ
เหมือนดังพระพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่
โดยแยกออกมา ซึ่งขณะนั้น ก็มี 2 นิกาย
คือ มหายาน และ นิกาย เถรวาท


หลัง พ.ศ.234 พระเจ้าอโศก
ได้ทำตติยสังคายนา และได้ส่ง
สมณฑูติมายังสุวรรณภูมิ คือ

พระโสณะ และ พระอุตตระ

ทั้งสองรูปกล่าวได้ว่า ได้นำวิธีการปฏิบัติ
ตามแบบมูลกรรมฐาน เข้ามาเผยแผ่
เริ่มตั้งแต่ศรีทราวดี ( นครปฐม )


ดังนั้นคณะเผยแผ่ ได้ขึ้นจากฝั่งอันดามัน คือ
นครศรีธรรมราช และมาจบที่ นครปฐม

พระโสณะ และ พระอุตตร
สถิตย์วัดเพชรพลี (เพรชบุรี )
เป็นวัดสุดท้าย และได้สร้าง ปฐมเจดีย์
และเจดีย์อื่น ๆ ด้วย


พ.ศ.600 ฝ่ายมหายาน
ได้รวบรวมวิธีการภาวนาเป็นตำราชื่อว่า

วิมุตติมรรค

พ.ศ.1000 ฝ่ายเถรวานท
ได้รวบรวมวิธีกาภาวนาเป็นตำราชื่อว่า
วิสุทธิมรรค

พ.ศ.1200 สุโขทัย
พระญาณกิตติได้รวบรวมความรู้
มุขปาฐะ

ด้านการภาวนาหรือสายกรรมฐาน
ที่เกี่ยวข้องกับมูลกรรมฐาน
เป็นตำราภาษาไทยครั้งแรก
ในชื่อคัมภีร์
มูลกัจจายน์

ในตัวคัมภีร์ มี 2 ภาค
ภาคโยชนา เป็นหลักสูตรเปรียญตรีและโท
ภาคมูลกรรมฐาน เป็นหลักสูตร เปรียญเอก


ทั้ง 2 ภาคเป็นหลักสูตรบังคับของพระไทย
ตั้งแต่ สุโขทัย มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น
หมดในยุค รัชกาลที่ 5

ในรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระสังฆราชพระญาณสังวร
( สุก ไก่เถื่อน) ได้ขอบัญชาทำสังคายนา
มูลกัจจายน์ ออกจากกันเป็น 2 ภาค
และทำการสังคายนาวิธีการปฏิบัติใน
มูลกรรมฐานใหม่ มีการแต่งตั้ง
พระผู้บอกกรรมฐาน จาก กษัตริย์

โยชนากัจจายนะ นั้นถูกเรียบเรียงร้อยกรอง
และแก้ไขข้อความให้ถูกต้อง
ตั้งแต่รัชกาลที่ 2 เสร็จสิ้นในรัชกาลที่ 4
มี โยชนากัจจายนะ หลายฉบับ
ทองทึบ ล่องชาต เทพพนม สังขจายน์
และแต่ละฉบับมีการแยกย่อยออกไปอีก
ตามคณะ รวมทั้งสิ้นเสร็จสมบูรณ์ มี 8 ฉบับ

ส่วนวิชามูลกรรมฐาน
คงหาคณะทำได้ยากมาก
เพราะต้องอาศัยครูอาจารย์ที่เยี่ยม
ทางการปฏิบัติ

ดังนั้นในส่วนวิชามูลกรรมฐาน
ชัดเจนที่การสอนแบบ มัชฌิมา แบบลำดับ
ที่วัดพลับ(วัดราชสิทธาราม) แต่แบบอื่น ๆ
อันเกื้อกูลกันนั้น ไม่สามารถรวมกันได้เนื่องด้วย
การสอนมูลกรรมฐาน
เป็นการสอนไม่มีลำดับต้นปลาย
เพราะสอนตามอุปนิสัยผู้ภาวนา

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า
ตัวการสอนมีการสอนเป็นพื้นฐาน
ระดับกลาง และระดับสูง

การสอนพื้นฐาน มีการสอน
พุทธานุสสติเป็นหลัก แบ่งออกเป็น 3 ระดับ


ระดับเริ่มต้น 
ชื่อว่า อุปัตตา พุทธานุสสติกรรมฐาน
มีกรรมฐาน 4 ห้อง


ระดับกลาง 
ชื่อว่า มัชฌิมา แบบลำดับ พุทธานุสสติกรรมฐาน
มีกรรมฐาน 3 ห้อง


ระดับสูง
ชื่อว่า ปฏิเวธา พุทธานุสสสติกรรมฐาน
มีกรรมฐาน 1 ห้อง
แล้วปฏิบัติต่อ ด้วย อานาปาสติ


อานาปานสติ แบ่ง ออกเป็นสองสาย

สายที่ 1 อานาปานสติ สติปัฏฐาน ปัญญาวิมุตติ
สายที่ 2 อานาปานสติ มูลกรรมฐาน เจโตวิมุตติ


ดังนั้นสรุปได้ว่า
ศิษย์ทั่่วไปใน มูลกรรมฐาน

เรียนกรรมฐาน 2 อย่าง คือ
พุทธานุสสติกรรมฐา และ
อานาปานสติกรรมฐาน


ส่วนศิษย์สืบทอดนั้น

มีการเรียนกรรมฐาน อีก 7 สายด้วยกัน
รายละเอียดสายมีอยู่ในหนังสือ วิโมกข์ วิภังค์ 1


เจริญธรรม / เจริญพร
10 กันยายน 2564