ถาม #มูลกรรมฐานคืออะไร มาอย่างไรที่มา และประเทศไทยมีมูลกรรมฐานมาตั้งแต่เมือ่ไหร่

เริ่มโดย kai, ส.ค 05, 2023, 06:24 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม #มูลกรรมฐานคืออะไร มาอย่างไรที่มา และประเทศไทยมีมูลกรรมฐานมาตั้งแต่เมือ่ไหร่

ตอบ มูลกรรมฐาน เป็นหนึ่งสายใน 16 สายการทำงานที่พระพุทธเจ้ามอบหมายให้พระภิกษุในสมัยก่อนทำการบันทึกข้อความที่เกี่ยวกับสายเอาไว้ เริ่มตั้งแต่

สายการทำงานที่บันทึกข้อความมี 16 สายดังนี้
1.วินัยธร พระอุบาลีเป็น หน คณะ
2.ธรรมธร พระกัจจายนะ เป็น หน คณะ
3.อภิธรรม พระสารีบุตร เป็น หน คณะ
4.พระสุตตันตะปริจเฉท พระสาคตะ และ พระอานนท์
5.มูลกรรมฐาน พระราหุล
6.พุทธพากรณ์ มี 3 คณะ คือ โลกพยากรณื พุทธพยากรณ์ และ อรหันต์พยากรณ์ พระโมคคัลลานะ
7.พุทธวงศ์ พระนันทะ
8 ภิกษุณี พระภิกษุณีอุบลวรรณา ภายใต้การพระสารีบุตร
9.ปกิณกะชาดก มีหลายรูป ปัญจวัคคีย์เป็นกลุ่มแรก
10.โยชนา พระกัจจายนะ
11.ธรรมฑูตา พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ
12.สังฆะมณฑล พระมหากัสสปะ
13.ทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์
14.นครกถา พระนันทะ
15.ธรรมสากัจฉา พระสารีบุตร
16.ยมกปาฏิหาริย์ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ

คณะทำงานทั้ง 16 มีหน้าที่บันทึกข้อความตามการทำงาน ภายใด้การดูแลโดยรวม 4 รูปด้วยกันคือ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระกัจจายนะ พระมหากัสสปะ
มูลกรรมฐาน เป็นแผนกหนึ่งใน 16 แผนกมีการแต่งตั้งอยู่ 3 ครั้ง
คือ พระราหุลเป็นรูปแรก ต่อมาพระราหุล นิพพาน พระพุทธเจ้าก็ทรงตั้ง พระสารีบุตร อุปัชฌาย์พระราหุลให้ดูแลไปก่อน ต่อมาพระสารีบุตรเข้า นิพพาน พระพุทธเจ้าจึงทรงประกาศแต่งตั้ง พระกัจจายนะรับดูแลต่อ นี่เป็นองค์สุดท้าย ดังนั้น จะเรียกมูลกรรมฐาน ได้ตามลำดับดังนี้

1. มูลกรรมฐาน ราหุล
2. มูลกรรมฐาน สารีบุตร
3. มูลกรรมฐาน กัจจายนะ

แต่ต่อมา มูลกรรมฐานต้องเผยแผ่ ไปนานาประเทศแต่ต้นฉบับเป็นภาษามคธ ดังนั้น พระกัจจายนะ จึงนำ โยชนา เข้ามาประกอบ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้ารับสั่งไว้ว่า ภาษาที่เป็นแบบแผนในการบันทึกทั้งปวงให้ใช้ภาษา มคธ ( บาลี )
ดังนั้นใครจะเรียนมูลกรรมฐาน ก็ต้องมีความรู้ภาษามคธ นั่นเอง
สำหรับสุวรรณภูมิ มูลกรรมฐาน ก็มีเข้ามาเผยแผ่ตั้งแต่ยุคพระพุทธเจ้าเข้ามาเอง แต่ขณะนั้นเป็นมูลกรรมฐานเฉพาะทาง มีบันทึกไว้ในอรรถกถา รอยพระพุทธบาทสัจจพันธ์ ภิกษุรูปแรกในสุวรรณภูมิ ( อู่ทอง ) ชื่อว่า ปุณณะ( แปลว่าขาว ) พร้อมพระพุทธเจ้าประทับรอยพระพุทธบาทไว้เป็นรอยที่สอง สามารถไปตามอ่านได้ใน อรรถกถา

ยุคหลังพุทธกาล พ.ศ. 500 สายมหายาน นำโดยพระมหากัสสปะ พระอานนท์ ได้ใช้มูลกรรมฐานและมีการจดบันทึกออกมาเป็นคัมภีร์เชื่อว่า วิมุตติมรรค มีปริจเฉทชัดเจน

ต่อมา พ.ศ. 1000 - 1200 พระพุทธโฆษาจารย์ ก็ได้แต่งคัมภีร์ขึ้นมาอีก 1 เล่มชื่อว่า วิสุทธิมรรคตรวจสอบเปรียบเทียบแล้ว วิมุตติมรรค กับ วิสุทธิมรรค มีปริจเฉทตรงกัน ข้อความใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นสันนิษฐานได้ว่า พระพุทธโฆษจารย์ ก็นำข้อความมูลกรรมฐานออกมาจาก วิมุตติมรรค

ต่อมา พ.ศ. 2300 พระญาณกิตติ สมัยสุโขทัย ก็ได้รวบรวม ครูอาจารย์ผู้สอนมูลกรรมฐานในสมัยนั้นซึ่งสอนกันเป็น มุขปาฐะ มาร่วมกันทำเป็นคัมภีร์ โดยเฉพาะอักษรไทยประดิษฐ์ ครั้งแรกเป็นคัมภีร์ชื่อว่า มูลกัจจายนคัณฐีปกรณ์

โดยเนือ้หาแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ
1. โยชนา
2. วินัยธร
3. ปกิณณกะชาดก
4. มูลกรรมฐาน

โดยจัดเป็นสอบพระภิกษุ 3 ระดับ

1. โยชนา + ปกิณกะชาดก เรียกว่าการสอบเปรียญตรี
2. โยชนา + วินัยธร( สมันตปสาทิกก )เรียกว่า สอบเปรียญโท
3. โยชนา +มูลกรรมฐาน เรียกว่าสอบเปรียญเอก

แล้วพระภิกษุตั้งแต่สมัยนั้นก็ต้องศึกษาและสอบ อย่างนี้มาจนถึง ยุครัชกาลที่ 5 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จกรมพระญาณวชิโรรส จึงได้ปฏิรูปการศึกษาของภิกษุเป็นแบบปัจจุบัน โดยมีสาย นักธรรม ขึ้นมา 3 ชั้น และแยกสาย การแปลออกเป็น 8 ระดับ จัดเป็นตรี โท เอก โดยในการนี้ได้ เอาโยชนา เรียกว่า บาลีปกรณ์ ยังใช้เหมือนเดิมแต่ให้เป็นการเรียน อยู่ 3 แผนก ให้แผนก ฉันท์ เป็นระดับสูงและถอดมูลกรรมฐานออก ใช้ วิสุทธิมรรค แทน

เหตุที่ต้องถอด มูลกรรมฐานออก เพราะว่า มูลกรรมฐานเป็นการสืบต่อด้วย มุขปาฐะ มีหัวข้อไปตามการปฏิบัติ ไม่ใช่หัวข้อเรียงไปตามการศึกษาแบบบาลี ดังนั้น แม่บทมีจำนวนมาก ๆ จนถึง 2000 กว่าแม่บท ทำให้ผู้ศึกษากรรมฐาน เรียนเพื่อเป็นครูสอนค่อนข้างยาก เพราะการสอบต้องสอบการเข้ากรรมฐานด้วย ดังนั้นเพื่อให้การเกิดเรียนโดยผู้สอนไม่ต้องปฏิบัติตามแต่รู้หัวข้อนำไปถ่ายทอดได้จึงเห็นว่า วิสุทธิมรรค เหมาะสมและไ่ม่ต้องตรวจทานการแก้ไขภาษาเนื่องด้วย เป็นภาษามคธ ในตัวอยู่แล้ว จึงนำมาใช้หลักสูตร เปรียญประโยค 8 และ 9 นั่นเอง

นี่คือ ที่มาที่ไป ของคำว่า มูลกรรมฐาน

เจริญธรรม / เจริญพร