"ธรรมสังเวช เป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนา"

เริ่มโดย kai, ส.ค 03, 2024, 10:59 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ธรรมะวันนี้ "ธรรมสังเวช เป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนา"



หลายท่านอยากรู้ว่า อะไรเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติธรรม
และเป็นเหตุให้การภาวนาธรรมทั้งปวง ไม่เสื่อมคลายลง
ซึ่งหลายท่านเกิดความสงสัยแม้กระทั่งตนเอง และธรรมะ
ว่าควรจะทำความเพียรอย่างไรที่จะไม่เสื่อมคลายวันนี้
จึงจะได้ตอบคำถามของท่านอีกหลายท่าน คราเดียวกัน

  ธรรมทั้งปวง ล้วนมีเหตุและผลในตัว
ไม่มีธรรมใดเกิดขึ้นโดยไม่อาศัยปัจจัยเนื่องซึ่งกันและกัน

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นธรรม ฝ่ายอกุศล ก็ต้องมีเหตุปัจจัย
หนุนเนื่องด้วยกัน และ ธรรมที่เป็นกุศล ด้วยก็เช่นกัน
ก็ต้องมีธรรมที่ เป็นเหตุปัจจัยสนับสนุน ด้วยเช่นกัน

  ธรรมที่จะทำให้ ธรรมอื่น ๆ ไม่ถดถอยลง เรียกว่า
  ธรรมสังเวช ภาษา ทางการเรียกว่า นิพพิทา

  ธรรมสังเวช หมายถึง ความสลดใจ 
  นิพพิทา หมายถึง ความหน่าย

 
  ธรรมสังเวช เป็น เหตุ 
  นิพพิทา เป็น ผล
  การพอกพูน ธรรมสังเวช เพื่อให้เกิดนิพพิทา จึงเป็นการสมควร


    วิธีการ พอกพูน ธรรมสังเวช
 
        1.จินตา คือ การพิจารณา
          พิจารณา รูป และ นามขันธ์ 5
          พิจารณาอย่างไร พิจารณาว่า
          มีความเกิด เป็นธรรมดา เป็นต้น
 
        2.มนตรา คือ การสวดบทพิจารณา
          เช่น บทพิจารณาสังขาร บทอภิณหปัจจเวก เป็นต้น

        3.อักขรา คือ การศึกษา
          อักขระของพระธรรม มีเนื้อหาด้วยธรรม 2 ประการ คือ
          น้อมไว้ในใจ กระทำไว้ด้วยเหตุสมควร
 
        4.สุตา คือ การฟัง สดับพระธรรม
          คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ด้วยอาการเคารพ

        5.เสวนา คือ การสนทนากับกัลยาณมิตร

        6.ภาวนา คือ การหมั่นภาวนา
          ให้รู้แ้จ้ง เห็นตามความเป็นจริง

 เหตุ 6 อย่างนี้เป็นเหตุให้เกิด ธรรมสังเวช
ถ้าบุคคลใดเว้นจากเหตุ 6 ประการนี้
ธรรมสังเวช ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในบุคคลนั้น

  ดังนั้นท่านทั้งหลาย ที่ยังขาดธรรมสังเวชข้อใด
หรือ มีข้อใดเกินไป ก็ต้องปรับสมดุลย์ ส่วนใหญ่
ข้อที่ 6 จะมีน้อยกันเกินไป เท่าที่พบและประสบ

  เจริญธรรม

  ธัมมะวังโส ภิกษุ
  21 กุมภาพันธ์ 2555