มหาสติปัฏฐาน 4 กับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

เริ่มโดย kai, ส.ค 01, 2024, 09:34 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

มหาสติปัฏฐาน 4 กับ กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

---------------------
ต่างกันดังนี้

1. มหาสติปัฏฐาน เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้า
แสดงแ่ก่ชาว กุรุ ในสถานที่แห่งนี้
คนส่วนใหญ่ปฎิบัติธรรมเป็นยอด
กล่าวว่าเป็นเมืองแห่งคนดี มีศีล และการภาวนา
ตลอดการเจริญสมาธิ กันเป็นส่วนใหญ่

  พระพุทธเจ้าจึงประกาศหลักธรรม
การปฏิบัติในทุกด้านของพระพุทธศาสนาเป็นหมวด 4 หมวด

  ว่าด้วยหมวด กาย เวทนา จิต และ ธรรม

2.ส่วนมัชฌิมากรรมฐานแบบลำดับ
เป็นกรรมฐานที่ที่านพระราหุล พุทธชิโนรส
รวบรวมหลักคำสอน

  และการปฏิิบัิติ พระองค์ท่านได้เรียนได้ศึกษา
กับพระอาจารย์ต่าง รวมทั้งพระพุทธองค์ด้วย

3.กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเป็นกรรมฐาน
ที่มีหลักการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอนในแนว ปฏิสัมภิทา เป็นหลัก
มีวิธีการเป็นแนวปฏิบัติ เพราะฟังแล้วปฏิบัติกันเลย

4.มหาสติปัฏฐาน กับ กรรมฐานมัชฌิมา เกี่ยวข้องกันอย่างไร
เกี่ยวข้องกันทั้งหมด เพราะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
เช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนกรรมฐาน
หรือ ข้อปฏิบัติเพียงแบบเดียว

  มีการสอน
      - อานาปานสติ
      - อนุสสติต
      - โพชฌงค์
      - โพธิปักขิยธรรม

      ทั้งหมดล้วนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

      ทั้งหมด มหาสติปัฏฐานก็เป็นหนึ่งในคำสอน
      กรรมฐานมัชฌิมาก็เป็นหนึ่งในคำสอน

      ดังนั้นการปฏิบัติที่สำคัญต้องรู้ตัว
      จริตของตัว ความชอบใจของตัว
      ดังนั้นคนหนึ่ง อาจจะปฏิบัติ อานาปานสติ ก็ไม่ผิด

      จะปฏิบัติตาม สติปัฏฐาน ก็ไม่ผิด
      จะเจริญพุทธานุสสติ ก็ไม่ผิด
      จะผิดได้อย่างไร เพราะปฏิบัติตามคำสั่งสอน
      ของพระพุทธองค์เช่นเดียวกัน แตกต่างกันด้วยวิธี

5.หลักการในพระพุทธศาสนานั้น เทียบเคียงได้ง่าย ดังนี้

  1.ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติกรรมฐานแบบไหนก็ตาม
ทุกกรรมฐาน ต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ และ ปัญญา

  2. ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติกรรมฐานแบบไหนก็ตาม
ทุกกรรมฐาน ล้วนแล้วแต่ต้องละกิเลส ทั้งหมด

  3. ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติกรรมฐานแบบไหนก็ตาม
ทุกกรรมฐาน ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์เพื่อการสิ้นทุกข์
คือ การเวียนว่ายตาย เกิด ในวัฏฏะสงสารนี้

6.กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ มีมาในพระไตรปิฏกหรือไม่
ก็ขอตอบว่ามี ซึ่งมีกระจัดกระจาย ในพระไตรปิฏก 
เช่นการเจริญพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นก็มี
กายคตาสติ ก็มี อานาปานสติ ก็มี

  แม้แต่ห้องพระธรรมปีติ ก็ุถูกแยกไว้ในคัมภีร์
  ธัมมะสังคิณีปกรณ์ โสภณเจตสิก
  ก็กล่าวเรื่องยุคลหก

7.พระมหาสติปัฏฐาน และพระสูตร ต่างในพระไตรปิฏก
ไม่ได้อธิบายการปฏิบัติ เพียงแต่กล่าวหัวข้อ
และพูดถึงหัวข้อเป็นหลัก เช่น กล่าวเรื่อง
อิริยาปถปรรพ ก็กล่าวเพียง อิริยาบถ
กับการมีสติ และกล่าวเคล็ด ไม่ได้บอก
วิธีการอย่างชัดเจน

8. กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับมีพระสูตร
และอธิบายการปฏิบัติ โดยการพระอาจารย์กับศิษย์
สืบกรรมฐานกันมาโดยตรง คือศิษย์ กับอาจารย์ เป็นต้น
จึงเป็นแนวปฏิบัติ เพราะศิษย์ฝึกผ่านจึงสอนต่อ
ไม่ผ่านก็ไม่สอน นาน ๆ เข้าไม่มีศิษย์ผ่าน
กรรมฐานมัชฌิมา ก็สูญอย่างในปัจจุบัน
ศิษย์ที่ผ่านมีน้อยมาก
คนส่วนมากจึงมองว่าเป็นกรรมฐาน
มี่ฝึกยาก จึงหันไปฝึก แบบง่าย ๆ ที่คิดว่า ง่าย ๆ

  อ้างถึง
  กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้น
  อยู่ในส่วนไหนของพระไตรปิฏก

  ถ้าในส่วนนี้ ก็ขอบอกว่าให้ไปอ่านเล่มสีน้ำเงิน
  ที่หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร รวบรวมไว้
  ติดต่อได้ที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม


  เพราะก็บอกว่า มีอยู่แทบจะทุกส่วนของพระไตรปิฏก
  กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ

  เป็นกรรมฐาน สายกลาง
  ไม่ได้สอนให้ทรมานตน และไม่ได้สอนให้สบาย

  ต้องวางจิตเป็นกลาง ไม่อยากได้
  และก็ไม่ใช่ไม่อยากได้

  เพราะกรรมฐานนั้นยิ่งอยาก
  ก็ยิ่งไม่ได้ ยิ่งไม่อยาก ก็ยิ่งไม่ได้

  ต้องวางใจเป็นกลาง

เจริญพร

30 มกราคม 2555