การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

เริ่มโดย kai, ส.ค 01, 2024, 09:20 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติของกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ

ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
[๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน
เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ
อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และ
เครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา

พวกใดนำทุกข์มาให้เราและพวกใดให้สุขแก่เรา
เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมดไม่มี
ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ
เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์
ในยศและความเสื่อมยศ
เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง
นี้เป็นอุเบกขาบารมีของเรา ฉะนี้แล.
        จบมหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕

ยกพระสูตร พระไตรปิฏก เล่มที่ 33 จริยาปิฏก

ซึ่งได้ถูกรวบรวม ความประพฤติ
เพื่อสร้างบารมีธรรมนำไปสู่ความพ้นทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญมา หลาย ๆ ชาติ


  จากเรื่องที่ยกมานั้น เป็นเรื่องที่แสดงเรื่องอุเบกขา
อันเป็นกำลังของผู้ประพฤติธรรมคือการวางใจเป็นกลาง
ไม่ให้ยินดี เมื่อเขาทำดีให้ ไม่ให้ยินร้าย เมื่อเขาให้ร้าย
การวางใจเป็นกลางนี้ ถึงแม้จะเห็นว่าดูเหมือนง่าย
แต่ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ๆ เพราะผู้ที่จะวางใจเป็นกลาง
ต้องมีขันติ อดทน มีทมะ การข่มใจตนได้
เป็นพื้นฐานสำหรับ ผู้ที่ยังต้องปฏิบัติธรรมกันอยู่
ส่วนผู้ที่จะละได้โดยไม่ต้องใช้ขันติ หรือทมะแล้ว
ก็ต้องเป็น พระอนาคามีบุคคลขึ้นไปจึงจักสามารถทำได้

  ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาในความสงบ
ที่เรียกว่า สันโดด นั้น พึงสังวรระวัง สติ
ตั้งไว้ในความอดทน และ ข่มกลั้นใจ
ในขณะเดียวกัน ก็รู้จักฝึก กรรมฐาน 4 อย่าง คือ

  เมตตากรรมฐาน
  กรุณากรรมฐาน
  มุทิตากรรมฐาน
  อุเบกขากรรมฐาน ไว้ด้วย

  เจริญธรรม

28 มกราคม 2555