จะละราคะ อย่างไรดีครับ มีวิธีการละราคะ ได้หรือไม่

เริ่มโดย kai, ต.ค 17, 2024, 10:14 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม จะละราคะ อย่างไรดีครับ มีวิธีการละราคะ ได้หรือไม่ครับ

ตอบ การละราคะนั้น เป็นระดับ อนาคามี
ผู้ที่สามารถ ละราคะได้ ย่อมละได้สองอย่าง
คือ ปฏิฆานุสัย และ ราคานุสัย
ทั้งสองอย่างนี้ ดับไปพร้อมกัน

ถาม ว่า ราคานุสัย กับ ปฏิฆานุสัย
ทำไมจึงดับพร้อมกัน ก็เพราะว่า ราคะ
คือ ความชอบใจ ยินดี ส่วน ปฏิฆะ
คือความไม่ชอบ ไม่ยินดี

ดังนั้น ถ้าส่วนใจชอบใจดับไป
ธรรมที่เป็นคู่กัน ย่อมดับไปเช่นเดียวกัน

ถ้าเข้าใจตรงนี้ ก็จะเห็นวิธีการว่า การละปฏิฆะ ย่อมทำให้ ราคะ ดับไปเช่นเดียวกัน กับ ดับราคะ ย่อมทำให้ ปฏิฆะ ดับ
ดังนั้นกระบวนการที่ทำให้ดับ ย่อมใช้กรรมฐาน ที่ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย ถ้าใครฟังติดตามเรื่อง อริยสัจจะ 4 ที่ พอจ ได้บรรยายในแนวทางของ ปัญญาวิมุตติ ย่อมจะรู้ดีว่า คำถามนี้เป็นส่วนของ นิโรธสัจจะ นั่นเอง

ในแนวทางกรรมฐาน ท่านกล่าวว่า มีกรรมฐานที่สามารถทำให้ราคะดับลงได้ คือ กายคตาสติ และ อัปปมัญญากรรมฐาน อีกอย่างหนึ่งคือ การเจริญ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การเจริญดับ ราคะ ดับ ปฏิฆะ แบ่งออกเป็นสามส่วน
ส่วนที่หยาบ ใช้เพียงการเจริญสติ ตามพิจารณาความเป็นจริง ของ อาการ 32 ( กายคตาสติ ) ความเป็นจริง ของอาการ 32 นั้นไม่ใช่เเรื่องความงาม หรือ ความไม่งาม ถ้าไปพิจารณาอย่างนี้ มันเป็น อสุภะกรรมฐาน ไม่ใช่กายคตาสติ

การเจริญคตาสติ มีหลักการแค่ 3 อย่าง
พิจารณาความจริง กาย ได้เกิดขึ้น
พิจารณาความจริง กาย ได้ตั้งอยู่
พิจารณาความจริง กาย ได้เสื่อมไป

ผู้พิจารณากายคตาสติ ให้ พิจารณาเพียงเท่านี้
ไม่ต้องไปนึกว่า สวย หรือ ไม่สวย งามหรือ ไม่งาม ถ้าไปนึกว่า มันสวย หรือ ไม่สวย น่าเกลียด หรือ ไม่น่าเกลียด มันจะกลายเป็น อสุภะกรรมฐานไป ซึ่งมันเป็นคนละกรรมฐาน เป็นประสงค์คนละแบบจากที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ นั่นคือความสับสนในวิธีการที่ปล่อยสังขารปรุงแต่งเรื่อยเปื่อยไปเอง
ดังนั้น อย่างหยาบ ก็คือ พิจารณาความจริงว่า กาย นี้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป
คำถาม ก็คือ กายเกิดขึ้นอย่างไร ตั้งอยู่อย่างไร เสื่อมไปอย่างไร นั่นคือการบรรลุ ถ้าเข้าใจก็บรรลุ ไม่เข้าใจก็ต้องพิจารณาต่อไป
ถ้าเข้าใจแล้ว ก็เรียกว่า บรรลุ ก็เข้าสู่ขั้นกลาง

ขั้นกลางทำอย่างไร ก็คือการทำกายทิพย์ ที่ละส่วน
นั่นคือการสร้างนิมิต อำนาจสมาธิ ให้เกิดขึ้น
เมื่อได้กายทิพย์แล้ว ก็บรรลุธรรม เป็น อนาคามี

เมื่อเป็นอนาคามี ก็เหลือขั้นสุดท้าย
คือ การเข้านิโรธสมาบัติ แบบ อนาคามี
พูดสั้น ๆ ก็แค่นี้


เจริญธรรม
27 เมษายน 2565