พอจ เคยบอกว่านิมิตจะเกิดหลัง สุข ใช่หรือไม่ครับ

เริ่มโดย kai, ต.ค 16, 2024, 09:13 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม พอจ เคยบอกว่านิมิตจะเกิดหลัง สุข ใช่หรือไม่ครับ
ถ้าอย่างนั้นการฝึกอุปัตตาจะปรากฏอักขระพุทโธได้หรือครับ


ตอบ เป็นคำถามที่ดี แสดงให้เห็นว่า ยังไม่เข้าใจ เรื่อง นิมิต
นิมิตมี 4 แบบ มี 2 ประเภท
ประเภทที่ 1
  1. บริกรรมนิมิต
  2. สมาธินิมิต
  3. อุเบกขานิมิต
ในประเภทที่ 1 ก็มี 4 ลักษณะ เป็น อุคคหนิมิตร ทั้งหมด
  1. บริกรรมนิมิต ที่เป็น วิตก วิจาร
  2. ธาตุนิมิต ที่เป็น วิจาร
  3. ปฏิกูลนิมิต ที่เป็น วิจาร
  4. สมาธินิมิต ที่เป็น วิจาร
ประเภทที่ 2 เป็น ปฏิภาคนิมิต มี 3 ลักษณะ
  1. สมาธินิมิต ที่มีสุข เป็นอารมณ์เดียว เป็นอนิมิต
( วิปัสสก )
  2. สมาธินิมิต ที่มีเอกัคคตา เพราะสุขดับไป เป็นนิมิต
( รูปสมาบัติ )
  3. สมาธินิมิต ที่มีอุเบกขานิมิต เป็นอารมณ์เดียว เป็นอนิมิต
( อรูปสมาบัติ )
ทั้งหมด นี้เป็น นิมิต ที่อยู่ในภาวะ แค่ ปฐมฌาน เท่านั้น
ดังนั้น ตัวอุปัตตา เป็นนิมิต ตัวไหน ตอบเป็น บริกรรมนิมิต
ตัวอุปัตตา ใช้อารมณ์ แทนบัญญัติ หรือ ใช้ รูปแทนคำว่า พุทโธ
เหมือนคนเห็นตัว ไม่รู้จักชื่อ ก็รู้จักกัน หรือ รู้จักกันทั้งตัวทั้งชื่อ
( กรณี ผู้ภาวนาใหม่ )

ส่วนคนภาวนา พุทโธ ไม่ผ่าน อุปัตตา อันนี้ จำบัญญัติก่อน แล้วไปรู้จักตัว
คนในสมัยหลวงปู่นั้น เขามีสมาธิมาก่อน ไม่ใช่ว่า พึ่งจะมารู้จัก พุทโธ เพราะถ้าให้ขึ้นกรรมฐาน ก็หมายความว่า ได้เรียนกรรมฐาน มา พอสมควรแก่การรับขึ้นกรรมฐาน แล้ว
นี่เป็นวิธีการรับขึ้นกรรมฐาน แบบสมัยหลวงปู่
( และ พอจ ก็ใช้วิธีนี้ กับพวกเราอยู่ตอนนี้ คือ ให้เรียนก่อน ถึงวาระหนึ่ง จึงให้ขึ้นกรรมฐาน )
( หมายเหตุ ถาม ทำไม วัดราชสิทธาราม ให้ขึ้นกรรมฐานก่อน แล้วเรียนทีหลัง

ตอบ ทีจริงไม่มีการเรียนกรรมฐานเลย ที่วัดราชสิทธาราม มีแต่แนวทางปฏิบัติ เท่านั้น ทางวัดราชสิทธาราม ทำผิดรูปแบบของเดิม เพราะให้ขึ้นก่อน เรียนทีหลัง อันนี้หวังผลจำนวนคน มากกว่า และทำไปตามสากลสมัย เพื่อความอยู่รอดของ สายกรรมฐาน แต่นาน ๆ ไปก็จะหมด แบบนี้เพราะคนที่มาขึ้น ทำไม่ได้จริง เมื่อทำไม่ได้จริง ก็จะมาเพียงฉาบฉวย เท่านั้น แล้วก็หายไป แต่อย่างไร พอจไปแสดงความเห็นอย่างนี้ไม่ได้ เดี๋ยวจะโดนเกลียดมากขึ้น เพราะว่า ระบบ พุทธพาณิชย์ มันมีอยู่ตรงนั้นด้วย แค่เจอเรือ่ง ลิขสิทธิ์ หนังสือนี่ก็ต้องเคารพเขาส่วนนั้น )

เจริญธรรม / เจริญพร
27 มีนาคม 2565