การรับรองการเป็นอรหันต์

เริ่มโดย kai, ต.ค 15, 2024, 09:56 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม มีเพื่อนที่ผมนับถือท่านหนึ่ง เขากล่าวว่า
เขาเป็น อริยะบุคคลแล้ว ระดับ อรหันต์
ดังนั้นทุกวันนี้เขาจึงไม่ไหว้ พระที่บวชกัน
เพราะเขากล่าวว่า พระที่บวชกันตอนนี้ไม่เป็น อรหันต์
ตัวเขามีสถานะที่สูงกว่า

ตอบ  พระพุทธเจ้าบัญญํติว่า อุบาสก อุบาสิกาที่เป็นโสดาบัน
เป็นสกาทาคามี เป็นอนาคามี ควรให้ความเคารพต่อ ภิกษุ
เพราะภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นพี่โดยฐานะ

อรหันต์ที่บรรลุ ไม่ก้าวสู่เพศบรรพชิต
มีอายุไม่เกิน 7 ทิวา 7 ราตรี 
-------------------------------------------------------------
 ในกาลจบเทศนา พระนางเขมาทรงดำรงอยู่ในพระอรหัต.
               เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว.
               พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า "มหาบพิตร พระนางเขมาจะบวชหรือปรินิพพาน จึงควร?"
               พระราชา. โปรดให้พระนางบวชเถิด พระเจ้าข้า อย่าเลยด้วยการปรินิพพาน.
               พระนางบรรพชาแล้ว ก็ได้เป็นสาวิกาผู้เลิศ ดังนี้แล.
------------------------------------------------------------
ปัญหาแรก ใครเป็นผู้รับรองการเป็น อรหันต์ โดไม่ถูกท้วงติงได้เลย แน่นอนมีผู้เดียว คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น นอกนั้นต้องถูกรับรองจากพระสาวก อันพระพุทธเจ้าแต่งตั้งเท่านั้น เช่น พระอนุรุทธ ผู้มีทิพยจักษุเป็นเลิศ สามารถมองเห็นลัญจกรพระอรหันต์ได้

ดังนั้นในยุคปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดรับรองการเป็นอรหันต์ได้ เว้นเสียแต่การเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธต่อเนื่อง 7 วัน 7 คืน ก็พอจะกล้อมแกล้มได้ว่าเป็นอรหันต์ 

อรหันต์ฆราวาส หรือ อุบาสก อุบาสิกา อรหันต์นั้น ไม่มีข้อความนี้ มีผู้เดียวที่ปรากฏในพระไตรปิฏกคือ พาหิยะ
แต่ข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อุบาสก อุบาสิกา เป็นโสดาบันก็ดี เป็นสกทาคามี เป็นอนาคามี ( ตรงนี้ไม่มีกล่าวถึงอรหันต์ สันนิษฐานว่าอรหันต์ไม่มีนั่นเอง ) ควรจักต้อง ไหว้ ทำสักการะแก่ ภิกษุ เพราะภิกษุถึงฐานะในความเป็นพี่
สรุปง่าย ๆ ก็คือ อุบาสก อุบาสิกา ที่เป็นโสดาบัน เป็นสกทาคามี เป็นอนาคามี ก็ต้องให้ความเคารพ ไหว้ ทำสักการะแก่ ภิกษุ ที่ได้บรรพชาแม้ในวันนั้น  นี่คือยกฐานะภิกษุ มีคำกล่าว แม้บุพพาการี กษัตริย์ ก็สมควรที่ต้องไหว้ ทำสักการะ แก่ภิกษุ
ดังนั้น เขาที่ว่า เป็นอรหันต์ ต้องถามว่า ใครเป็นผู้รับรอง
และได้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ทุกปีไหม

( ธรรมชาติของ พระอริยะ ย่อมเข้าผลสมาบัติ เป็นปกติไม่เว้นขาดเกิน 1 ปี )

เจริญธรรม / เจริญพร
11 มีนาคม 2565