โคจรสมาธิ = ลำดับกรรมฐาน = วิจารแห่งสมาธิ

เริ่มโดย kai, ต.ค 11, 2024, 10:35 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

โคจรสมาธิ = ลำดับกรรมฐาน = วิจารแห่งสมาธิ

สามประโยคนี้ คือ คำๆ เดียวกัน ในวิชา มูลกรรมฐาน

มูลกรรมฐาน แปลว่า ต้นตอแห่งวิธีการปฏิบัติ
ปฐมมรรค หมายถึง มูลกรรมฐาน
ดวงตาเห็นธรรม หมายถึง มูลกรรมฐาน
โสดาปัตติมรรค หมายถึง มูลกรรมฐาน


ถ้าเข้าใจอย่างนี้ จึงจะถูกต้อง
ดังนั้นการเรียน มูลกรรมฐาน ก็คือ
การเรียนโคจรสมาธิ หรือ การศึกษาวิจารแห่งสมาธิ
วิจารแห่งสมาธิ มีความจำเป็น
เพราะจิตจะมีโคจรสมาธิ เป็นที่พึ่ง
ในการอำนาจสมาธิ วิจารแห่งสมาธิ จะพัฒนาสูงสุด
เป็น เอกัคตาในอำนาจสมาธิ

วิตก คือ กรรมฐานที่เลือก
วิจาร คือ ลำดับกรรมฐาน
ปีติ คือ อำนาจจิตที่เริ่มเป็นสมาธิ
สุข คือ ผลแห่งปีติที่เป็นปัสสัทธิ
เอกัคคตา คือ อารมณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว ( สุข ) ในอำนาจสมาธิ
=======================================
อุเบกขา เป็นอารมณ์ที่วางสถาน ( สุข ) ในอำนาจสมาธิ แล้วทำกิจอันจิตปรารถนา เช่น โสตทิพย์ ทิพยจักษุ ปุพเพนิวาสานุสสติ เจโตปริยญาณ อิทธิวิธิ มโนมยิทธิ เป็นต้น
========================================
ความปรารถนาในอำนาจแห่งสมาธิ ประกอบด้วย สุขสัญญา + ลหุสัญญา
=========================================
สุขสัญญา มาจากอำนาจสุขสมาธิ
ลหุสัญญา มาจากการศึกษาพระยุคลธรรม
====================================
ด้วยอำนาจแห่ง สุขสัญญา + ลหุสัญญา จึงสามารถกระทำ กายทิพย์

กาย 5 ประการ ในอำนาจสมาธิ
1. กายเนื้อ กายที่เป็นตั้งแห่งจิต
2. กายหยาบ กายที่มีอำนาจสมาธิเป็น ขณิกะสมาธิ
3. กายละเอียด กายที่ได้อำนาจ อุปจาระสมาธิ
4. กายทิพย์ กายที่ได้อำนาจแห่งฌาน
5. กายอริยะ กายที่ปรากฏเฉพาะผู้บรรลุธรรม


เจริญธรรม / เจริญพร
31 มกราคม 2565
[/color]