มนุษย์ปุถุชน และ โยคาวจร ย่อมมีราคะเป็นธรรมดา

เริ่มโดย kai, ก.ย 29, 2024, 09:09 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

มนุษย์ปุถุชน และ โยคาวจร ย่อมมีราคะเป็นธรรมดา
ปัญหาใหญ่ของผู้ที่ต้องการเป็น อนาคามี และ อรหันต์
======================

การข้ามราคะ หรือ กดดับราคะ หรือหักห้ามราคะ
เป็นคุณธรรมของพระสกทาคามี และ
คุณธรรมของ พระนักบวช ภิกษุ ภิกษุณี

ดังนั้นการหักห้ามราคะ ในการบำเพ็ญภาวนา
จึงมีความสำคัญมาก หากไม่หักห้ามราคะ
การบำเพ็ญภาวนาย่อมไปได้ยาก และ หรือไปไม่ได้

ดังนั้นท่านทั้งหลายที่ยังไม่เป็นโสดาบัน
และยังไม่ได้เป็นนักบวชภิกษุ ภิกษุณี
แล้วก็ไม่พึงพะวงเรื่องนี้มากนักเพราะเหตุ โสดาบัน
ยังมีความกำหนัด ยังมีราคะ สนองความกำหนัด
และสนองราคะได้อยู่ แต่ สนองได้ตามธรรม

ที่นี้ นักบวชภิกษุ ภิกษุณี อันนี้สำคัญ ๆ
อย่างไรเพราะว่านักบวชพระพุทธเจ้าท่านให้ค่า
และคุณของนักบวชภิกษุ ภิกษุณีเท่ากับ
พระอริยะสกทาคามีขึ้นไป
นั่นจึงเป็นเหตุให้นักบวชมีคุณค่า
ให้ผลบุญเนกขัมมะแก่ผู้ทำสักการะบำรุง
แม้ยังไม่เป็นพระอริยะก็มีผลบุญเทียบเท่ากัน

พระพุทธเจ้าดักราคะนักบวชภิกษุ ภิกษุณีไว้
เป็นอาบัติระดับกลาง อย่างเด่นชัด
เช่นของภิกษุระบุไว้ว่า
ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนที่
นี่มันสูงขนาดนี้ดังนั้นพระภิกษุจึงจำเป็นต้องพยายามละราคะ

วิธีละราคะของพระปุถุชนนั้น
มีวิธีการเดียวเรียกว่า กรรมฐาน
กรรมฐานที่ใช้ เรียกว่า ตจปัญจกกรรมฐาน
สูงขึ้นไป ก็เป็น อสุภะกรรมฐาน
และ นวสีวถิกากรรมฐาน
ซึ่งเป็นกรรมฐานที่ต้องทำเพื่อลดราคะ

ดังนั้นพระภิกษุ ต้องลดราคะ และลดราคะไปเรื่อย ๆ
เริ่มจากการหักห้ามใจ ไม่ให้สนองไปตามความกำหนัด
เมื่อความกำหนัดเกิดขึ้นก็ให้ใช้กรรมฐานเข้าข่มไว้
เมื่อข่มด้วยกรรมฐานจิตก็จะบริสุทธิ์เป็นพักๆ

สิ่งสำคัญคืออาหาร
ต้องไม่บริโภคที่บำรุงความกำหนัด
ของหมักดอง ของที่มีธาตุไฟ
ส่วนใหญ่ต้องงดตามไปด้วย

เมื่อจิตละได้ชั่วคราวท่านให้พิจารณา
ตจปัญจกกรรมฐาน ตามความเป็นจริง
ก็จะเห็นความไม่งาม ไม่ควรหลงใหล
แต่ถ้าใจไม่มีกำลังกรรมฐานพอ มันก็ทะลุทะลวงไม่ได้

สำหรับพระที่ยังอ่อนด้านกรรมฐาน
ทางมูลกรรมฐานท่านกล่าวว่า
ไม่ควรอยู่รูปเดียว ไม่ควรอยู่ในที่สงัด
เพราะจะทำให้ความกำหนัดกำเริบเป็นความฟุ้งซ่าน
ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของครูอาจารย์

ความกำหนัดถ้ามันกำเริบมาก
มันอาจจะข้ามไปทำให้ผิดศีลได้
เพราะจิตขาดปัญญาถูกครอบงำด้วยความกำหนัด
ดังนั้น เมื่อกำหนัดต้องพยายามกำหนด กำหนดอะไร

ท่านให้กำหนดจิตความคิดว่า
ทุกข์ในสังสารวัฏมีจำนวนมาก
เมื่อจิตฉลาดแล้วไม่พึงวนเวียนในสังสารวัฏ
ก็ขึ้นอยู่กับภูมิธรรมที่ได้ฟังได้เรียนรู้มาว่า เป็นอย่างไร
ถ้าเรียนมาน้อยก็สู้ได้น้อยเรียนมามาก
ก็จะสามารถต้านทานได้มาก
ปัญหาของพระ จริง ๆ แล้ว มีแค่ 2 เรื่อง

1. ปัญหา ความกำหนัด ไม่ใช่เรื่องของความรัก
2. ปัญหา อยากเป็นใหญ่ ถูกครอบงำด้วยยศลาภสักการะ

ปัญหาของพระ ส่วนมากถูกครอบงำด้วยสองเรื่องนี้
ถ้าถูกครอบงำมากมันก็เลิกภาวนา และลาสิกขาในที่สุด

ดังนั้นการละราคะ จะสามารถละได้ด้วย ตจปัญจกกรรมฐาน
พระภิกษุเมื่อภาวนา ไม่มีครูอาจารย์ควบคุมพึงต้องภาวนากรรมฐานนี้


เจริญธรรม / เจริญพร
4 มกราคม 2565