กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ วัดพลับ กับ พอจ มีความสัมพันธ์ ใด ๆ บ้าง

เริ่มโดย kai, ก.ย 07, 2024, 09:59 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ วัดพลับ กับ พอจ มีความสัมพันธ์ ใด ๆ บ้างครับ

ตอบ มีความสัมพันธ์กันที่ครูอาจารย์ผู้สอน พอจ นั้น อยู่ในกรรมฐานสายนี้ ส่วน กรรมฐานสายนี้ ที่ทางคณะ 5 วัดราชสิทธาราม ( พลับ ) เรียกว่า กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในปัจจุบัน

แต่ ทางครู พอจ นั้นเรียกว่า มูลกรรมฐานกัจจายนะ
ซึ่งการสอนที่สำคัญ ก็อยู่ที่พพระเดชพระคุณสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน นั้นพระองค์ท่านเป็นบัณฑิต ที่รักษาแบบแผนทางกรรมฐานไว้ ตำราส่วนใหญ่ ก็จะเป็นสมเด็จพระสังฆราชหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน เป็นผู้จารบันทึกไว้ มีทั้งให้ลูกศิษย์ช่วยจารไว้ และที่สำคัญเป็นผู้ทำสังคายนา วิธีการปฏิบัติที่แปลกแหวกแนว กันในสมัยก่อน แบบผิด ๆ ออกไปมากในสมัยครั้ง รัชกาลที่ 2 ที่พระองค์โปรดให้ทำการสังคายนา วิธีการปฏิบัติกรรมฐาน ที่แต่ละที่สอนผิดเพี้ยนไป
แต่อย่าลืมว่า คัมภีร์เทศน์ลำดับธรรม เป็นคัมภีร์ผู้สืบทอด ที่หลวงปู่จ้าว วัดเกาะหงษ์มอบให้ หลวงปู่สุก อีกที ดังนั้นตำราคัมภีร์ ทางมูลกรรมฐาน ไม่ใช่ไม่มี มี และมีหลายที่ด้วย เพราะสำนักสอนบาลี สอนกรรมฐานต่าง ๆนั้นล้วนคัดลอกไปเป็นแบบแผนในการสอนวิชาบาลี การแปล ต้องนำไปอ้างอิง ในสมัยก่อน ก็มีสอง ชุด มีหลายผูก มากกว่า ร้อยผูก ( เล่ม )คือ โยชนา และ มูลกรรมฐาน แต่ตัวมูลกรรมฐาน นั้นไม่ได้คัดลอกไปมาก เหตุเพราะเป็น เปรียญเอก จึงจะมีสิทธิ์ในการคัดลอก และจะมีสิทธิ์ ในการเรียนศึกษา มูลกรรมฐาน เพราะมูลกรรมฐานไม่ใช่สำเร็จแค่เปรียญเอก แต่เป็นถึงครูสอนพระกรรมฐานด้วย ดังนั้น สมัยก่อนตำราส่วนนี้จึงไม่ได้มีการคัดลอก เหมือนอย่าง โยชนา

แต่เมื่อก่อนการสอนพระกรรมฐาน อาศัยคัมภีร์เพียงสองส่วนคือ เนื่องด้วยเพราะพระไตรปิฏก ไม่ได้มีแพร่หลายอย่างในปัจจุบัน ในสมัยนั้นจะมาอ่านพระไตรปิฏก คนทั่วไปอ่านไม่ได้ เพราะว่าอักษรไทยยังไม่มีใช้เลย มีใช้ของสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแห่ง เรียกว่าอักษรล้านนา ดังนั้นในสมัยนั้นมีอักษรที่ใช้กันมาที่สุดคืออักษรล้านนา ใช้กันตั้งแต่ สมัยสุโขทัย มาอยุธยา มาธนบุรี มารัตนโกสินทร์ และ อักษรที่นิยมในหมู่พระภิกษุ คืออักษรขอมบาลี ดังนั้นคนไทยยุคหลวงปู่จึงไม่ได้อ่านพระไตรปิฏก วัดถึงแม้มีการสอนหลักธรรม ก็จะนำหลักธรรม มาจาก สองคัมภีร์ คือ คัมภีร์ โยชนา มูลกัจจายย์ และ คัมภีร์ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ดังนั้นสองคัมภีร์ ก็มีการคัดลอดบันทึกกันหลากหลาย แต่วิธีการสอนก็เป็นแบบเก่าไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น ตัวกรรมฐาน วิธีการจึงเหมือนกันหมด
( สรุปตัวอักษรที่ใช้กันในช่วงนั้น ก็มี ลายสือไทย ปัลวะ ลาว ขอมบาลี จีน )
นั่นจึงไม่แปลกที่วัดในเมืองไทย พอสอนกรรมฐาน ก็คือ พุทโธ แล้ว พุทโธ มาจากไหน ตานี้อธิบายต่อก็หายาก พอดีสายวัดป่า หลวงปู่มั่น ท่านฝึกประยุกต์ไปถึง อานาปานสติ ท่านก็สอนผนวกแบบของท่าน คือเอา พุท ผูกลมหายใจเข้า โธ ผูกลมหายใจออก ก็เป็นอย่างนี้ นี่คือการสอนผิดวิธีการจากสำนักใหญ่ แต่หลวงปู่มั่นแม้มาเรียนกรรมฐานที่วัดพลับ 1 พรรษาอยู่ที่วัดพลับ แต่การสอนกรรมฐาน ก็มีทั้งสอบผ่านและไม่ผ่าน จึงกล่าวได้ว่า หลวงปู่มั่น ท่านสอบผ่านแบบของท่าน แต่ไม่ได้สอบผ่านแบบผู้สืบทอด สอบผ่านแบบพอเอาไปปฏิบัติต่อได้ แต่เอาไปสอนแบบครูนั้นไม่ได้ ถามว่าท่านสอนผิดไหมก็ต้องตอบว่า ไม่ผิด ท่านทำได้แบบของท่านอย่างนั้น แต่สอนผิดไปจากแบบเดิม คือ ทิ้งรูปแบบ การขึ้นเรียนกรรมฐาน อันนี้หลายคนก็เป็น ดังนั้นในปัจจุบัน สายวัดป่า แม้ปฏิบัติพุทโธ แต่ก็ไม่ได้สอนวิธีการของการเจริญพุทโธ ได้สมบูรณ์ ไม่สามารถแยกแยะ เป็นห้อง เป็นส่วน ออกไม่มีการเข้าสะกด การเจริญสุขสมาธิ หายไป แต่นั่นก็เป็นเรือ่งสายป่า เพราะในที่สุดสายวัดป่าก็จับมือกับสายพม่า ที่สอนยุบหนอ พองหนอ ประกอบกับหลักสูตรการเรียนพระกรรมฐานมาถูกเปลี่ยนแปลงในสมัย ร4 ร5 โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระญาณวชิโรรส ได้มาบูรณาการ การศึกษาของพระภิกษุสามเณรในะระบบรูปแบบใหม่ ดังนั้น โยชนา และ มูลกรรมฐานได้ถูกนำออก เพราะว่า มีหนังสือที่คนนิยมกล่าวว่าเป็นแบบเรียนที่ง่าย เป็นที่ยกย่องในหมู่นักแปลนั่นก็ คือ บาลีไวยากรณ์ ในประเทศศรีลังกา ซึ่งสอนการเรียนการใช้ แบบห้องเรียน เด็ก ๆ จนถึง ปริญญา ก็เลยเปลี่ยนมาใช้รูปแบบใหม่นี้ เรียกว่า บาลีไวยากรณ์ และการสอบเปรียญก็เปลี่ยนหลักสูตร เป็นการแปลธรรมบท นิทาน ชาดกก่อน ก็เหมือนสอนเด็ก ๆ ให้รู้จัก นิยาย นิทาน การ์ตูนก่อนประมาณนี้ และในที่สุด ก็มาสอน หลักธรรม ชื่อว่า มงคลทีปนี คือ สอนคุณธรรม ต่อมาก็มาสอน วันัยใน ปธ 6 พอมาสอนใน ปธ 7 ก็สอนหลักธรรมวิปัสสนา พอเป็น ปธ 8 - 9 ก็มาสอน วิสุทธิมรรค นี่ วิสุทธิมรรค มาแทน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ส่วน บาลีไวยากรณ์ มาแทน โยชนา

ดังนั้นถ้าถามความสัมพันธ์ กับ พอจ ว่า มีความสัมพันธ์อันใดกับ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ก็มีความสัมพันธ์ ในด้านครูผู้สอน แต่วิชากรรมฐาน เวลานำมาปฏิบัติ แล้ว ต้องบอกว่า กัจจายนะ สอนละเอียดกว่า มาก เพราะแค่ พระธรรมปีติ ห้องแรก ก็สอนสำเร็จธรรมได้ เพราะการสอนกรรมฐาน กัจายนะ ทุกระดับสามารถสำเร็จคุณธรรม ขั้นสูงได้หมด ขึ้นอยู่กับความปรารถนา ของผู้ภาวนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วิธีการสอน พระธรรมปีติ ของ พอจ มีมากกว่า ทางคณะ 5 และ การเข้าสะกด ก็ต่างกัน
ถามว่า แล้วไม่ขัดกันหรือ ก็ตอบว่า ถ้าทางคณะ 5 ไม่สอนผิดจากแบบเดิมแล้ว ก็ไม่ขัดกัน แน่นอน แต่ในทางตรงกันข้าม มูลกรรมฐาน กัจจายนะ สอนตั้งแต่ไม่เป็น ดังนั้นไม่ได้เริ่มที่ มัชฌิมา แต่เริ่มที่ อุปัตตา และการสอนของ กัจจายนะ มีหมวดธรรมชัดเจน รองรับกับ พระไตรปิฏก ไม่ผิดจาก พระไตรปิฏก
แล้วทำไม กรรมฐาน กัจจายนะ ไม่แพร่ หลาย
คำตอบก็ย้อนไปดู กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ของคณะ 5 สิ
ที่การสอน แบบนี้สูญหายไป ทั้ง ๆ ที่ประเพณีวัดในประเทศไทยทั้งหมด ก็ใช้รูปแบบประเพณีของกัจจายนะ อยู่ทั้งหมด แต่เหลือเพียงรูปแบบ ไม่มีบุคคลเข้าใจว่า รูปแบบนี้ทำเพื่ออะไร

เหมือนที่เรานึกถึงกรรมฐาน ก็คือ พุทโธ แต่พอภาวนา พุทโธ แล้ว ต่ออย่างไร ถึงจะไปบรรลุธรรมได้ ส่วนใหญ่ ก็อาศัยลองผิดลองถูก เหมือนสายวัดป่า ในที่สุดยุคหลังมา ก็เลยเอา มุตโตทัย มาใช้ร่วมด้วย ทั้ง ๆ ที่จริงสายวัดป่า ไม่มีวิธีการมาก่อนที่สืบทอดได้ จนกระทั่ง หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคลก็ให้พระลูกศิษย์ ซึ่งเป็นเปรียญ รวบรวมวิชากรรมฐาน มาสอนที่ สถาบันพลังจิตตานุภาพ ที่นำมาสอนก็เป็นหลักสูตรใหม่ ที่ ใคร ๆ ก็รู้กันทั่วไป แต่นำมาเรียบเรียง อาศัยรูปแบบศรัทธาในสายป่า แต่มีพิเศษ พาอยู่ธุดงค์ เรียกว่าฝึกครูกรรมฐาน แล้วก็บัญญัติ ชื่อวิชาขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดด้วยชื่อตามรูปแบบเช่น วิทิสสาสมาธิ สมาธิเล็ก ๆ ทำทีละหน่อย นิรสาสมาธิ อย่างนี้เป็นต้น บัญญัตใหม่หมด คนก็ไปเรียนเป็นครูกรรมฐาน อาศัยว่าหลวงพ่อเป็นอดีตศิษย์อุปัฏฐาก หลวงปู่มั่นมาก่อน คนก็เชื่อถือ ปฏิบัติตาม แต่สายป่า ดำเนินวิถีธรรม แบบครูอาจารย์ ซึ่งติดมาจาก วัดพลับอันนี้เขารักษาได้ดี ในขณะที่วัดพลับรักษา ธรรมเนียมนี้ไม่ได้

เหตุที่กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สูญหายไปเหลืออยู่ทีเดียวก็เป็นเพราะว่ายุค สองขุนพลแห่งธรรม ที่หลายคนเชิดชูนี้ว่าเป็น สายปัญญา คือ หลวงพ่อพุทธทาส และ หลวงพ่อปัญญา ที่มีการสอนธรรมตามแนวแบบเซ็น หลวงพ่อพุทธทาสได้โต้แย้ง วิธีการ การขึ้นกรรมฐาน ของ มัชฌิมา ในหนังสืออานาปานสติไม่ต่ำ กว่า 30 หน้า มีหยอดตั้งแต่ อารัมภบท กลาง ๆ และท้าย โดยนำพระไตรปิฏก อานาปานสติปฏิสัมภิทามรรค ออกมาอ่านแล้วอธิบาย เชื่อสิว่า พอจ อ่านมาหลายรอบแล้ว ทำตามมาหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็ไม่ได้ ฌาน จึงไม่ค่อยชอบเรื่องสมาธิ มาตั้งแต่เป็น สามเณร นั่นเพราะว่าความเข้าใจผิด ตามครูที่สอนผิด นั่นเอง ส่วนในหนังสือ มีข้อความปรามาส เรื่องพิธีขึ้นกรรมฐาน ตลอดถึงการเรียกองค์ พระ อะไรต่าง ๆ แต่เนื่องด้วย หลวงพ่อพุทธทาส รู้เพียงผิวเผินของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพราะท่านมีอคติอยู่ก่อนแล้ว การบรรยายที่ผิดในหนังสือหลวงพ่อพุทธทาส กล่าวผิดตั้งแต่ ขั้นที่สอง และกล่าวว่า อานาปานสติได้ฌาน ตั้งแต่ขั้นที่ 3 ซึ่งเป็นข้อความที่ผิด เพราะการได้ ฌาน ในอานาปานสติจะอยู่ที่ขั้น 11 ของอานาปานสติ อันนี้จะไม่วิจารณ์มากนัก เอาเป็นว่าไปอ่านกันเองก็แล้วกัน

ส่วนสาเหตุหลัก ๆ ก็คือ ครูกรรมฐาน สาย มัชฌิมา แบบลำดับ นี้ มุ่งไปทางการออกฤทธิ์ ออกเดชมากไป ส่วนมากงานที่ทำกันของครูสายนี้ คืองานนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก เป็นหลัก พ่นน้ำหมาก เสกน้ำมนต์ สร้างวัตถุมงคล แน่นอนก็จะต้องถูกโจมตีไปด้วย และการสอนกรรมฐาน คนที่มาเรียนก็ไม่เรียนตามขั้นตอน แต่เรียน เพื่อฤทธิ์ เพื่อเดช สุดท้ายก็ก้าวเข้าไปสู่ พุทธพาณิชย์ นี่คือการสูญเสียบุคคลากร การสอน เพราะมีแต่บุคคลากร ประเภทเสก อย่างเช่น หลวงพ่อรวย วัดตะโก เป็นศิษย์ ที่วัดพลับ แต่ไม่เคยสอนกรรมฐาน ตามแบบวัดพลับ หลวงปู่โต๊ะ มาเรียนพร้อม ๆ กับ หลวงพ่อสด แต่เวลาไปสอนก็เป็นวิธีแบบหลวงพ่อโต๊ะ หลวงพ่อสด ก็เอากาย 18 ไปสอน ไปเป็นวิธีของท่าน อีก และอีกหลายรูป ที่ไปสอนไม่ได้สอนตาม มูลกรรมฐาน เพราะมายุคใหม่ นี่เอง ประกอบกับ การรณรงค์ ทางภูมิปัญญาธรรม ของสำนัก วัดมหาธาตุ พระอภิธรรมโชติกะในแนวการสอนแบบพม่า รูปแบบ ยุบหนอ พองหนอ พระที่ร่วมเผยแพร่ ในสายมัชฌิมา ก็เริ่มจางหมดหาย แหล่งสุดท้าย ก็คือวัดราชบพิตร ที่อดีตพระสังฆราช องค์ที 18 สนับสนุน พอพระสังฆราช สววรคต เปลี่ยนเป็นสังฆราช องค์ที่ 19 ท่านก็ไปเรียนที่วัดพลับ แล้วมาสร้างสมเด็จพระอรหัง แต่ถึงแม้อย่างพระสังฆราชองค์ที่ 19 ก็ไปสนับสนุนสายวัดป่า เพราะว่า วัดบวรนิเวศ เป็นสายธรรมยุต ย่อมต้องสนันสนุนสายวัดป่า ซึ่งเป็นธรรมยุติ ก่อน ดังนั้นเห็นว่า ทางสายวัดป่าก็พยายามสร้าง สถาบันจิตตานุภาพ ดังนั้นเพื่อให้กรรมฐาน ไม่ต้องมีรูปแบบมากขึ้น จึงสนับสนุนสายวัดป่า เป็นหลัก

นานๆ ไปก็จะหมด เพราะว่า กรรมฐาน สายนี้ หมดเพราะไม่มีพระอริยะ สืบต่อความรู้ทางสายกรรมฐาน เลย
ธัมมะวังโส เป็นเพียงครูอาจารย์ เล็ก ๆ ที่แม้ ส่วนใหญ่จะทราบดีแล้วว่า ความรู้ทางกรรมฐาน ความลับทางสายกรรมฐาน ธัมมะวังโส ตอนนี้รู้มากที่สุด เช่น ความลับของคาถาพญาไก่เถื่อน โศลก 49 บท อยู่กับ ธัมมะวังโส ขั้นตอนการเดินจิต ธาตุกรรมฐาน มีแต่ธัมมะวังโส ที่สอนตอนนี้

แต่ทำไมจึงไม่ได้รับการสนับสนุน จาก ส่วนกลาง

จะตอบว่าไม่สนับสนุนก็ไม่ถูก เพราะว่าเวลาสนทนากับ หลวงพ่อพระครูก็ไม่ได้ขัดแย้งอะไร กัน แต่บรรดาศิษย์ สายคณะ 5 ได้กราบเรียนกับ หลวงพ่อพระครู ว่าไม่ควรสนับสนุน ธัมมะวังโส เพราะไม่ได้เรียนที่วัดพลับ มันมีเรื่องผลประโยชน์ ความน่าเชื่อถือหลายเรื่อง นั่นเป็นเหตุให ที่ พอจ ถูกศิษย์คณะ 5 วัดพลับส่งจดหมายโจมตี ต่อว่า มาหลายฉบัย จนกระทั่ง ผู้ดูแลเว็บทนไม่ได้ ก็ต้องลาจากกันไป มีศิษย์หลายคนทีจากไป เพราะว่า เวลาไปที่คณะ 5 แล้วทางนั้นจะไม่ต้อนรับพูดคุยด้วยตามปกติ หากบอกว่า รู้จัก ธัมมะวังโส ช่วงหลังเวลาส่งใครไปก็ต้องย้ำว่า อย่าบอกว่า รู้จัก พอจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2552 - 2560 ธัมมะวังโส ถูกจดหมายหลายฉบับ จากชาวศิษย์คณะ 5 วัดพลับ ว่า ให้เลิกสอนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ พอจ ก็ตอบไปว่า ไม่ได้สอนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ฉันสอนแบบ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ เท่านั้น ทุกวันนี้ก็ยังโดนด่าอยู่ แต่เพลาๆ ลงเพราะว่า ฉันเป็นฝ่ายสงบ ไม่ได้โต้เถียง อะไรกับทางนั้น และก็ทำงานปิดทองหลังพระ สนับสนุน คณะ 5 ศูนย์กลางกรรมฐาน มาตลอด ไม่เคยเอาดีมาเข้าตัว ไม่เคยขอความช่วยเหลือ ไปที่ คณะ 5 ไม่เคยได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์ เสบียง ใด ๆ จาก ศูนย์กลางพระกรรมฐาน เลย ใน 15 ปีมานี้ อย่างไร ธัมมะวังโส ต้องระลึก ถึงคุณครูอาจารย์ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เป็นอย่างยิ่ง เพราะพระองค์เป็นครูที่หาได้ยาก ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตลอดถึง ขรัวตาทอง พระอาจารย์เฒ่า ที่เป็นครูอาจารย์ ด้วยความเคารพ แต่บางเรือ่งเพราะความเป็น สมณะ เป็นพระจะไปพูดอุตริขึ้นมาไม่ได้ เดี๋ยวโดนข้อหาหนัก เอาเป็นว่า เคารพในวิชากรรมฐาน สายนี้ เพราะเป็นสายเดียวที่ พอจ ที่ปฏิบัติตามได้ และได้ผล

ดังนั้น ธัมมะวังโส ทำงานเป็นเพียง แบล๊กกราวนด์ให้กับ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม แบบปิดทองหลังพระ ตามความประสงค์ ของเหล่าศิษย์ ที่ทางนั้นขอร้อง ทางจดหมายให้ฉันอยู่แนวหลัง เท่านั้น ก็ไม่เป็นไร เพราะฉัน ไม่ได้ต้องการ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ อยู่แล้ว จะทำเท่าที่ทำได้ ฉันทำการเผยแผ่พระธรรม ตามแบบอย่างชาวบ้านบางระจัน คือ สู้หมดตัก หลังจากหมดตักตายแล้วก็แล้ว จะอย่างไรก็ว่าต่อกันไป ก็แล้วแต่ทาง กรุงศรีอยุธยา ก็แล้วกัน
พิมพ์มาแล้ว มันก็เยอะ ในคำถาม เอาเป็นว่าคุยเท่านี้ก็แล้วกัน

เจริญธรรม / เจริญพร
18 ตุลาคม 2564