ปฏิจจสมุปบาท รอบ ที่ 1 ชื่อว่า อนุโลม

เริ่มโดย kai, ก.ย 01, 2024, 09:36 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ปฏิจจสมุปบาท รอบ ที่ 1 ชื่อว่า อนุโลม
=============================


วิธีการปฏิบัติ
เข้าอานาปานสติจนถึงขั้นที่ 15
อธิษฐาน รูปนิมิต ทั้งปวงจงเป็นปัญญา บังเกิดปรมัตถ์แก่ข้าพเจ้า จากนั้นก็ดำเนินจิตวิปัสสนา
แล้วสวดพระอภิธรรม 2 บท สลับกลับไป กลับมา
----------------------------------
การปรากฏ ของ วิปัสนนา ใช้เวลาตามบารมี ของ พอจ ประมาณ 2 ชม อยู่กับความมืด ไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น มีแค่ดวงนิมิตอานาปานสติปรากฏลอยเคว้งอยู่เท่ากนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 2 ชม ดวงนิมิต ก็เกิดอาการเหลื่อมพราย จิตก็มองความเหลื่อมพราย และ สวดบทอภิธรรมไปเรื่อย ๆ ถามว่าบทอภิธรรม โดยรวมที่สวดเราเข้าใจก่อนหรือป่าว ต้องตอบเลยว่าไม่เคยแปลมาก่อน บางคำก็แปลได้ บางคำก็แปลไม่ได้ แต่ ความเหลื่อมพราย นั้นจะเปลี่ยนสภาวะ แล้ว การกำหนดรู้ทางการสวดเราก็หยุดลงไม่ต้องสวด เพราะอาการเหลื่อมพรายต่าง ๆ เริ่มมีอาการรุนแรง ส่องแสงมากมายเป็นสีต่าง ๆ ฉับพลันจิตมันก็มองเห็นและรู้ตาม แต่ไม่สามารถจะบอกได้ว่า มันรู้อะไรแต่ มันรู้ มันรู้ มันรู้ ( ครูอาจารย์ท่านกล่าวว่า รู้แบบปรมัตถ์ ) สภาวะจิตพอรู้มันก็วาบ แล้วมันก็รู้ต่อ แล้วมันก็วาบ แล้วก็มันก็รู้ต่อ ปัจจยการ ทั้ง 12 ประการแบบอนุโลม กว่าจะครบใชเวลา 1 วันกว่า ๆ แต่พอรู้แล้ว ความรู้มันรู้แล้วดับ มันรู้แล้ววางเลย แต่สิ่งที่รู้กลับไม่รู้ว่าจะอธิบาย ว่ารู้อย่างไร พอจ ไม่รู้ว่าจะอธิบายอย่างไร ถ้าจะอธิบาย ก็คงอาศัยบทพระอภิธรรม 2 บทนี้ อธิบายเพราะเท่าที่พิจารณาดู มันเริ่มจากรู้แสงสว่างเป็นกุศล พอรู้ว่าเป็นกุศล มันก็รู้ว่าเป็นสภาวะธรรม ต่อไปมันก็รู้ในแสงที่มืดเป็นอกุศล พอรู้ว่าเป็นอกุศล มันก็รู้ว่าเป็นสภาวะธรรม
ในสภาวะนั้น มี สิ่งที่เรียกว่า สิ่งที่เรียกว่าตั้งอยู่ สิ่งที่เรียกว่าดับลง กุศล เกิด ธรรมอื่นก็ดับ ธรรมอื่นดับ ก็กุศลเกิด มันสลับกันไปมาอย่างนี้ ในห้อง ทุกข์ เป็นห้องแรก มันควานไปหา ความไม่รู้ แล้วเราก็ไม่รู้อะไรเลย ในอวิชชา แต่พอความรู้เกิดขึ้น มันก็ทะลุขึ้นไปเป็นการปรุงแต่งห้องต่อไป และก็ต่อไป ต่อไป จนมันวนกลับมาที่ความทุกข์ รอบที่ 1 ก็เกิดแสงสว่างรอบตัว ครูท่านเรียกว่า ปฐมมรรค เกิด แล้วก็วนไปรอบที่ 2 จนแสงสว่างอีกสีหนึ่งก็เกิด ความรู้ว่ากิเลสได้ละแล้ว ก็เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แล้วมันก็วนไปรอบที่ 3 แสงสว่างก็เกิดอีกสีหนึ่ง แล้วมันก็รู้ว่า กิเลสที่เหลืออยู่บางอย่างได้ละแล้ว แล้วมันก็วนไปอีก 1 รอบ วนอย่างนี้ ทั้งหมด 7 รอบ รอบที่ 7 จึงเข้าใจโดยปรมัตถ์ ความเกิด มีสาเหตุอย่างนี้ ความตั้งอยู่ มีสาเหตุอย่างนี้ ความเสื่อมดับไป มีสาเหตุอย่างนี้ ความเข้าไปสลัดคืน ได้เเกิดขึ้น การได้รู้ในอาการสลัดคืนได้เกิด ความสลัดคืนไม่เอามาแต่ตัวตนต่อไปได้เกิดขึ้น จิตก็สลัดคืนหายใจเข้า ก็กำหนดรู้ หายใจออก ก็กำหนดรู้ นิมิตที่เกิด ก็กำหนดรู้ กำหนดรู้ว่า ได้สลัดคืน ราคะ โทสะ โมหะ อนุสัย ลงแล้ว จากนั้นจิตก็เตรียมจะขึ้น ปฏิจจสมุปบาท รอบที่ 2 คือ ปฏิโลม
แต่ด้วยการปฏิบัติมาทั้งหมดนี้ใช้เวลาผ่านไปทั้งหมด เกือบ 30 ชมแล้วจึงยุติการเข้าปฏิจสมุปบาทรอบที่ 1 จากนั้นอธิษฐานออกจากกรรมฐาน
===========================================
พระสังคิณี
กุสะลา ธัมมา, พระธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
อะกุสะลา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล, ให้ผลเป็นความทุกข์,
อัพ๎ยากะตา ธัมมา, ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต, เป็นจิตกลาง ๆ อยู่,
กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล
ยัส๎ะมิง สะมะเย, ในสมัยใด,
กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง, กามาวจรกุศลจิตที่ร่วมด้วยโสมนัส, คือความยินดี, ประกอบด้วยญาน คือ ปัญญาเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใด ๆ,
รูปารัมมะนัง วา, จะเป็นรูปารมณ์, คือยินดีในรูปเป็นอารมณ์ก็ดี,
สัททารัมมะนัง วา, จะเป็นสัททารมณ์, คือยินดีในเสียงเป็นอารมณ์ก็ดี,
คันธารัมมะนัง วา, จะเป็นคันธารมณ์, คือยินดีในกลิ่นเป็นอารมณ์ก็ดี,
ระสารัมมะนัง วา, จะเป็นรสารมณ์, คือยินดีในรสเป็นอารมณ์ก็ดี,
โผฏฐัพพารัมมะนัง วา, จะเป็นโผฏฐัพพารมณ์, คือยินดีในสิ่งที่กระทบถูกต้องกายเป็นอารมณ์ก็ดี,
ธัมมารัมมะนัง วา ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ, จะเป็นธรรมารมณ์, คือยินดีในธรรมเป็นอารมณ์ก็ดี,
ตัส๎ะมิง สะมะเย ผัสโส โหติ, อะวิกเขโป โหติ, เย วา ปะนะ ตัส๎ะมิง สะมะเย, อัญเญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา, ในสมัยนั้นผัสสะและความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี, อีกอย่างหนึ่ง ในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใด, แม้อื่นมีอยู่เป็นธรรมที่ไม่มีรูป, อาศัยกันและกันเกิดขึ้น,
อิเม ธัมมา กุสะลา, ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล, ให้ผลเป็นความสุข
พระวิภังค์
ปัญจักขันธา, ขันธ์ห้าคือส่วนประกอบหน้าอย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต ได้แก่,
รูปักขันโธ, รูปขันธ์คือส่วนที่เป็นรูปภายนอกและภายในคือร่างกายนี้, ประกอบด้วยธาตุ ๔,
เวทะนากขันโธ, เวทนาขันธ์คือความรู้สึกเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ,
สัญญากขันโธ, สัญญาขันธ์คือความจำได้หมายรู้ในอารมณ์ ๖,
สังขารักขันโธ, สังขารขันธ์คือความคิดที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลาง ๆ,
วิญญาณักขันโธ, วิญญาณขันธ์คือความรู้แจ้งในอารมณ์ ทางอายตนะทั้ง ๖,
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, บรรดาขันธ์ทั้งหมดรูปขันธ์เป็นอย่างไร,
ยังกิญจิ รูปัง, รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง,
อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง, ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน,
อัชฌัตตัง วา, ภายในก็ตาม,
พะหิทธา วา, ภายนอกก็ตาม,
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา, หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม
หีนัง วา ปะณีตัง วา, เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม
ยัง ทูเร วา สันติเก วา, อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม,
ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิต๎วา อะภิสังขิปิต๎วา, ย่นกล่าวร่วมกัน,
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ, เรียกว่ารูปขันธ์

ใครอ่านเข้าใจก็อนุโมทนา
ไม่เข้าใจก็พยายามสั่งสมบารมีไปก่อน
เพราะอันนี้เป็นธรรมขั้นสูงสุด ของ มูลกรรมฐาน


เจริญธรรม / เจริญพร
7 ตุลาคม 2564