วิธีการที่ พอจ เข้ากรรมฐานนี้ เรียกว่า วิธีการอะไร มีสอนในพระไตรปิฏกหรือไม่

เริ่มโดย kai, ส.ค 29, 2024, 10:02 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม วิธีการที่ พอจ เข้ากรรมฐานนี้ เรียกว่า วิธีการอะไร
มีสอนในพระไตรปิฏกหรือไม่ครับ
แล้ว พอจ เข้าปฏิจสมุปบาทรอบที่ 4 ได้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ ครับ


ตอบ เคยตอบไปแล้วแต่ข้อมูลข้อความหายไปกลับเฟสเก่า

วิธีการนี้จัดว่าเป็นวิธีการสูงสุดของการเข้ากรรมฐานต่อเนื่อง
ในระดับของ พอจ เองนั้นสามารถกระทำได้ตามที่ครูท่านบอกไว้ว่า เข้าต่อเนื่องได้ 12 วัน

แต่ถ้าเข้าขนาดนั้นตอนออกกรรมฐานมา
ร่างกายที่ป่วยอาจจะทรุดโทรมลงได้
ท่านจึงแนะนำว่า พอจ ไม่ควรเข้าออก เกิน 7 วัน

ในยุดปัจจุบันนี้ หาพระที่นั่งกรรมฐานต่อเนื่อง 7 วัน
ได้ที่ไหน ในประเทศไทย แต่ พอจ สามารถกระทำได้
และไม่ได้ไปทำอวดใครทำอยู่แต่เงียบๆ เฉพาะตนเท่านั้น
=====================================
แม่บท
ยา จายํ ภิกฺขุ อาภาธาตุ ยา จ สุภาธาตุ ยา จ อากาสานญฺจายตนธาตุ ยา จ วิญญาณญฺจายตนธาตุ ยา จ อากิญฺจญฺายตนธาตุ อิมา ธาตุโย สญฺญาสมาปตฺติ ปตฺตพฺพา ฯ ยายํ ภิกฺขุ เนวสญฺญานาสญฺญายตนธาตุ อยํ ธาตุ สงฺขาราวเสสสมาปตฺติปตฺตพฺพา
( บทตั้ง สญญาสมาบัติ แล สังขารวิเสสาสมาบัติ )
สังขาราวิเสสสมาบัติ ( หรือ สมาบัติ 8 ) มีดังนี้ เริ่มเข้าดังนี้

1. อาภาธาตุ
2. สุภาธาตุ
3. อากาสานัญจายตนะธาตุ
4. วิญญานัญจายตนะธาตุ
5. อากิญจัญญายตนะธาตุ
6. เนวนาสัญญายตนะธาตุ
( 7. นิโรธอายตนะธาตุ ) ในพระสูตร ตัดส่วนนี้ออก ใน มูลกรรมฐาน ทรงไว้
8. สัญญาเวทยิตนิโรธธาตุ
ลำดับการเข้า อรูปสมาบัติ 8 ต้องเริ่มจาก อาภาธาตุ ไม่ใช่เริ่มจาก จตุตถฌาน ซึ่งเป็นรูป กรรมฐาน เป็น ปฏิปักษ์ ต่อ อรูป
======================================
ข้อความตามแม่บทส่วนนี้ ก็ตามนี้ ส่วน ที่ พอจ ทำนั้นจะตัดออกไป 2 อย่าง คือ การทำ อาภาธาตุ เหตุเพราะทำต่อเนื่องมากับ เนสัชชิกธุดงค์ แล้วจึงไม่ต้องทำซ้ำ และ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่ได้อธิษฐาน แต่ อธิษฐานต่ำกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ ( แต่ไม่สามารถบอกพวกท่านได้ ว่า อธิษฐานอะไร เพื่อไม่ให้ต้องอาบัติ )
โดยปกติ วิธีการเข้ากรรมฐานนี้ พอจ ก็จะไม่บอกแต่ปีนี้จำเป็นต้องบอกไว้ เพื่อให้ลูกศิษย์ได้จดจำวิธีการเข้ากรรมฐานระดับสูง หาก พอจ ละสังชารไปแล้ว จะได้สืบต่อวิธีการนี้ต่อไปนั่นเอง ปีนี้จึงบอกขั้นตอนวิธีการไว้ทุกครั้ง
ส่วนการเข้าปฏิจสมุปบาทรอบที่ 4 พอจ สามารถกระทำได้สำเร็จเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2559 นับปีนี้ได้ ก็รวม 5 ปีแล้ว

เจริญธรรม / เจริญพร
22 กันยายน 2564