พระยุคลธรรม ไม่มีธาตุ อย่างที่ ครูอาจารย์หลายรูปไปอธิบาย

เริ่มโดย kai, ส.ค 14, 2024, 09:59 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

พระยุคลธรรม ไม่มีธาตุ

อย่างที่ ครูอาจารย์หลายรูปไปอธิบาย
เหตุเพราะ พระยุคลธรรม ไม่ใช่รูปขันธ์

รูปขันธ์ คือ มหาภูตรูป 4 มี
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ

แต่พระยุคลธรรม คำว่า กาย
หมายถึง เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

กายที่ในที่นี้ อารมณ์สภาวะสมาธิ ที่จะเป็นทิพย์
และ ประกอบเป็นกายทิพย์
ชื่อทางธรรมกรรมฐาน คือ
คำว่า นามกาย ( กายที่ไม่มีธาตุ )

แต่นามกายนี้ อาศัย จิต / จิต
ในที่นี้ท่านกล่าวว่า คือ วิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ หมายถึงการรู้แจ้งอารมณ์
คือรู้แจ้งในความรู้สึก รู้แจ้งในความจำ
รู้แจ้งในความคิด การรู้แจ้งจึงเป็นตัวตน
ถ้าไม่รู้แจ้งก็ไม่มีตัวตน

เช่น สมมุติว่า หยิกแขน  รู้สึกเจ็บ จำได้ว่าเจ็บ คิดไปในเรื่องเจ็บ อันนี้ชื่อว่า นามกาย เกิดแล้ว ความรู้แจ้ง ในความเจ็บนั้น ชื่อว่า จิต ได้เกิดแล้ว

ดังนั้นคำว่า จิตนี้ ยังไม่ได้ผ่องใส
ยังเพียงแค่รู้ ยังไม่ถึงคำว่า จิต ในพระยุคลธรรม

จิต ในพระยุคลธรรม
หมายถึงจิตที่เข้าไปรู้สภาวะของสมาธิ
และบริสุทธิ์ด้วยอำนาจสมาธิ
จิตนี้จึงเป็นตัวแปรสำคัญ เป็นตัวตน ( อัตตา )
ท่านกล่าวว่า จะละอัตตา
ต้อง หาอัตตา ถ้าอัตตา ไม่ได้ ก็ละอัตตา ไม่ได้

ดังนั้นการปรากฏของจิต
ในพระยุคลธรรม ท่านว่าจัดสำคัญมาก
ในขณะที่การสอนเรื่องสมาธิ
ส่วนของทางนอกพุทธศาสนา
ข้ามสิ่งเหล่านี้ไปจัดองค์ ฌานว่า 5 ประการ
แต่ในทางพุทธจัดองค์ฌาน มี 6
นั่นคือพระยุคลธรรมแทรกเข้ามาต่อจาก ปีติ
 
ดังนั้น ถ้าจิตในพระยุคลธรรม
ไม่ปรากฏ การรู้แจ้งเห็นจริง
(ยถาภูตาญาณทัศศนะ) ก็จะไม่ปรากฏ
การบรรลุธรรม ก็จะไม่มี มีแค่การเข้าฌาน เท่านั้น
จึงไม่มีวิปัสสนา ไม่มีญาณแห่งวิปัสสนา

ดังนั้นถ้าจิต ในพระยุคลธรรมปรากฏ
คำว่า ธรรมก็ปรากฏพร้อม
ท่านจึงเรียกจิตนี้ว่า
ธรรมกาย ภูตกาย พรหมกาย เป็นต้น

สรุป นามกาย ก็คือ กายยุคลธรรม
ธรรมกาย ก็คือ จิตยุคลธรรม
เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว
จิตจะละจากรูปขันธ์ โดยธรรมชาติของสมาธิ

นั่นคือคำตอบว่า รูปขันธ์ไม่ปรากฏ 
นามกายที่เป็นธาตุจึงไม่มี เหลือแต่
นามกายที่เกาะอยู่ จิต ดังนั้นในสมาธิ
อิริยาบถก็ดับ ธาตุก็ดับ ความทรมานและทุกข์
เพราะรูปขันธ์เป็นตัวแปรจึงไม่มีต่อไป
เพราะ จิตสร้างกายทิพย์
หรือ อยู่ในกายทิพย์แล้ว นั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร
8 กันยายน 2564