แก่นสารของการภาวนาแบบพุทธ

เริ่มโดย kai, ส.ค 05, 2024, 09:02 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ธรรมะสาระวันนี้ "แก่นสารของการภาวนาแบบพุทธ"

พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์  [๕.  พราหมณวรรค]
                    ๑๐.  สังคารวสูตร
เล่มที่ 13 หน้า 602

    (อาฬารดาบส    กาลามโคตรกล่าวว่า)    'ท่านผู้มีอายุ    เป็นลาภของพวกข้าพเจ้าพวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน    เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า

    'ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่    ท่านทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่'    ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า    'ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ข้าพเจ้าทราบธรรมใด    ท่านก็ทราบธรรมนั้น    ท่านทราบธรรมใด    ข้าพเจ้าก็ทราบธรรมนั้น    เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด    ท่านก็เป็นเช่นนั้น    ท่านเป็นเช่นใด    ข้าพเจ้าก็เป็นเช่นนั้น    มาเถิด    บัดนี้    เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้'

    ภารทวาชะ    อาฬารดาบส    กาลามโคตร    ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเรา    ก็ยกย่องเราผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน    และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดี    ด้วยประการอย่างนี้แต่เราคิดว่า    'ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย    เพื่อคลายกำหนัด    เพื่อดับ    เพื่อสงบระงับ    เพื่อรู้ยิ่ง    เพื่อตรัสรู้    และเพื่อนิพพาน    เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น'    เราไม่พอใจ    เบื่อหน่ายธรรมนั้น    จึงลาจากไป

พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์  [๕.  พราหมณวรรค]
                    ๑๐.  สังคารวสูตร
เล่มที่ 13 หน้า 604

    (อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า) 
'ท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้าพวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน  เพราะ(ข้าพเจ้า) รามะประกาศว่า   

'ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่    ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่รามะก็ประกาศว่า
 
'ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่'   
รามะทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น  ท่านทราบธรรมใด รามะก็ทราบธรรมนั้นเป็นอันว่ารามะเป็นเช่นใด    ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด รามะก็เป็นเช่นนั้นมาเถิดบัดนี้ ท่านจงบริหารคณะนี้'

            ภารทวาชะ อุทกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของเรา    ก็ยกย่องเราไว้ในฐานะอาจารย์    และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วยประการอย่างนี้    แต่เราคิดว่า'ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย    เพื่อคลายกำหนัด    เพื่อดับ    เพื่อสงบระงับ    เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้    และเพื่อนิพพาน    เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น    เราไม่พอใจ    เบื่อหน่ายธรรมนั้น    จึงลาจากไป


    อยากจะบอกพวกท่านทั้งหลาย ว่า เมื่อพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงออกผนวชครั้นยังไม่ได้สำเร็จธรรมเป็นพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ได้เรียน ได้ศึกษาธรรม อย่างมีจุดประสงค์ คือมีเป้าหมาย ดังจะเห็นว่าดำริของพระองค์เป็นอย่างนี้ทุกครั้ง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องวัดการภาวนาที่พระองค์ได้ทรงภาวนาและวัดผล และตัดสินพระทัยเพื่อการภาวนาในวิถึทางอื่นเพิ่มเดิม ทันที ดำริส่วนนี้ก็คือพระองค์ตั้งพระทัยในการภาวนาว่า

    : ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย   
เพื่อคลายกำหนัด  เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ   
เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน :


    ดังนั้นพระโพธิสัตว์ จึงอำลาอาจารย์ทั้งสองที่สอน
อรูปกรรมฐาน ในขณะนั้นจากมาเพื่อแสวงหา
โมกขธรรมต่อไป มิได้หยุดหรือพอใจที่ความเป็นยอด
เพียงแค่ อรูปกรรมฐาน ตรงนั้น





พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์  [๕.  พราหมณวรรค]
        ๑๐.  สังคารวสูตร
 เล่มที่ 13 หน้า 605

 
          อุปมา ๓ ข้อ

            ภารทวาชะ ครั้งนั้น อุปมา ๓  ข้อ อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง   
ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา  คือ

            ๑.เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่แช่อยู่ในน้ำ   
บุรุษนำไม้นั้นมาทำไม้สีไฟด้วยหวังว่า    'เราจักก่อไฟให้เกิดความร้อนขึ้น'
 

          ภารทวาชะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร    บุรุษนั้นนำไม้สดที่มียางซึ่งแช่อยู่ในน้ำมาทำไม้สีไฟแล้วสีให้เป็นไฟเกิดความร้อนขึ้นได้ไหม"
            "ไม่ได้    พระพุทธเจ้าข้า"
            "ข้อนั้นเพราะเหตุไร"
            "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะไม้สดนั้นมียางทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ  บุรษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า"
      "ภารทวาชะ อย่างนั้นเหมือนกัน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีกายและจิตยังไม่หลีกออกจากกาม    ยังมีความพอใจ    ความรักใคร่    ความหลงความกระหายและความกระวนกระวายในกามทั้งหลาย ยังมิได้ละและมิได้ระงับอย่างเบ็ดเสร็จในภายใน สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นแม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็งหยาบเผ็ดร้อน    ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร  ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้การเห็น และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม    แม้ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าแข็ง  หยาบเผ็ดร้อน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความเพียร ก็เป็นผู้ไม่ควรแก่การรู้  การเห็น  และการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม

            นี้เป็นอุปมาข้อที่ ๑   
อันน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง ซึ่งเรายังไม่เคยได้ยินมาก่อน ได้ปรากฏแก่เรา