การฝึก พุทธานุสสติ ในมูลกรรมฐาน

เริ่มโดย kai, ต.ค 24, 2024, 10:03 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม ขอ พอจ สรุปการฝึกพุทโธ แบบ มูลกรรมฐาน กัจจายนะให้เป็นภูมิธรรมหน่อยครับ

ตอบ การฝึก พุทธานุสสติ ในมูลกรรมฐาน มี  3 ภาค
ภาคที่ 1 ชื่อว่า ปริยัติ
( การศึกษา กระทำอย่างไปเรื่อย เพิ่มพูนทีละหน่อย)

ภาคที่ 2 ชื่่อว่า ปฏิปัตตา
( การกระทำจริงจัง หรือ ลงมือทำเข้มข้น )

ภาคที่ 3 ชื่อว่า ปฏิเวธา
( การใช้ผลที่ได้แล้ว )


ภาคที่ 1 ปริยัตตา ฝึก อุปัตตา
อุปัตตา มี 4 ห้อง
1. อักขรตา การทำอักษรจิตให้เป็น อักษรนามกาย
2. โคจรา การนำอักษรนามกาย ย้อนกลับมาเป็น ดวงธรรม ( พุทธะรัตนะ )
3. สัมปยุตตา การนำ พุทธรัตนะ เข้าไปร่วมกับฐานภาวนา
4. มูลพุทธคุณัง การร่วมจิตเข้าสภาวะต้นกำเนิดพุทธรัตนะ หรือ สุขสมาธิ


ภาคที่ 2 ปฏิปัตตา ฝึก มัชฌิมา แบบลำดับ มี 3 ห้อง
1.  ห้องที่  1 พระธรรมปีติ มี 5 ลำดับ
1.1 พระขุททกาปีติ ( ปีติเล็กน้อย ) ฐานธาตุดิน เป็น รูปธาตุ
1.2 ขณิกาปีติ ( ปีติชั่วขณะ ) ฐานธาตุไฟ เป็น รูปธาตุ
1.3 โอกกันติกาปีติ ( ปีติเป็นระลอก ) ฐานธาตุน้ำ เป็น รูปธาตุ
1.4 อุพเพงคาปีติ ( ปีติโลดลอย ) ฐานธาตุลม เป็น รูปธาตุ
1.5 ผรณาปีติ ( ปีติแผ่ซ่าน ) ฐานธาตุอากาส เป็น อุปาทายรูป

อุปาทายรูป ของ พระธรรมปีติ มี 2 อย่าง
1. เข้า ถึงอากาสธาตุ เพื่อละรูปขันธ์
2. สัมปยุต หทัยวัตถุ เพื่อละรูปขันธ์


ผล การฝึกพระธรรมปีติ ทำให้ รูปขันธ์ดับ เพราะ รูปขันธ์เป็นธาตุทั้งปวง สิ่งที่ปรากฏต่อ ก็คือ กายขันธ์ และ จิตขันธ์
เมื่อกายขันธ์ จิตขันธ์ปรากฏ ด้วยความเป็นปัสสัทธิ ท่านจึงให้ฝึกห้องที่ 2


2. ห้องที่ 2 พระยุคลธรรม
มี  6 ลำดับ พระยุคลธรรมไม่มีธาตุ ไม่จัดเป็นธาตุ
( หมายเหตุ วัดพลับ สอนผิดตรงนี้ )

2.1 กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายสงบระงับ จิตสงบระงับ
2.2 กายลหุตา จิตตลหุตา กายเบา จิตเบา
2.3 กายมุทุตา จิตมุทุตา กายอ่อนโยน จิตอ่อนโยน
2.4 กายกัมมัญญตา จิตตกัมมันญาตา การควรแก่งาน จิตควรแก่งาน
2.5 กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายคล่องแคล่ว จิตคล่องแคล่ว
2.6 กายุชุคตา จิตตุชุคตา กายตรง จิตตรง
ปัสสัทธิ ชื่อว่า นามกาย
ลหุตา ชื่อว่า ภูตกาย
มุทุตา ชื่่อว่า ภูตกาย
กัมมัญญตา ชื่อว่า พรหมกาย
ปาคุญญตา ชื่อว่า พรหมกาย
อุชุคตา ชื่อว่า พรหมกาย


3. ห้องที่ 3 พระสุขสมาธิ  มี 3 ลำดับ
พระสุขสมาธิ มี 1 ประเภทเท่านั้น คือ ประเภท ปุถุชน
3.1 ลำดับที่ 1 การตั้งพระสุขสมาธิ
3.2 ลำดับที่ 2 การโคจรพระสุขสมาธิ
3.2 ลำดับที่ 3 การเข้าพระสุขสมาธิ


ภาคที่ 3 ชื่อว่า ปฏิเวธา
เป็นการฝึก เข้าผลสมาบัติ สำหรับผู้ที่ได้ กายอริยะ
( ทำได้เฉพาะ ผู้ที่เป็น โสดาบัน ขึ้นไป )
การตั้งกายอริยะ โสดาบัน
การตั้งกายอริยะ  สกทาคามี
การตั้งกายอริยะ อนาคามี
การตั้งกายอริยะ อรหันต์
การเข้าผลสมาบัติ มีอำนาจสมาธิ คล้ายปฐมฌาน แต่ไม่เหมือนกันเพราะเป็น โลุตตระสมาธิ ท่านกล่าวว่า เป็น ฌานโลกุตตระ


วิธีการ มีหลายแบบ แบบที่นิยม
1. การเข้าโพชฌงค์ 7
2. การเข้า สติปัฏฐาน ฐานใด ฐาน 1
3. การเข้า อานาปานสติ
4. การเข้าอิทธิบาทสมาธิ


สรุปขั้นตอน ใน พุทธานุสสติ ของมูลกรรมฐาน ก็มีประมาณนี้


เจริญธรรม
19 พฤษภาคม 2022