พอจ อาการก่อนได้ กายสงบระงับ จิตสงบระงับ จะมีอาการอย่างไร

เริ่มโดย kai, ต.ค 15, 2024, 08:31 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม พอจ อาการก่อนได้ กายสงบระงับ จิตสงบระงับ จะมีอาการอย่างไร

ตอบ อาการอย่างนี้จะเกิดขึ้นหลังจากเราได้นั่งกรรมฐาน ผ่านด่านแรก ( ด่านทนนั่ง )
อธิบาย ด่านทนนั่ง

เมื่อถึงที่สุดในกรรมฐาน ผู้ภาวนาจักต้องฝืน ร่างกาย เพื่อตามจิตใจ ดังนั้นจิตใจจะต้องเข้มแข็งอดทน เจ็บเป็นเจ็บ ปวดเป็นปวด ใจต้องแข็ง อาการเร่าร้อนทางกายจะเกิด เรียกว่า ธาตุไฟแทรก เวทนาจะสูง เหงื่อออก กายกระวนกระวาย แต่จิตจะมีความสงบ รู้อาการปวดเจ็บ

ดังนั้นในช่วงนี้ ต้องผูกจิต กับ บริกรรม หากยังไม่มีดวงนิมิต หรือ ดวงปฐมมรรค ต้องภาวนาให้ไว พุทโธ ให้เป็นจรวดไปเลย
ด่านทนนั่ง หรือ ต้องนั่งให้ทน เป็นด่านเป็น ด่านตาย ของผู้ภาวนา
ผู้ภาวนาส่วนใหญ่ ที่ไม่สำเร็จคุณธรรม ก็เพราะว่าไม่ผ่านด่านนี้กัน
ดังนั้นเมื่อ ลักษณะปีติเกิดขึ้น ลักษณะก็จะทำให้กายมีประสิทธิภาพ ดังนั้นท่านจึงสอนให้เข้าธาตุ ของ ปีตินั้น ๆ เพื่อเข้าสู่ภาวะ ทนนั่ง

ยกตัวอย่าง เมื่อจิตเกิดปีติ พระขุททกาปีติ อาการก็จะมี ขนลุก น้ำตาไหล เวียนหัว ตัวร้อน เป็นต้น ่จิตก็จะรับอารมณ์นั้น กายก็จะมีปีติท่วม พุทโธ จะทำให้จิตสงบ แต่กายนั้นก็ยังมีปีติวิ่งอยู่ตลอดเวลา
กายที่มีปีติ จะมีอานุภาพของสมาธิ ที่จะทำให้ผ่านด่านทน ดังนั้นต้องรักษาปีตินั้นให้อยู่ให้นานที่สุด
การรักษาปีติ ด้วยการเข้าธาตุ ของ ฐาน

ท่านให้ผสมพุทโธ ( ที่เป็นคำบริกรรม ) สำหรับท่านที่ยังไม่มีดวงธรรม
ลงไปในฐาน ถ้าผสมได้ก็จะเกิดปีติพุ่งขึ้น เหมือนโยนน้ำลงบนน้ำเหล็ก ดังนั้นในขณะที่ปีติ เกิดขึ้นนั้นต้องนึกถึงฐาน แล้ว ให้ว่า พุทโธ ให้เร็วขึ้น จนจิตผสมลงไปในฐาน นั้นก็จะเกิด ดวงธรรม ( พระรัศมี ) สำหรับคนที่ยังไม่ได้
ส่วนคนที่ได้ดวงธรรมแล้ว การใส่ พุทโธ ให้ไวขึ้น จะทำให้ ดวงธรรม รับธาตุของฐานนั้น ดวงธรรม ก็จะปรากฏสีจากสีใส หรือ ขาว ในตอนต้นเปลี่ยนสีไปตามธาตุนั้น เช่น พระขุททกาจะเป็นสีหยกขุ่น ( สีเทา ) หรือ สีขาวอมเทา เป็นต้น ถ้าเป็นอย่างนี้ชื่อว่าได้ พระธรรมรัศมี แต่อย่างไรสภาวะที่ได้ อาจจะขึ้นมาแป๊ปเดียว ขณะเดียว ท่านกล่าวว่า อย่างไรก็ต้องผ่าน สภาวะนั่งทน หรือ ทนนั่ง

จะนั่งทน โดยไม่ทุกข์ ก็ต้องให้ปีติ คงอยู่อย่างนั้น คงอยู่ให้นานที่สุด แต่ส่วนใหญ่ที่นั่งไม่ทน เพราะปีติดับลงไป มันทันเข้าปัสสัทธิ จึงมีเวทนามาก เมื่อเวทนามาก ก็จะเลิกการนั่ง แต่อย่างไรถ้าต้องการผ่านด่าน ต้องพยายามนั่งให้ทน หรือ ทนนั่ง อย่างน้อย 120 นาที ต้องทำบ่อย ๆ จนสภาวะนี้เป็นสภาวะที่ผ่าน การทนนั่ง
เมื่อสภาวะทนนั่ง ผ่านแล้ว การจะนั่งทน จะสามารถทำได้ง่ายมากขึ้น แม้จิตจะยังไม่เป็นสมาธิ ดังนั้นท่านทั้งหลาย การต้องฝึกการทนนั่ง จึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการทำสมาธิ คนจิตอ่อน ยอมแพ้ ย่อมทำได้น้อย คนจิตแข็ง สู้ ก็จะทำได้นาน
อย่างไร ก็ขอให้สู้ ๆ ๆ

เจริญธรรม / เจริญพร
8 มีนาคม 2022  ·