การทำสมาธิ โดยการเปิดเสียงเพลง นำจะทำให้ได้สมาธิ หรือไม่

เริ่มโดย kai, ต.ค 11, 2024, 08:12 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม พอจ การทำสมาธิ โดยการเปิดเสียงเพลง
นำจะทำให้ได้สมาธิ หรือไม่ครับ


ตอบ  สมาธิ มี 3 ระดับ
1.ขณิกะสมาธิ มีผลสูงสุดคือ
นันทิ(ความเพลิดเพลิน )


เมื่อจิตเพลิดเพลินก็จะสามารถ
ทรงความสามารถบางประการได้เช่น
นั่งทน เดินทน นอนทน ยืนทน
หรือ ทำงานศิลปะต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

แต่อำนาจสมาธิประเภทนี้ไม่แบ่งความดีความชั่ว
ผู้ทำจึงถูกนิวรณ์ครอบงำ เมื่อนิวรณ์ครอบงำ
จึงไม่มีความรู้ทางธรรมที่จะเกิดขึ้น
ได้แต่ก็มีผลทำให้ใจสงบลงชั่วคราว
แต่ไม่สามารถเข้าถึงธรรมได้

2.อุปจาระสมาธิ
เป็นสมาธิที่ต้องละนิวรณ์ 5
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเป็นสมาธิทีผ่องใสทางกุศล
ผู้กระทำสมาธิอย่างนี้ จึงบริสุทธิ์
สามารถบรรลุธรรมได้
ถ้ามีความปรารถนาในเส้นทางของพุทธ
แต่อย่างไรถ้าไม่มีความปรารถนาธรรมแบบพุทธ
ก็จะสามารถกระทำอำนาจทิพย์ได้หลายอย่าง
แต่ยังไม่ถึงขั้นอภิญญา
ผู้ที่ได้อุปจาระสมาธิ ทางพุทธสำเร็จคุณธรรม
โสดาบันขึ้นไปก็จะสามารถเข้าสุขสมาธิ
เป็นผลสมาบัติได้อำนาจผลสมาบัติ
จะสามารถหยุดเวลาได้ 24 ชั่ว
( หนึ่งทิวา หนึ่งราตรี )

3.อัปปนาสมาธิ
เป็นสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์พ้นจากนิวรณ์ชั่วคราว
อย่างชัดเจนผู้ที่มีสมาธิในขั้นอัปปนานี้
ยังมีภาระที่ต้องสร้างเสริมคุณธรรม 2 อย่าง คือ
คุณธรรมของพรหม และคุณธรรมของพระอริยะ

คุณธรรมของพรหม
ตั้งมั่น ใน เมตตา กรุณา มทิตา อุเบกขา

คุณธรรมของอริยะ
ตั้งมั่นใน วิราคะ วิมุตติ นิพพาน

ดังนั้น อัปปนาสมาธิ
จึงเป็นสมาธิระดับสูงให้ผลทางการหยุดเวลาลง
ตั้งแต่ 1 วัน ถึง  22 วัน 22 คืน เรียกว่า สมาบัติ
ในความเป็นพรหม เรียกว่า ผลสมาบัติ
ในความเป็นพระอริยะ ถ้าเป็นอริยะ ขั้นวิสุทธิ
ก็จะสามารถเข้าหยุดเวลาได้สูงเรียกว่า
นิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ

การเปิดเสียงเพลง เพื่อเป็นสมาธิ
จะได้สมาธิระดับไหน


ตอบ ได้สมาธิแค่ระดับ ขณิกะสมาธิ
ได้เกิดกว่านั้นไม่ได้เหตุเพราะถูกครอบงำด้วยนิวรณ์
จิตจึงไม่สามารถไต่ระดับไปมีสมาธิสูงกว่านั้นได้ 

ทางมูลกรรมฐาน ท่านกล่าวว่า
เสียงเป็นปฏิปักษ์กับปฐมฌาน แค่ปฐมฌานเท่านั้น
หลังจากผ่านปฐมฌานแล้วก็ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อไป

เหตุที่เสียงเป็นปฏิปักษ์
เพราะว่าขณะที่กำลังเข้าปฐมฌาน
จิตต้องอาศัยวิตก ( วิตก คือคำบริกรรม )
และ วิจาร ( วิธีการโคจรสมาธิ )
เป็นตัวนำให้จิตเป็น เอกัคคตา

ดังนั้น ถ้าเสียงใด ๆ เกิดขึ้นในระหว่างนั้น
ก็จะไปทำลายจิตของผู้ภาวนาให้หลุดจาก วิตก วิจารได้

ทางมูลกรรมฐานจึงสอนให้มีการเข้าสะกด
ในระหว่างฝึกปฐมฌาน
เพื่อให้จิตมีความสามารถสกัดเสียงรอบตัวให้ดับลงไป
ไม่ให้เป็นภาระขัดขวางการเข้าปฐมฌาน

ดังนั้นการใช้เสียงนำเพื่อให้เป็นสมาธิกระทำให้ได้แค่
ขณิกะสมาธิ ถ้าต้องไปสู่สมาธิขั้นสูงกว่าก็ต้องละและเลิกใช้เสียงนำ

เจริญธรรม / เจริญพร
25 มกราคม 2565