พุทธกาย

เริ่มโดย kai, ต.ค 03, 2024, 11:17 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

ถาม ขอความรู้เรื่อง พุทธกาย หน่อยครับ
คำถามคือ พุทธกาย คืออะไร ในมูลกรรมฐาน หมายความว่าอะไร


ตอบ คำว่า พุทธกาย ในภาษามูลกรรมฐานนี้
ไม่มีการใช้ แต่มีการใช้คำว่า ธรรมกาย พรหมกาย
อริยะกาย วิสุทธิกาย เทวะกาย เป็นต้น

คำว่า พุทธกาย เห็นมีการใช้ ในฝั่งมหายาน
ส่วนตัว พอจ เคยได้ยินตั้งแต่อยู่ในสายธรรมสวนโมกขพลาราม
คำจำกดัความในคำว่า พุทธกาย ในสายสวนโมก
นั้นท่านหมายถึง สภาวะธรรมที่ จิตรู้ จิตตื่น จิตเบิกบาน ซึ่งมีสาเหตุเดียวคือ รู้ธรรม ตื่นจากอวิชชา เบิกบานด้วยการสละกิเลส นี่เรียกว่า ได้ พุทธกาย ในความหมายที่รู้มาจากครูอาจารย์ในสายสวนโมกพลาราม นะ


ที่นี้คำว่า กาย ในมูลกรรมฐาน
ท่านจัดลำดับ กาย มีสองประเภท


กายที่เป็นขันธ์ 5 ท่านจัดออกเป็น 3 กาย

1 รูปกาย  2. กายจิต  3. จิตล้วน
1. รูปกาย ท่านหมายถึง รูปขันธ์

2. กายจิต ท่านหมายถึง จิตที่เข้าไปสู่สมาธิ
จนกระทบได้กาย ได้จิตในพระยุคลธรรม
ในที่นี้ท่านหมายถึง เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

3. จิตล้วน ท่านหมายถึง กำเนิดหรือจิตที่เวียนว่ายตายเกิด
เปลี่ยนสภาพไปตามกรรมมีดีและชั่ว
ในที่นี้หมายถึง วิญญาณขันธ์


ประเภทที่ 2 กายที่ประกอบด้วยอำนาจสมาธิ
จนถึงกายบรรลุธรรมมี 5 ส่วน


1. กายเนื้อ
หมายถึง กายที่มีอวัยวะปรากฏทั้งในและนอก
หรือ อาการ 32 อันประชุมด้วยธาตุทั้ง 5


2. กายหยาบ
หมายถึง จิตที่รู้สภาวะแห่งสมาธิเช่นรู้กองลม
หรือจิตที่มีอำนาจสมาธิ ตั้งแต่ขณิกะสมาธิขึ้นไป

3. กายละเอียด
หมายถึง กายที่ปรากฏด้วยการมีอำนาจสมาธิ
ตั้งแต่อุปจาระสมาธิขึ้นไป ส่วนมากจะปรากฏใน
สุขสมาธิ และ ผลสมาบัติ


4. กายทิพย์
หมายถึง กายที่ปรากฏด้วยอำนาจจิตประกอบด้วย
สมาธิมีอำนาจแห่งอัปปนาจิต ตั้งแต่ ปฐมฌาน ขึ้นไป


5. กายอริยะ
หมายถึง ลัญจกรที่ปรากฏในผลสมาบัติ
ตามลำดับการบรรลุ

ดังนั้นเรื่องของกายในมูลกรรมฐาน
จะมีอธิบายอยู่แค่ 2 ประเภทอย่างนี้โดยย่อ

เจริญธรรม / เจริญพร
20 มกราคม 2565