สำหรับเจโตวิมุตติ นั้น มีศรัทธาเป็นตัวนำ ถ้ากำลังศรัทธามีน้อย

เริ่มโดย kai, ต.ค 03, 2024, 10:11 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

สำหรับเจโตวิมุตติ นั้น มีศรัทธาเป็นตัวนำ
ถ้ากำลังศรัทธามีน้อย
ก็ยากที่จะได้เข้าถึงอัปปนาสมาธิ


ดังนั้นการใช้ปัญญามากไปก็ไม่ดีในการฝึก ฌาน
แต่ ฌาน นั้นต้องการศรัทธา + ความเพียร
สองอย่างนี้ ถือว่าสำคัญมาก

พระสารีบุตร เข้าถึงธรรมใช้เวลา 15 วัน แต่อย่างไร พื้นฐานก็มาจาก อานาปานสติ แต่เป็นแบบพิเศษ
กว่าจะรู้ผล ก็ต้องฟังธรรมในถ้ำ สุกรขาตา ธรรมที่ฟังก็คือบรรยายเรื่อง ธาตุ นั่นแหละอันเดียวกัน แต่ผสมแบบปัญญาจัดเป็นธาตุวิภังค์

พระสูตรนั้นมีชื่อว่า เวทนาปริคคหสูตร
เนื้อหาสำคัญของพระสูตรมีดังนี้

"อัคคิเวสสนะ เวทนาสามอย่างนี้
คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขม
สุขเวทนา ๑.

อัคคิเวสสนะ สมัยใดได้เสวยสุขเวทนา
ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา
ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา
ได้เสวยแต่สุขเวทนาเท่านั้น.

ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา
ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา
ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา
ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น.

ในสมัยใดได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น.
อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้นอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
 
แม้อทุกขมสุขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา.
อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล
ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับใครๆโวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน
ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วยทิฏฐิ."

พระสูตรบทนี้มีความเกี่ยวข้อง กับ พระยุคลธรรม
ขอให้ท่านทั้งหลายอ่านให้ดี อ่านให้เข้าใจ
ทำจิตให้เหมือนพระสารีบุตร
แล้วท่านก็อาจจะได้บรรลุตามพระสารีบุตร ก็อาจจะเป็นไปได้

เจริญธรรม / เจริญพร
19 มกราคม 2565