กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

เริ่มโดย kai, ก.ย 24, 2024, 10:35 หลังเที่ยง

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

kai

กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
======================

ถึงเราจะภาวนาอย่างไร ก็ตาม แต่โลกนี้ก็มิได้หยุดหมุน
คนดี ก็มีในสังคม แต่ไม่ได้มีจำนวนมาก
คนชั่ว ก็มีในสังคม และค่อนข้างจะมีจำนวนมากในปัจจุบัน

ดังนั้น การที่คนเราจะอยู่ได้อย่างปลอดภัยสบายใจ ก็ต้องระมัดระวัง ตัวเอาไว้บ้างนะ เป็น ผญ ก็อย่าเดินหรืออยู่ในที่เปลี่ยว เป็น ผช ก็เช่นกันบางครั้ง อาจจะไม่ปลอดภัย ก็เป็นได้ เงินทองของมีค่า บางครั้งมีก็ต้องเก็บไว้อย่าไปเที่ยวใส่เดินอวด ล่อตา คนชั่ว จะใส่ จะโชว์ก็ต้องดูทิศทางบ้าง

ปัจจุบันข่าวสังคมบ้านเมือง คนตกงานมีมากขึ้น คนที่จำเป็นต้องมีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีคุณธรรม มันก็จะเลือกเอาด้านทำความชั่วเป็นโจร เป็นขโมย ดังนั้นอย่าได้นิ่งนอนใจ มองโลกในแง่ดีเกินไป หรือ โลกสวยว่าในสังคมมีแต่คนดีปลอดภัย มันจะนำภัยสู่ตัวเองได้

อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน
อย่าได้ประมาท อย่าได้เลินเล่อ

เพราะเราต้องอยู่ให้ได้ ในท่ามกลางสังคมที่มีคนดีคนชั่วปนกัน
ที่ไหนขาดการศึกษาหลักธรรม ก็จะมีคนทีวุ่นวายกับโลก
แต่ที่ใดมีการศึกษาหลักธรรม ที่นั้นก็จะพอมีความสงบอยู่บ้าง
ตอนนี้บ้านเมือง วุ่นวายใหญ่ ก็เรื่องป้องกันโรคติดต่อ โควิด โอมิคอน
ดังนั้น ก็อย่าปล่อยตัวเที่ยวนั่น เที่ยวนี่มากเกินไป เก็บตัวบ้างก็ดีนะ
มีเวลาว่างก็อย่ามัวแต่ดูหนัง ดูละคร พยายามหาเวลาทำกรรมฐานเสียบ้าง
ชีวิตจะได้มีความสงบ

แต่อย่างไร พอจ ก็ได้แค่เตือนว่าอย่าประมาท ภาวนาบ้างเท่านั้น ส่วนพวกท่านทั้งหลายจะตระหนักตาม หรือ ทำตามหรือไม่นั้น มันห้ามหรือบังคับไม่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าหากมีความทุกข์บางครั้ง ก็ต้องยอมรับมันไปบ้างเพราะเราแส่เข้าไปหาเรื่อง ถ้าเราแส่เข้าไปหาเรื่องมันก็ต้องมีเรื่อง มีทุกข์ เป็นธรรมดา
พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสไว้ว่า

สัตว์โลก ย่อมมีชีวิตไปตามกรรมอันตนสร้างไว้นั่นเอง

ดังนั้น อุเบกขา ( วางเฉย ) ต้องวางบ้าง แม้จะสงสารสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แต่บางครั้ง กรรม เป็นสิ่งที่ฝืนไม่ได้ เพราะบางท่านก็ปล่อยให้ชีวิตไหลไปตามกรรม ไม่ยอมฝืนด้วยการภาวนา จึงทำให้ชีวิตตกต่ำและเป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา แม้จะสงสารอย่างไร ในส่วนนี้ ครูอาจารย์ก็คงจะต้องวางเฉยลงเสียบ้าง เพราะมิฉะนั้นมันก็จะเป็นความวุ่นวายลามไปเป็นเส้นทางตามกรรม ดังนั้นต้องยุติกรรม ลง ด้วย อุเบกขาธรรม นั่นเอง
เจริญธรรม / เจริญพร