ข่าว:

SMF - Just Installed!

Main Menu

กระทู้ล่าสุด

#11
บันทึกการเข้ากรรมฐาน / บันทึกการเข้ากรรมฐาน วันที่ 23...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:42 ก่อนเที่ยง
บันทึกการเข้ากรรมฐานประจำวัน
================
22 มี.ค. 68  22.00 เข้ากรรมฐาน 
23 มี.ค. 68  08.00 ออกกรรมฐาน
======================
อุทิศกุศลภาวนาให้แก่ผู้สนับสนุนทุกท่าน
เจริญธรรม / เจริญพร
คติธรรม/คำแนะนำ วันนี้้
"ความต่อเนื่องในกรรมฐาน เป็นเหตุให้สำเร็จในกรรมฐานให้ได้ไว"
---------------------------------------
ร่างกาย อย่างไรก็ต้องเจ็บ แก่ ต้องมองว่าเป็นธรรมดา
#12
แม่บทกรรมฐาน / ถาม ถ้าเรายังไม่มีอารมณ์ภาวนา ...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:41 ก่อนเที่ยง
ถาม ถ้าเรายังไม่มีอารมณ์ภาวนา ควรทำจิตอย่างไรครับ
ตอบ มีแม่บทในเรื่องการสร้าง นิพพิทา ( ความหน่ายต่อสังสารวัฏ )
========================================
[๖๙]   ปญฺจิเม  ภิกฺขเว  ธมฺมา  ภาวิตา พหุลีกตา เอกนฺตนิพฺพิทาย
วิราคาย  นิโรธาย  อุปสมาย  อภิญฺญาย  สมฺโพธาย  นิพฺพานาย สํวตฺตนฺติ
กตเม  ปญฺจ  อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ 
อสุภานุปสฺสี  กาเย  วิหรติ 
อาหาเร ปฏิกฺกูลสญฺญี   
สพฺพโลเก  อนภิรตสญฺญี 
สพฺพสงฺขาเรสุ  อนิจฺจานุปสฺสี   
มรณสญฺญา   โข   ปนสฺส  อชฺฌตฺตํ  สูปฏฺฐิตา โหติ  กาเยน จ สํวตฺเตยฺยนติ ฯ  อนภิรติสญฺญี ฯ . สุปฏฺฐิตา ฯ อิโต ปรํ อีทิสเมว ฯ
อิเม   โข   ภิกฺขเว  ปญฺจ  ธมฺมา  ภาวิตา  พหุลีกตา  เอกนฺตนิพฺพิทาย
วิราคาย นิโรธาย อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตนฺตีติ ฯ
---------------------------------------------------------------
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ธรรม ๕
ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑
มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
ดังนั้นผู้ใดไม่ใคร่สนใจภาวนา ก็ต้องเริ่มพิจารณาธรรม 5 ประการนี้ให้บ่อยครั้งมากขึ้น เมื่อพิจารณาบ่อยครั้งมากขึ้น ก็จะเข้าสู่ นิพพิทาญาณ ได้
#13
ธาตุกรรมฐาน / ถาม ทำอย่างไร จึงไม่ให้ฌานที่ม...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:40 ก่อนเที่ยง
ถาม ทำอย่างไร จึงไม่ให้ฌานที่มีเสื่อมลงหากยังไม่บรรลุคุณธรรม
ตอบ มีแม่บทย่อยว่า
ปฏิสลฺลานา รามา ภิกฺขเว วิหรถ ปฏิสลฺลานรตา
ความเป็นผู้มีกายหลีกเร้นอยู่นั้น ย่อมมีแก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีศีลหรือมีศีลไม่บริสุทธิ์ เพราะผู้มีศีลบริสุทธิ์นั้นไม่มีการหมุนกลับจิตจากรูปารมณ์เป็นต้น
อชฺฌตฺตญฺเจโตสมถมนุยุตฺตา
(การประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายใน) ๑
อนิรากตชฺฌานา (มีฌานไม่เสื่อม) ๑
ท่านจัดปัญญาภาวนาไว้ด้วยบทนี้ว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคตา ดังนี้
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ รักษาศีลที่บริสุทธิ์ ในที่นี้หมายถึงศีล 8 และการประกอบอำนาจสมาธิด้วยการเข้าฌานออกฌานบ่อย ๆ จึงจะทำให้ ฌาน ไม่เสื่อม
#14
ปัญญาวิมุตติ / ถาม คำว่า วิโมกข์ วิภังค์ มีคว...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:40 ก่อนเที่ยง
ถาม คำว่า วิโมกข์ วิภังค์ มีความหมายอย่างไร ที่ พอจ ได้กำหนดไว้เป็นชื่อหนังสือเหมือนว่าแทนคำว่า มูลกรรมฐาน
ตอบ วิโมกข์ แปลว่าหมดจด ขาวผ่อง หรือจิตที่น้อมไปในวิปัสสนา
วิภังค์ ก็คือ การจำแนกชนิด
วิโมกข์ มี 68 ประการ ( แต่ไม่ขออธิบายนะ )
สุญญตวิโมกข์ ๑ อนิมิตตวิโมกข์ ๑ อัปปณิหิตวิโมกข์ ๑ อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายใน) ๑ พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ (วิโมกข์มีการออกในภายนอก) ๑ ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์(วิโมกข์มีการออกแต่ส่วนทั้งสอง) ๑ วิโมกข์ ๔ แต่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ แต่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ แต่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่อัชฌัตตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่พหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ อนุโลมแก่ทุภโตวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากอัชฌัตตวุฏฐาน วิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากพหิทธาวุฏฐานวิโมกข์ วิโมกข์ ๔ ระงับจากทุภโตฃวุฏฐานวิโมกข์ ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ภิกษุผู้ไม่มีความสำคัญว่ารูปในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก เพราะอรรถว่าภิกษุน้อมใจไปในธรรมส่วนงามเท่านั้น อากาสานัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ วิญญาณัญจายตนสมาบัติวิโมกข์ อากิญจัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติวิโมกข์ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติวิโมกข์ สมยวิโมกข์ อสมยวิโมกข์ สามายิกวิโมกข์ อสามายิกวิโมกข์ กุปปวิโมกข์ (วิโมกข์ที่กำเริบได้) อกุปปวิโมกข์ (วิโมกข์ที่ไม่กำเริบ) โลกิยวิโมกข์ โลกุตตรวิโมกข์ สาสววิโมกข์ อนาสววิโมกข์ สามิสวิโมกข์ นิรามิสวิโมกข์ นิรามิสตรวิโมกข์ ปณิหิตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ปณิหิตปัสสัทธิโมกข์ สุญญตวิโมกข์ วิสุญญตวิโมกข์ เอกัตตวิโมกข์ นานัตตวิโมกข์ สัญญาวิโมกข์ ญาณวิโมกข์ สีติสิยาวิโมกข์ ฌานวิโมกข์ อนุปาทาจิตวิโมกข์ ฯ
ดังนั้น วิโมกข์ วิภังค์ ยังมีความหมายลึกซึ้งใน มุมของ มูลกรรมฐาน มีข้อความ พิศดารอยู่พอสมควร
#15
ปัญญาวิมุตติ / ถาม ในมูลกรรมฐานมีการจำแนกกรรม...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:39 ก่อนเที่ยง
ถาม ในมูลกรรมฐานมีการจำแนกกรรมฐานมากมาย ถ้าย่นย่อการภาวนา ให้เล็กลงน้อยลง จะมีกรรมฐานเท่าไหร่ครับ
ตอบ ถ้าย่นย่อการภาวนาให้น้อยที่สุดจะเหลือเพียง กรรมฐาน 2 อย่างกับความเพียร 1 อย่างเท่านั้น ไม่ว่าจะสำนักไหน ก็สอนกันอยู่แค่นี้ และมีเพียงเท่านี้ที่ต้องใช้เวลาในการปฎิบัติมากที่สุด
นั่นก็คือ สัมมาสติ ( กรรมฐานที่เนื่องด้วยสติ ) และ สัมมาสมาธิ ( กรรมฐานที่เนื่องด้วยสมาธิ ) และ สัมมาวิริยะ ( ความเพียรการกระทำต่อเนื่อง )
ที่เราเสียเวลาก็คือการทำตามกรรมฐาน และที่ทำไม่ค่อยได้ ก็เพราะว่าไม่มีความเพียรตามกรรมฐาน
#16
บทความธรรม / ถาม จากคำตอบเรื่อง นิพพิทา แล้...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:38 ก่อนเที่ยง
ถาม จากคำตอบเรื่อง นิพพิทา แล้วได้รับตอบว่า
ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑
มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑
ขอเรียนถามว่า แต่ละหัวข้อมีกรรมฐานชัดเจนเลยหรือไม่ครับ ทางมูลกรรมฐานสอนไว้อย่างไร
ตอบ ทางมูลกรรมฐานไม่ได้กำหนดหัวข้อไว้เฉพาะในกรรมฐาน แต่อย่างไรเบื้องต้นก็มีกรรมฐานแนะดังนี้
ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑
( ท่านแนะนำว่า กายคตาสติ ตจปัญจกกรรมฐาน )
มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑
( ท่านแนะนำว่า อาหาเรปฎิกูลสัญญากรรมฐาน )
มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑
( ท่านแนะนำว่า ให้ทำ อนิจจสัญญากรรมฐาน )
พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑
( ท่านแนะำนว่า ให้ทำ อนัตตสัญญากรรมฐาน )
ย่อมเข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑
( ท่านแนะนำว่า ให้ทำ มรณานุสสติกรรมฐาน เนืองๆ )
#17
บทความธรรม / ถาม เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราไ...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:38 ก่อนเที่ยง
ถาม เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราได้บรรลุคุณธรรม โสดาบัน แล้วหรือเพียงแต่คิดว่าบรรลุ ก็คือบรรลุแล้วหรือครับ แล้วถ้าบรรลุโสดาบันจะจำแนกประเภทโสดาบันได้อย่างไร
ตอบ จะรู้ได้ในขณะภาวนา จะมีปรากฏการณ์ขณะบรรลุแล้วแต่บุคคลแตกต่างกันไป แต่อย่างไรเมื่อรู้สึกว่าได้รับประสบการณ์การบรรลุแล้วต้องสอบอารมณ์ เฉพาะโสดาบันท่านให้สอบอารมณ์โดนตั้ง ลัญจกร หรือ สังฆรัตนะ เป็นเวลา 21 วัน ถ้าใน 21 วันสามารถกระทำผลสมาบัติได้ตามเกณฑ์  ก็แสดงว่า ได้บรรลุคุณธรรมแล้ว
ส่วนการบรรลุโสดาบันประเภทอะไรนั้น ยังจำแนกไม่ได้ จะไปจำแนกได้ตอนตายหรือใกล้ตาย ( ละสังขาร ) เพราะว่าโสดาบันทุกประเภทจำแนกด้วยชาติที่เกิดเท่านั้น ดังนั้นพอบรรลุโสดาบันแล้ว ก็สามารถไปสู่คุณธรรมต่อไปได้ โดยไม่ต้องจำแนกประเภท
#18
แม่บทกรรมฐาน / แม่บท วิญญาณ บางครั้ง ก็ถูกเรี...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:36 ก่อนเที่ยง
แม่บท วิญญาณ บางครั้ง ก็ถูกเรียกในรูปขันธ์
===================================
ยญฺจ  โข  เอตํ  ภิกฺขเว  วุจฺจติ จิตฺตํ อิติปิ มโน อิติปิ วิญฺญาณํ อิติปิ    ตตฺราสฺสุตวา   ปุถุชฺชโน   นาลํ   นิพฺพินฺทิตุํ   นาลํ  วิรชฺชิตุํ  นาลํ  วิมุจฺจิตุํ  ตํ  กิสฺส  เหตุ  ทีฆรตฺตํ
แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง  วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน
=========================================
กายภายนอกสุด ก็คือ กายเนื้อ
กำยที่อยู่ในกายเนื้อ ก็คือ วิญญาณ  กายหยาบ กายละเอียด กายทิพย์ กายอริยะ ทั้งหมดนี้ ก็คือ วิญญาณกาย หรือ วิญญาณธาตุ
๑๙๑. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๒๙
นี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ #วิญญาณธาตุ
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อที่ ๖๘๐ - ๖๘๔
๑. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๐๑
ล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา #วิญญาณกาย
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อที่ ๖๑๗ - ๖๒๑
#19
บทความธรรม / ถาม วิญญาณ คืออะไร อยากให้ พอจ...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:35 ก่อนเที่ยง
ถาม วิญญาณ คืออะไร อยากให้ พอจ อธิบายขยายความแบบมูลกรรมฐานหน่อยครับ
ตอบ วิญญาณ มีการใช้หลายความหมาย
1. วิญญาณเป็นสภาวะธรรม
2. วิญญาณเป็นขันธ์ๆหนึ่ง
3. วิญญาณเป็นกาย
4. วิญญาณเป็นธาตุ
5. วิญญาณเป็นที่บอกการจุติด้วยภพชาติในสังสารวัฏ
เหตุที่คนสับสนกับคำว่า วิญญาณ เพราะส่วนใหญ่อธิบายคำว่า วิญญาณในความหมายเดียวคือ อธิบายเป็นสภาวะธรรมคือแค่รับรู้ การอธิบายแบบนี้เป็นการอธิบายเพียงสภาวะธรรม จึงทำให้วิญญาณที่เป็นข้อความในพระไตรปิฎกไม่ครบถ้วน
แต่อย่างไรเพราะว่า พระพุทธเจ้าตรัสคำว่า วิญญาณในสภาวะธรรมมากที่สุดในพระไตรปิฎก ดังนั้นเวลาค้นหาข้อความจึงพบข้อความในพระไตรปิฎกแบบสภาวะธรรมได้มาก คนที่ค้นคำนี้ จึงมักอธิบายแค่ความหมายของคำว่า สภาวะธรรม
คำว่า วิญญาณในพระไตรปิฎก มีอธิบายไว้มากใน อภิธรรมปิฎก
ปฏิสนธิ สืบต่อภพใหม่
ภวังคะ เป็นองค์ประกอบของภพ
อาวัชชนะ คำนึงถึงอารมณ์ใหม่
ทัสสนะ เห็นรูป (ตรงกับจักขุวิญญาณ)
สวนะ ได้ยินเสียง (ตรงกับโสตวิญญาณ)
ฆายนะ ได้กลิ่น (ตรงกับฆานวิญญาณ)
สายนะ รู้รส (ตรงกับชิวหาวิญญาณ)
ผุสนะ ถูกต้องโผฏฐัพพะ (ตรงกับกายวิญญาณ)
สัมปฏิจฉนะ รับอารมณ์
สันตีรณะ พิจารณาอารมณ์
โวฏฐัพพนะ ตัดสินอารมณ์
ชวนะ เสพอารมณ์
ตทาลัมพณะ รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนจะกลับสู่ภวังค์
จุติ เคลื่อนจากภพปัจจุบันเพื่อจะไปสู่ภพหน้า
นี้คือความหมายของคำว่า วิญญาณ ทั้งหมดในพระไตรปิฎก คำว่าวิญญาณมีกายใช้ในสภาวะแตกต่างกันไป มีคำเฉพาะตัวก็หลายคำ
ตัวอย่างคำว่า วิญญาณ ในความหมายอื่นๆ ที่ไม่ใช่สภาวะธรรม
๑. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๙๕
กายมนุษย์ ได้แก่จิตแรกเกิดขึ้น คือ ปฐมวิญญาณ
วินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๑ ข้อที่ ๑๘๑
๑๓. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๕๓
จิตดวงแรกใดเกิดแล้วในอุทรมารดา วิญญาณ... วิญญาณ
วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ ข้อที่ ๑๔๐ – ๑๔๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๙
เป็นนธรรมดา ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณ
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ข้อที่ ๓๔ 
๔๖. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๒๙
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ข้อที่ ๒๙๖ – ๒๙๗
๑๒๔. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๓๗๗
... ความเป็นพวกเทวดาผู้เข้าถึง วิญญาณ
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ข้อที่ ๔๙๒
๑๙๑. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๓๒๙
นี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ
สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ข้อที่ ๖๘๐ - ๖๘๔
#20
บทกลอน/คติธรรม/คำแนะนำ / ถาม การสวดมนต์ มีอานิสงค์อย่าง...
กระทู้ล่าสุด โดย admin - เม.ย 01, 2025, 08:34 ก่อนเที่ยง
ถาม การสวดมนต์ มีอานิสงค์อย่างไรค่ะ ถ้าสวดกับไม่สวด อันไหนจะดีกว่าค่ะ
ตอบ การสวดมนต์สาธยายาย ไม่มีการกล่าวอานิสงค์โดยตรง แต่ท่านสงเคราะห์เข้ากับ หลายหัวข้อ เช่น การเทสนาธรรม การท่องจำธรรม การพิจารณาธรรม การทำสมาธิ
การสวดมนต์ เบื้องต้นสำหรับผู้สวดจัดว่าเป็นการทำสมาธิ
อานิสงค์ คือ ลดจิตฟุ้งซ่านในกามคุณลงชั่วคราว
การสวดสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า มีอานิสงค์ จุติในสวรรค์ และ ทำให้เกิดดวงพุทธรัตนะได้ง่ายยิ่งขึ้น