ถาม อะไรคือวัฏฏะสงสาร
แล้วทำไมเราต้องกลัววัฏฏะสงสาร
ถ้าต้องการพ้นจากวัฎฎะสงสารต้องทำอย่างไร
ตอบ วัฏฏะสงสาร หมายถึง
การที่ทำอะไรซ้ำซากอยู่กับความทุกข์และไม่สามารถหนีจากความซ้ำซากนี้ได้
วัฏฏะ หมายถึง การวนเวียน(ซ้ำซาก)
สงสาร หมายถึง เวทนาที่เป็นทุกข์(ความทุกข์)
พระพุทธเจ้า พระองค์ถอดสูตรเล็ก(วงน้อย) ออกมา
ก็มีอยู่ 3 อย่าง คือ กิเลส กรรม วิบาก
กิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ
กรรม คือ การกระทำตามราคะ โทสะ โมหะ
วิบาก คือ ผลที่ได้รับจากการกระทำตามราคะ โทสะ โมหะ
มันก็จะวนเวียนอยู่อย่างนี้ในชีวิตมนุษย์ที่ยังไม่เป็นอริยะ
สูตรใหญ่ ( ปฏิจจสมุปบาท )
พระพุทธเจ้าทรงถอดสูตรเล็กเป็นสูตรใหญ่
จำแนกละเอียดออกมา
ที่ต้องจำแนกเพราะต้องหาความจำเป็น
ว่าจะตัดตอนความทุกข์เหล่านี้ตรงไหน
จะได้พ้นจากวัฏฏะ
อวิชชา เทียบเท่ากับ กิเลส ( ราคะ โทสะ โมหะ )
สังขาร
วิญญาณ
นามรูป
สฬายตะ
ผัสสะ
เวทนา
ตัณหา
อุปาทาน ธรรม 8 อย่างนี้ คือวิธีการดัก เทียบเท่ากับคำว่า กรรม
ในคำว่า เรากล่าวว่า เจตนา เป็นตัวกรรม ธรรมทั้ง 8 ประการนี้ชื่อว่า เจตนา
ภพ หมายถึงทั้ง ภพที่เป็นตัวเกิดตาย และภพที่เป็นสภาวะธรรม
ชาติ หมายถึง ชาติที่เป็นตัวเกิดตาย และ ชาติที่เป็นสภาวะธรรม
ชรามรณะทุกข์ ส่วนนี้ชื่อว่า ปัจจุบัน ธรรม 3 ประการนี้ชื่อว่า วิบาก
ผู้มีปัญญาย่อม ทำความเบื่อหน่ายต่อ
วัฏฏะสงสาร ด้วยการพิจารณาตามความเป็นจริง
ที่ต้องกลัววัฏฏะสงสาร
ก็เพราะมันมีความทุกข์ไม่จบสิ้น
ถ้าต้องการพ้นจากความทุกข์ก็ต้องทำตามมรรค
วิธีการปฏิบัติตามมรรค
เริ่มจาก อ่อน ไป แก่กล้า
สังขาร หยุดคิดได้ในสมาธิ
วิญญาณ ดับได้ด้วยการพิจารณา
นามรูป จับได้ด้วยสติ
สฬายตะ พ้นได้ด้วยการพิจารณาว่าเป็นเพียงธาตุ
ผัสสะ ดับได้ด้วยการรับรู้มีสัมปชัญญะ
เวทนา รู้ได้ด้วยปัญญา
ตัณหา ดับได้ด้วยการทำ ปริวัฏฏะ 3 อาการ 12
อุปาทาน ดับได้ด้วยการเข้าปฏิจจสมุปบาท
เจริญธรรม / เจริญพร
1 ธันวาคม 2564
(http://madchimardn.3bbddns.com:12590/kjn2/gallery/1_20_09_24_9_10_55.jpeg)