สัจจะ 4 เป็นของปุถุชน ความรู้สัจจะทั้ง 4 มีรู้ แต่ไม่พ้น
อริยสัจจะ เป็นของอริยะ ความรู้สัจจะทั้ง 4 รู้แล้วพ้น
=============================
คำว่าตถาคต เป็นคำที่ต้องประกอบด้วย สมาธิ
สมาธิที่ เป็นไปในการตามความรู้อันแจ้งชัดเพื่ออาสวักขยญาณ เป็น อริยสัจจะ ทั้ง 4 อาการเยี่ยงนี้ท่านเรียกว่า ตถาคต ตถาคตนิเสวิต ตถาคตรัญชิต
=========================================
[๒๙๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า 'นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัยนี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธนี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา' แม้ข้อนี้เราก็เรียกว่า 'ตถาคตบท'บ้าง 'ตถาคตนิเสวิต'บ้าง 'ตถาคตรัญชิต'บ้าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]
๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
( หน้าที่ 326 - 328 )
เจริญธรรม / เจริญพร
21 พฤศจิกายน 2564·