ปฏิบัติได้ ช้า ได้ เร็ว หรือ ยังไม่ได้ แตกต่างกันเพราะ ปฏิปทา มิได้เท่ากัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๕. สัมปสาทนียสูตร]
เทศนาเรื่องปฏิปทา
เล่มที่ 11 หน้า 112
เทศนาเรื่องปฏิปทา
[๑๕๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง
เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในเรื่อง
ปฏิปทาก็นับว่ายอดเยี่ยม ปฏิปทา ๔ ประการนี้ คือ
๑.ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
(ปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า)
๒.ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
(ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว)
๓.สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
(ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า)
๔.สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
(ปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว)
บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น
ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน คือเพราะปฏิบัติลำบาก และเพราะรู้ได้ช้า
ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะปฏิบัติลำบาก
สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา
ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะรู้ได้ช้า
สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา
ปฏิปทานี้ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน
คือเพราะปฏิบัติสะดวก และเพราะรู้ได้เร็ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปฏิปทา
ธัมมะวังโส ภิกษุ
14 มีนาคม 2555
(http://madchimardn.3bbddns.com:12590/kjn2/gallery/1_05_08_24_5_46_19.jpeg)