พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
[๙.อสังขตสังยุต]
๑.ปฐมวรรค ๔. สุญญตสมาธิสูตร
๒. สมถวิปัสสนาสูตร
ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนา
[๓๖๗]
"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตธรรม
และทางที่ให้ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟัง
อสังขตธรรม คืออะไร
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และความสิ้นโมหะ
นี้เราเรียกว่า อสังขตธรรม
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สมถะและวิปัสสนา
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สมถวิปัสสนาสูตรที่ ๒ จบ
๓. สวิตักกสวิจารสูตร
ว่าด้วยสวิตักกสวิจารสมาธิ
[๓๖๘] "ภิกษุทั้งหลาย
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกวิจาร)
อวิตักกวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร)
อวิตักกอวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สวิตักกสวิจารสูตรที่ ๓ จบ
๔. สุญญตสมาธิสูตร
ว่าด้วยสุญญตสมาธิ
[๓๖๙] "ภิกษุทั้งหลาย
ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม คืออะไร
คือ สุญญตสมาธิ (สมาธิพิจารณาความว่าง)
อนิมิตตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต)
อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา)
นี้เราเรียกว่า ทางที่ให้ถึงอสังขตธรรม ฯลฯ
สุญญตสมาธิสูตรที่ ๔ จบ
ในสูตรนี้ ชี้ให้เห็นสมาธิที่เนื่องด้วย สมถะกับวิปัสสนานะจ๊ะ
ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงแสดง วิธีการเข้าถึง อสังขตธรรม
ด้วยการเจริญสมาธิ เพราะเมื่อเจริญสมาธิ
ย่อมเข้าถึงสวิตักกสวิจารสมาธิ อวิตักกวิจารสมาธิ
อวิตักกอวิจารสมาธิ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ
อัปปณิหิตสมาธิ
ดังนั้นสมาธิในสมถะพัฒนาเป็นวิปัสสนา ก็เป็นอย่างนี้
ขอให้ท่านทั้งหลาย จงตั้งใจปฏิบัติไปตามลำดับ
อย่างทิ้งลำดับ เพราะจิตจักหลุดพ้นได้ตามลำดับ
และ บรรลุได้ตามลำดับ นะจ๊ะ