ปุจฉา
ดิฉันมีความปารถนา ต้องการได้นิพพานในปัจจุบันชาติ ดิฉันควรทำอย่างไร ?
วิสัชชนา
อนุโมทนาด้วยนะจ๊ะ ที่คุณโยมมีความปรารถนา อย่างนี้ ?
(เป็นอุปสมานุสสติ) น้อยคงนักที่จะมีความปรารถนาในนิพพาน
แต่ก็มีหลายคน ปรารถนาในนิพพาน แต่ก็เป็นอยู่สวนทางกับนิพพาน
ตอบคำถามก่อน ว่าควรทำอย่างไร ?
ควรตั้งมั่นใน อริยมรรค
(เส้นทางของพระอริยะ)
อันประกอบด้วย องค์ 8 ประการ
1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา)
ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ
รู้อกุศลและอกุศลมูล กับกุศลและกุศลมูล
หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบ
หรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.ความเข้าใจคือความรู้
ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา
สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา
ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า
"ตามรู้" (อนุโพธ)
เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง
2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า
"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ)
หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ
และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น
การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้
เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย
และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วย
การปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา)
ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม
กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย
1.ความตรึกปลอดจากกาม
ความนึกคิดในทางเสียสละ
ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน
2.ความตรึกปลอดจากพยาบาท
ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง
หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย
3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน
ด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)
3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล)
ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย
1.ไม่พูดเท็จ
2.ไม่พูดส่อเสียด
3.ไม่พูดหยาบ
4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล)
ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย
1.ไม่ฆ่าสัตว์
2.ไม่ลักทรัพย์
3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล)
ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ)
ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย
1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ
เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด
คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด
คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
4.เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น
และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ)
ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย
1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
2.การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา
3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
4.การตั้งสติพิจารณาธรรม
8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ)
ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย
1.ปฐมฌาณ
2.ทุติยฌาน
3.ตติยฌาน
4.จตุตถฌาณ
ดังนั้นหากมุ่งมั่นในการบรรลุธรรม คือ
นิพพานในชาตินี้ ก็ต้องตั้งมั่นใน
อริยมรรคทั้ง 8 ประการ
(http://madchimardn.3bbddns.com:12590/kjn2/gallery/1_25_07_24_9_43_45.jpeg)