KJN

POST => บทกลอน ธัมมะวังโส => หัวข้อที่ตั้งโดย: kai เมื่อ ก.ค 15, 2024, 10:02 หลังเที่ยง

ชื่อ: กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 7 ( ธัมมะวังโส )
โดย: kai เมื่อ ก.ค 15, 2024, 10:02 หลังเที่ยง
(http://madchimardn.3bbddns.com:12590/kjn2/gallery/1_15_07_24_10_00_33.jpeg)

กลอน "สาวกภูมิ" วัปัสสนาญาณที่ 7

7 - 4.อาทีนะวะนุปัสสะนาญาณ
ญาณอันรู้แจ้งซึ่งโทษแห่ง การเวียนว่าย ตาย เกิด ในวัฏฏะสงสาร

เหตุที่ทำให้สติเกิดนั้นมี 2 ประการ คือ
1.โยนิโสมะนะสิกาโร คือการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ทำไว้อย่างไรทำไว้โดย ตามระลึก ถึงเหตุให้เกิดสติ และ ความเป็นผู้มีสติโดยลักษณะ ของการระมัดระวัง ชื่อว่า สัมมัปปธาน 4 ดังนี้
1.สังวรปะธาน เพียร ระวังไม่ให้ อกุศล  เกิดขึ้นในสันดาน
2.ปหานปะธาน เพียรละ อกุศล อันเกิดขึ้นแล้วให้สูญหายไป
3.ภาวนาปะธาน  เพียร สร้าง กุศล ให้เกิดขึ้นในสันดาน
4.อนุรักขะนาปะธาน เพียร รักษา กุศล ที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ในสันดาน

2.พะหุลีกาโร คือการทำให้บ่อยๆ อย่าขี้เกียจ ต่อเหตุของการมีสติ และความเป็นผู้มีสติ โดยความอุตสาหะ โดยลักษณะเอาใจใส่ ชื่อว่า อิทธิบาท 4
  1.ฉันทะ พอใจต่อการเป็นผู้มีสติ
  2.วิริยะ พากเพียรต่อการเป็นผู้มีสติ
  3.จิตตะ ฝักใฝ่ต่อการเป็นผู้มีสติ
  4.วิมังสา ตรึกตรองต่อการเป็นผู้มีสติ
เหตุให้เกิด สติ ทั้ง 2 ประการนี้เป็นหลักสรุปลงรวบยอดอยู่ใน "ความไม่ประมาท" องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า ธรรมทั้งหลาย มีความไม่ประมาท เป็นที่เริ่มต้น เปรียบเหมือนรอยเท้าช้าง ย่อมเป็นใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์อื่นๆ ฉันนั้น ธรรมทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
ประโยชน์ของสติ ( ตามพระพุทธภาษิต )

•  1.สติเป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก คือปลุกคนให้ตื่นอยู่เสมอ
•  2.สติจำปรารถนา ในที่ทั้งปวง
•  3.สติทำให้คนได้รับความเจริญทุกเมื่อ
•  4.สติทำให้คนได้รับความสุข
•  5.สติทำให้คนเป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
•  6.สติรักษาคนมิให้พลั้งพลาด
•  7.สติทำให้ได้รับมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
เมื่อพระโยคาวจร ได้เจริญ สติ อย่างมั่นคง ย่อมมีผลทำให้ สัมปชัญญะ เกิดขึ้นเป็นคุณธรรม ที่เป็นเอนกอนันต์ อันเป็น บาทแห่งธรรม ไปสู่ความสิ้น วัฏฏะสงสาร หรือ ไปสู่นิพพาน
เมื่อผู้ปฏิบัติ มีสติได้อย่างมั่นคง คุณธรรมที่จะเกิดตามมา นั้นก็คือ สัมปชัญญะ ซึ่งแปลว่า ความรู้ตัว ทั่วพร้อม ซึ่งครูบาอาจารย์ ท่านได้ให้ความหมาย ดังนี้

สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้แจ้ง ในรูป ในนาม ในพระไตรลักษณ์ มรรค ผล นิพพาน รู้แจ้งแทงตลอดใน ขันธ์ทั้ง 5 รู้ดีอย่างประเสริฐ ในการขจัดคลายกิเลส ด้วยความเพียร มีสติ และ รู้ตัว เมื่อรู้แล้ว ก็คลายจากความยึดมั่น ถือมั่น นำออกจากกองทุกข์ทั้งปวง ซึ่งท่านได้พรรณนาไว้มากมาย แต่ ก็มีสาระสำคัญอยู่ที่การ รู้แจ้งในขันธ์ 5 คือรู้รูป รู้นาม รู้พระไตรลักษณ์  ส่วนผลของการรู้นั้นท่าน เรียกว่า มรรค ผล และ นิพพาน หรือ โลกุตระธรรม 9 ประการ
ผู้มีสัมปชัญญะ ย่อมเป็นผู้รู้ดีในปัจจุบัน เพราะการปฏิบัติธรรมวัดผลกันที่ปัจจุบัน วัดผลว่า ใคร ยืนทุกข์ เดินทุกข์ นั่งทุกข์ นอนทุกข์ อยู่ ดังนั้นผู้สติ และ สัมปชัญญะ สมบูรณ์ จึงต้องรู้สิ่งแรกคือ รู้ปัจจุบัน

  ปัจจุบัน แปลว่า เกิดขึ้นเฉพาะ คือ เกิดขึ้นขณะนี้  ได้แก่ ความเกิดขึ้น ของ รูป และ นาม
  รู้ ปัจจุบัน คือรู้รูปนาม ที่กำลัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นเอง เช่น ภาวนาว่า "พองหนอ" รู้ตั้งแต่ ต้นพอง กลางพอง สุดพอง "ยุบหนอ" รู้ตั้งแต่ ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ
รู้รูป  คือ

•  รู้ว่า พอง กับ ยุบ เป็นคนละอัน กัน
•  ตา กับ รูป เป็นคนละอันกัน
•  หู กับ เสียง เป็นคนละอันกัน
•  จมูก กับ กลิ่น เป็นคนละอันกัน
•  ลิ้น กับ รส เป็นคนละอันกัน
•  กาย กับ ผัสสะ เป็นคนละอันกัน
สรุป ความว่า ตั้งแต่ปลายผมถึงปลายเล็บ มีอย่างเดียว เท่านั้น คือ รูป ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เลย
รู้นาม คือ     

  รู้ว่า เวลาภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ"นั้นใจที่รู้ว่า พอง กับ ใจที่รู้ว่า ยุบเป็นคนละใจ  เป็นคนละขณะ ใจที่รู้ว่า พอง กับ ใจที่รู้ว่ายุบ เป็นนาม  สรุปความว่า พองเป็นรูป ยุบเป็นรูป รู้เป็น นาม ท้อง พอง ครั้งหนึ่งก็จะมีเพียง 2 อย่าง เท่านี้ คือ รูป กับ นาม ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา อะไรเลย สักอย่าง ที่เป็นความมั่นหมายสำคัญที่ทำให้เราเป็นเจ้าของ หรือ ควบคุมได้

"เราจะรู้หรือไม่รู้ รูปนามก็เป็นอยู่อย่างนั้น ตลอดไป"