แม่บท การภาวนา มีช้าเร็ว 4 อย่าง
======================
[๑๖๑] จตสฺโส อิมา ภิกฺขเว ปฏิปทา กตมา จตสฺโส
ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา สุขา
ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา อิมา โข
ภิกฺขเว จตสฺโส ปฏิปทาติ ฯ
------------------------------------------------------
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ
=================================
1.คนมีราคะ โทสะ โมหะกล้า มีอินทรีย์ 5 อ่อน
2.คนมีราคะ โทสะ โมหะกล้า มีอินทรีย์ 5 แข็งแรง
3.คนมีราคะ โทสะ โมหะกล้า แต่ไม่ได้ผลจากราคะ โทสะ โมหะ มีอินทรีย์ 5 อ่อน
4.คนมีราคะ โทสะ โมหะกล้า แต่ไม่ได้ผลจากราคะ โทสะ โมหะ มีอินทรีย์ 5 แข็งแรง
=================================
[๑๖๔] จตสฺโส อิมา ภิกฺขเว ปฏิปทา กตมา จตสฺโส
อกฺขมา ปฏิปทา ขมา ปฏิปทา ทมา ปฏิปทา สมา ปฏิปทา ฯ
กตมา จ ภิกฺขเว อกฺขมา ปฏิปทา อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ ปุคฺคโล
อกฺโกสนฺตํ ปจฺจกฺโกสติ โรสนฺตํ ปฏิโรสติ ภณฺฑนฺตํ ปฏิภณฺฑติ
อยํ วุจฺจติ ภิกฺขเว อกฺขมา ปฏิปทา ฯ
----------------------------------------------------------
[๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ การปฏิบัติไม่อดทน ๑ การปฏิบัติอดทน ๑ การปฏิบัติข่มใจ ๑ การปฏิบัติ
ระงับ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ย่อม
ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน ฯ
====================================
ปฎิปทา 4
1. การปฎิบัติไม่อดทน (เมื่อถูกราคะ โทสะ โมหะกระทบ โต้ตอบและยอมตาม)
2. การปฎิบัติอดทน (เมื่อถูกราคะ โทสะ โมหะกระทบ ไม่โต้ตอบและไม่ยอมตาม)
3. การปฎิบัติข่มใจ(ย่อมสำรวมตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่ถือโดยนิมิตและอนุพยัญชนะ)
4. การปฎิบัติระงับ(ย่อมละ ย่อมบรรเทา พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก )
การเจริญมรรค 4 แบบ เพื่อละอนุสัย(จตูหิ มคฺเคหิ )
======================
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (สมถปุพฺพงฺคมํ วิปสฺสนํ)
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (วิปสฺสนาปุพฺพงฺคมํ สมถํ)
เจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน (สมถวิปสฺสนํ ยุคนทฺธํ)
จิตที่ปราศจากอุทธัจจะ จิตเป็นเอกัคตา ( ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ มานสํ )