แม่บท ภาวนา ต้องดูความปรารถนา
=======================
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึกมีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ
ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ
-----------------------------------------------------------
[๒๖๓] กตโม จ ภิกฺขเว สมฺมาสงฺกปฺโป อริโย อนาสโว
โลกุตฺตโร มคฺคงฺโค ฯ โย โข ภิกฺขเว อริยจิตฺตสฺส อนาสวจิตฺตสฺส
อริยมคฺคสมงฺคิโน อริยมคฺคํ ภาวยโต ตกฺโก วิตกฺโก
สงฺกปฺโป อปฺปนา พฺยปฺปนา เจตโส อภินิโรปนา วจีสงฺขาโร อยํ ภิกฺขเว สมฺมาสงฺกปฺโป อริโย อนาสโว โลกุตฺตโร มคฺคงฺโค ฯ
โส มิจฺฉาสงฺกปฺปสฺส ปหานาย วายมติ สมฺมาสงฺกปฺปสฺส
อุปสมฺปทาย ฯ สฺวาสฺส โหติ สมฺมาวายาโม ฯ โส สโต
มิจฺฉาสงฺกปฺปํ ปชหติ สโต สมฺมาสงฺกปฺปํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ฯ
สาสฺส โหติ สมฺมาสติ ฯ อิติสฺสิเม ๒- ตโย ธมฺมา สมฺมาสงฺกปฺปํ
อนุปริธาวนฺติ อนุปริวตฺตนฺติ เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาวายาโม
สมฺมาสติ ฯ
--------------------------------------------------------
สัมมาสังกัปปะ ชื่อว่า ความปรารถนา หรือ ความตั้งใจ
ความตั้งใจ คือ แรงผลักดันในการภาวนา ถ้าบุคคลใด ขาดความตั้งใจ เหลาะแหละ ไม่ได้ความปรารถนา ในการภาวนา ย่อมไม่ภาวนา
ความตั้งใจ กับ ความเข้าใจ เป็นคนละเรื่องกัน
ความเข้าใจ นั้น มักมีก่อนความตั้งใจ
ความตั้งใจ มันคือการตัดสินใจลงมือกระทำ
เจริญธรรม
24 เมษายน 2565