นะโมการะอัฏฐะกะ
นโม ๘ บท
บทสวดแห่ง ศรัทธา และความนอบน้อม
ในกรรมฐานภาวนา บทนี้ใน มูลกรรมฐาน
เรียกว่าบทสรรเสริญ และ ขอขมา
นะโม อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ มะเหสิโน
-ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงแสวงหาซึ่งประโยชน์อันยิ่งใหญ่
นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สวากขาตัสเสวะ เตนิธะ
-ขอนอบน้อมแด่พระธรรมอันสูงสุด
ในพระศาสนานี้ ที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
นะโม มะหาสังฆัสสาปิ วิสุทธะสีละทิฏฐิโน
-ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่
ผู้มีศีลและทิฏฐิอันงดงามหมดจด
นะโม โอมาตายารัทธัสสะ ระตะนัตตยัสสะ สาธุกัง
-การนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า อะ อุ มะ ดังนี้ เป็นการดี
นะโม โอมะกาตีตัสสะ ตัสสะ วัตถุตตยัสสะปิ
-ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยทั้ง ๓ นั้น
อันล่วงพ้นโทษต่ำช้าเสียได้
นะโมการัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา
-ด้วยอานาจแห่งการกระทำความนอบน้อม
ขออุปัทวะทั้งหลาย จงปราศจากไป
นะโมการานุภาเวนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา
-ด้วยอานาจแห่งการกระทำความนอบน้อม
ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีตลอดกาลทุกเมื่อ
นะโมการรัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ เตชะวา ฯ
-ด้วยเดชแห่งการกระทำความนอบน้อม
ขอเราจงเป็นผู้มีเดช ในมงคลพิธีเถิด
บทที่ ๑ - ๓ เรียกว่า บทสรรเสริญ
บทที่ ๔ เรียกว่า บทกรรมฐาน มีการออกเสียง มะ อะ อุ เป็นต้น
บทที่ ๕ กล่าวคำขอขมา
บทที่ ๖ ขอพร
บทที่ ๗ ขอผล
บทที่ ๘ ขอความเจริญ
ที่จริงในบทย่อย ยังไม่ได้กล่าว ตัวกองกรรมฐาน เพราะมีการอธิบายสลับกันไปทั้งแม่บทใหญ่ และ ย่อย แต่บทนี้นับว่าเป็นบทที่สำคัญ เวลาภาวนา การสวด จึงจัดเป็นการภาวนา ด้วยส่วนหนึ่ง เพราะทำให้จิตตั้งมั่น ในวิตก วิจารที่สวด เป็น วิปัสสนา ตรง เรียกว่า สาธยายธรรม
4 เมษายน 2565