ถาม ประโยคเหล่านี้ มีความหมายอย่างไร ขอ พอจ อธิบายหน่อย
"ไม่มีต้นโพธิ์
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับอะไร?"
ตอบ นี่เป็นประโยคคุ้นจากหนังสือ เว่ยหล่าง
สมัย พอจ ศึกษาธรรมอยู่ที่ในแนวทางสวนโมกข
ต้องบอกว่าชอบอ่านหลักคิดแบบนี้ จะคุยเป็นเพื่อนสักนิด
ประโยคด้านบน จะยกขึ้นมาลอย ๆ อย่างนี้ไม่ได้ เพราะประโยคทั้งหมดนั้นมีวัตถุประสงค์ อธิบายหักล้าง ประโยคก่อน ดังนั้นต้องย้อนกลับไปดูประโยคก่อนหน้า
เรื่องมีอยู่ว่า สังฆปริณายกองค์ที่ 5 หวางยั่น ได้ให้ศิษย์ทุกคนแต่งโศลกให้ท่าน เพื่อดูว่าเหมาะสมจะได้เป็นสังฆปริณายกองค์ที่ 6 หรือไม่ ในสมัยนั้นศิษย์เอกของท่าน คือ ชินเชา ได้แต่งโศลกว่า
กายของเราคือต้นโพธิ์
ใจของเราคือกระจกเงาใส
เราเช็ดมันโดยระมัดระวัง ทุกชั่วโมง
และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ
มีเพียงผู้เดียวที่แต่งโศลกเหตุเพราะว่าในวัดนั้น ไม่มีใครคิดแก่งแย่งความเป็นผู้สืบทอดจากท่าน แต่ต่อมาเว่ยหล่างได้ยิน พระท่องบทนี้กันลั่น ก็เลยเกิดความสนใจไปชมโศลกแต่ก็อ่านไม่ได้ไม่รู้หนังสือ ก็เลยขอให้บัณฑิตที่มายืนชมอยู่ตรงนั้น ช่วยเขียนโศลกขึ้นมา นั้นคือประโยคที่ยกมาถาม
ที่นี้มาดูประโยคของท่านชินเชาก่อน
กายของคือต้นโพธิ์ ท่านหมายถึง กายนี้เป็นตัวรู้
ใจของเราคือกระจกเงาใส จะรู้ได้ก็ต้องส่องดูตรวจใจ
เราเช็คมันโดยระมัดระวัง ทุกชั่วโมง หมายถึงความเพียรติดต่อ
และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ หมายถึงการทำสมาธิขจัดนิวรณ์เพื่อเรียนธรรม
เห็นชัดว่า ท่านชินเชา ต้องการสื่อว่า การปฏิบัติภาวนาธรรมอาศัยกาย และชำระจิต ตรวจดูระมัดระวังสอดส่องต่อจิต ด้วยความเพียรขยัย และใช้อำนาจสมาธิ ซึ่งเป็นประโยคที่ดีหมายถึงการพากเพียรเรียนธรรมไม่ได้ไปไกลกว่า การรู้ตัวเอง เข้าใจในจิตใจดังนั้นบัณฑิตอ่านเห็นก็เข้าใจความหมาย ว่าต้องการสื่อให้เห็นว่า การเรียนธรรมอยู่ที่การศึกษากายและจิตของตน
ที่นี้ประโยคหักล้างของท่านเว่ยหล่างนั้นเป็นการแสดงภูมิธรรมของท่านเองว่าภูมิธรรมไปถึงระดับไหนแล้ว
"ไม่มีต้นโพธิ์ คือไม่มียึดมั่นถือมั่นต่อกายว่าเป็นเราเป็นของเราเป็นตัวเป็นตนของเรา
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด และไม่มีความเป็นเจ้าของหมดความยึดมั่นถือมั่น
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว การเห็นอนัตตาเป็นสุญญตา
ฝุ่นจะลงจับอะไร?" สังโยชน์ทั้ง 3 จึงไม่มีสามารถจับเกาะจิตได้
นี่คือประโยคแสดงภูมิธรรมของ โสดาบัน
คุยกันเป็นเพื่อนเท่านี้นะ เพราะ ปัจจุบันไม่ใคร่ส่งความรู้ไปทางเซ็น เท่าใดนัก เพราะเห็นประโยชน์ของสัมมาสมาธิ มากกว่าการเรียนรู้แบบปรัชญา ท่านเว่ยหล่างถึงจะแสดงปรัชญาในตอนต้น แต่ตั้งแต่ท่านออกจากวัดต้นไปก็ต้องไปใช้ชีวิตและบำเพ็ญเพียรต่ออีกหลายปี สิ่งที่ท่านไปทำก็คือทำสัมมาสมาธิ เมื่อบรรลุธรรมหลังจากทำสัมมาสมาธิแล้วจึงไปเข้าบวชที่วัดปลายทาง ตามคำสั่ง สังฆปริณายกที่ 5
เจริญธรรม / เจริญพร
25 มีนาคม 2022 ·
(http://madchimardn.3bbddns.com:12590/kjn2/gallery/1_16_10_24_3_19_34.jpeg)